การให้บริการที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

วรรณา กุมารจันทร์
กฤษณา คงเคล้า
จิราพร วัฒนศรีสิน
กนกพร สุคำวัง

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี และศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุในการรับบริการที่เอื้ออาทรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนทะเล กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนทะเล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้โดยแบ่งเป็นผู้สูงอายุติดสังคม ผู้สูงอายุติดบ้าน และผู้สูงอายุติดเตียง รวมกลุ่มตัวอย่างจำ นวน 310 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ซึ่งพัฒนาจากกรอบแนวคิดระบบบริการเอื้ออาทรผู้สูงอายุ โมเดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Age-friendly Nursing Service System : AFNS : KKU Model) ประกอบด้วยหลักการ 3 ประการ และ 7 องค์ประกอบ โดยหลักการ 3 ประการได้แก่ 1) ผู้ให้บริการ 2) ระบบบริการสุขภาพ 3) สิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบได้แก่ 1) ด้านการพยาบาลและการจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุในโรงพยาบาล 2) ด้านเจตคติ และการสื่อสารของพยาบาล 3) ด้านการจัดองค์กรเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้สูงอายุ 4) ด้านการเคารพและพิทักษ์สิทธิ์ผู้สูงอายุ 5) ด้านการสนับสนุนความเป็นเอกสิทธิ์ของผู้สูงอายุ 6) ด้านแหล่งสนับสนุนผู้สูงอายุและครอบครัวขณะมารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ 7) ด้านการส่งเสริมครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


  1. การให้บริการที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ให้บริการมากเป็นลำดับที่ 1 คือด้านแหล่งสนับสนุนผู้สูงอายุและครอบครัวขณะมารับบริการ และด้านการส่งเสริมครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านลำดับที่ 2 คือด้านการเคารพและพิทักษ์สิทธิ์ผู้สูงอายุ และลำดับที่ 3 คือด้านการสนับสนุนความเป็นเอกสิทธิ์ของผู้สูงอายุ

  2. ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อบริการที่เอื้ออาทรที่ได้รับจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพึงพอใจด้านการเคารพและพิทักษ์สิทิธิ์ผู้สูงอายุและการสนับสนุนความเป็นเอกสิทธิ์ของผู้สูงอายุอยู่ระดับมากจากผลการศึกษาเสนอแนะให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จัดบริการที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุให้ครอบคลุมด้านบุคลากร การจัดระบบบริการ และการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อสูงอายุ

Article Details

How to Cite
1.
กุมารจันทร์ ว, คงเคล้า ก, วัฒนศรีสิน จ, สุคำวัง ก. การให้บริการที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [อินเทอร์เน็ต]. 17 กุมภาพันธ์ 2018 [อ้างถึง 27 เมษายน 2025];27:144-57. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/112274
บท
บทความวิจัย

References

1. Office of the National Economics and Social Development Board. The Older persons 2013-2030. Available from https://www.msociety.go.th/article_attach/13225/17347.pdf on December 4, 2017
2. Hatawaikarn B, Aroonsang P, Phanphruk W. Development of Age-friendly Nursing Care Scale perceptived by hospitalized older persons. Journal of Nursing’ Association of Thailand, North-Eastern Division 2012;30(2):154-165.
3. Social Science Research institute. Situation of happiness of worker In Thailand 2nd years (July–December, 2013), Nakhon Prathom:Social Science Research institute. Mahidol University. 2014.
4. Dumrhikarnlert, L. 3 Principle of Ages “Health Together stability” from: http://www.thaihealth.or.th/Content/301323.
5. Aroonsang P. Gerontological. Record nursing process: concept to practice. Faculty of Nursing, Khon Kaen University; 2010.
6. Mongkolsinh, V. Quality elderly care: nursing education. Kuakarun Journal of Nursing 2014; 21(2): 7-17.
7. Jantabhut N, Thinkarn A, Simanurak P, Sabongkot A. Age-friendly nursing care perceptive by hospitalization older persons. Available from http://jes.rtu.ac.th/rtunc2016/pdf/Poster%20Presentation/Poster.pdf on December 4, 2017
8. Registration and ID Card Office, Registration and ID Card Report. Amphor Muang, Suratthani, 2015.
9. Registration and ID Card Office, Registration and ID Card Report Kun tale Subdistrict, Suratthani 2015.
10. Registration and ID Card Office. Registration and ID Card Report, Kun tale Subdistrict, Suratthani, 2016.
11. Yamane T. Statistic: an introductory analysis. 2nd Ed., New York: Harper and Row; 1967.
12. Sitayarat W, Dumrikarnlert L.Knowledge management and synthesis: guideline of primary care center: guideline for elderly services. Nonthaburi, Health Systems Research Institute; 2012.
13. Rerksuppaphol, L. Client satisfaction at the health promotion clinic of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center. Journal of Medicine and Health Sciences 2011; 18(3): 145-159.
14. Thamghae P, A study of behavior and Satisfaction of people receiving medical services at Bannameng Primary Health Care, Amphor Prow, Chang Mai province. 2554 from: http:// library.cmu.ac.th/faculty/econ/Exer751409/2554/Exer 2554 [2558, สิงหาคม 23].
15. Choopradit, W. The study on demand for social welfare of the eldery in Lam Thap Subdistrict Municipality, Lam Thap Subdistrict, Krabi Province. [Thesis]. Bangkok:Valayaalongkorn Rajabhat University Under The Royal Patronage; 2012.
16. Jitapunkul S, Lailert C. Mini-mental status examination: is it appropriate for screening in Thai elderly. J Med Assoc Thai 1997; 80:116-20.