การขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น: กรณีศึกษา อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

ศิริวรรณ ทุมเชื้อ
นพวรรณ ศิริเขตต์
อุษา จันทร์ขวัญ
พรพรรณ พุ่มประยูร
ณัฏฐ์นรี คำอุไร
พัชนียา เชียงตา

บทคัดย่อ

          การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นในอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ตามกรอบแนวคิดและองค์ประกอบ UC CARE ในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System: DHS) ภายใต้การทำงานร่วมกันตามประเด็นหนึ่งอำเภอ หนึ่งประเด็นปัญหา (One District One Project: ODOP) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยหลักการทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแนวทางการสนทนากลุ่มย่อย แนวทางการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ ผ่านการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2560 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเลือกแบบเจาะจง (Propulsive sampling) จากผู้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภไม่พร้อมในวัยรุ่นที่ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2559 จำนวน 5 กลุ่ม คือ 1) ผู้เกี่ยวข้องหลัก ได้แก่ ผู้รับผิดชอบและประสานงานของโครงการ 1 คน วิทยากรในโครงการ 2 คน รวม 3 คน 2) ทีมกระบวนการทำงานภาคีเครือข่าย จำนวน 10 คน3) นักเรียนและนักศึกษาที่ผ่านการอบรมให้ความรู้เรื่องเพศวิถีศึกษา จำนวน 20 คน 4) ครูที่ปรึกษาที่ผ่านการอบรมปรับทัศนคติเกี่ยวกับเพศวิถีศึกษาและพัฒนาทักษะการให้คำปรึกษา จำนวน 10 คน และ 5) ผู้ปกครองเยาวชนที่ผ่านการอบรมในการปรับทัศนคติเกี่ยวกับเพศวิถีศึกษา จำนวน 10 คน รวมทั้งหมด 53 คน ผลการวิจัย พบว่า การขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ (DHS) ในการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี แม้ว่าจะเป็นไปตามองค์ประกอบ UC CARE กล่าวคือ เป็นการทำงานร่วมกันในระดับอำเภอบ้านหมอ ได้รับบริการตามความจำเป็น การมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชน การทำงานที่เกิดคุณค่าทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ การแบ่งปันทรัพยากรและการพัฒนาบุคลากร แต่ยังพบว่า การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายนอกหน่วยงานสาธารณสุขยังมีเพียงส่วนน้อย โดยการมีส่วนร่วมนั้นจะอยู่ในรูปแบบร่วมเป็นวิทยากรทีมกระบวนการผลจากการศึกษาในครั้งนี้จึงควรส่งเสริมและผลักดันให้มีการพัฒนาความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายนอกหน่วยงานสาธารณสุขให้มากยิ่งขึ้นรวมถึงพัฒนารปู แบบการดำเนินงานระบบสุขภาพอำเภอ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
ทุมเชื้อ ศ, ศิริเขตต์ น, จันทร์ขวัญ อ, พุ่มประยูร พ, คำอุไร ณ, เชียงตา พ. การขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น: กรณีศึกษา อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [อินเทอร์เน็ต]. 17 กุมภาพันธ์ 2018 [อ้างถึง 28 เมษายน 2025];27:172-83. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/112280
บท
บทความวิจัย

References

1. Isaranurak S. Adolescent health and care [internet]. 2014 [Cited 2014 August15]. Available from: http://www.elib-online.com/doctors/sexed_teenage03.htm. (in Thai)
2. Bureau of Reproductive Health. Department of Health Ministry of Public Health 2015. Statistics on Adolescent Births, Thailand 2015 [internet]. [Cited 2017 August30]. Available from: http://rh.anamai.moph.go.th. (in Thai)
3. Tumchuea S. 2015. Sexual behaviors and Factor correlated to intention of protection in teenage pregnancy, Saraburi province. Nursing Journal of the Ministry of Public Health. 2015;25(1):15-25. (in Thai)
4. Meesill R, Meeudon P. 2012. Unwanted pregnancy in adolescence “Courses and Solutions” Case study Teenagers in a rural area of Khon Kaen [internet]. 2 nd National Academic Conference Rajabhat University, Phetchabun. [Cited 2017 September 1]. Available from:http://research.pcru.ac.th. (in Thai)
5. Sub-committee on the Promotion of the Development of the philosophy of Sufficiency Economy Philosophy in Agriculture and Rural Areas 2015. A guide to driving development based on the philosophy of Sufficiency Economy
6. Philosophy in Agriculture and Rural Areas.1st ed. Arun Printing Public Company Limited. Bangkok 2015. (in Thai)
7. Munggit P, et.al. District health network development. Community Health Development Quarterly Khon Kaen University. 2013;1(3):17-28.
8. Ashananupab S. Development health district (DHS): Differences in similarities. 1st ed. Sahamit Printing and Publishing Limited:Nonthaburi; 2014. (in Thai)
9. Saelee D. et. al. editors. Drive the District Health System (DHS) Thailand. 1st ed. Office of Public Health Administration. Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. 2014. (in Thai)
10. Jirawatkul S, et.al. Prevention of and Dealing with Teenage Pregnancy World Health Organization Coordinating Center for Gender Research and Training and Women’s Health. Khon Kaen University. Sponsored by the Office of Woman’s Affairs and Family Institutions. Ministry of Social Development and Human Security. [Cited 2017 Febuary12]. Available from:http://opac.lib.buu.ac.th /opac/. (in Thai)
11. Srivanichakorn S, et.al. Situation potential and readiness of tripartil member concerning the development of the community health system in 12 sub-districts. Journal of Health Systems Research 2009;3(3): 389. (in Thai)
12. Rujiwanakul S, Leethongdee S, Suwanpan A. The Developed model for District Health System through participatory knowledge management and learning process within local networks: A case study of Khun Han District, Si Sa ket Province. Journal of graduated school, Ubonratchathani rajabhat University. 2015; 10(2): (in Thai)
13. Wongkhongkathep S, Prakongsai P, Wongkhongkathep S, Janyakulwong A. Evaluation of the potential for development and efficiency of health fund district under the concept of good management. (n.d.).2010. (in Thai)
14. Pengwichai P. District Health System development performance by district health committee, Nong Khai province [Master thesis]. Khon kaen: Khon Kaen University.2016. (in Thai)