ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ตำบลท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

อนัญญา คูอาริยะกุล
จิราพร ศรีพลากิจ
กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร
พัชรินทร์ เฮียงก่อ

บทคัดย่อ

โรคไตวายเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้มากขึ้นในทุกพื้นที่ของประเทศ ซึ่งเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ตำบลท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และรับยาอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่อนดินแดง ตำบลท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง .67-1.00 และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .97 และ .79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม อยู่ในระดับพอใช้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ อยู่ในระดับไม่ดีพอ ในขณะที่ด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับดี นอกจากนั้น พบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.50, p<.01) ดังนั้น บุคลากรสุขภาพควรเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในด้านการเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองดีขึ้น เพื่อการป้องกันความก้าวหน้าของโรคจนนำไปสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการรักษาพยาบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Copper K, Gosnell K. Foundations and adult health nursing. 9th ed. St.Louis: Elsevier; 2023.

Yodchai K. Patient with chronic kidney disease : nursing care and symptom management. Songkhla: Neo Point (1995) Company Limited; 2020.

Wongsaree C. Medical and surgical nursing care: kidney & urinary disease. Bangkok: NP Press Limited Partnership; 2016.

Vijitsoonthornkul K. Epidemiology and review of chronic kidney diseases prevention measures. [Internet]. 2022 [cited September 1, 2023], Available from: https://ddc.moph. go.th/ uploads// 1308820220905025852.pdf.

Mon Din Daeng Health Promoting Hospital. Annual report 2021-2023. Uttaradit: Mon Din Daeng health promoting hospital; 2023.

Tochampa S. Self-Management for the delay of diabetic nephropathy progression. Phitsanulok: Naresuan University Publishing House; 2019.

Tachaudomdech C. Nursing care for patients with chronic kidney disease. In Soiwong P. Editor. Medical nursing care. Chiang Mai: NPT Printing; 2021.

Bunkerd S, Kitiyakara C, Praditpornsilpa K. Clinical and laboratory assessment in kidney function in chronic kidney disease. In Kantachuvesiri S, Chancharoenthana W, Kaitsoontorn K, Kochaseni P, Chailimpamontree W, Trakanwanich T. Editor. A Textbook of chronic kidney disease. 2th ed. Bangkok: Text and Journal Publication Company Limited 2019: 27-43.

Division of non-communicable disease, Department of disease control, Ministry of Public Health. World Kidney day “Kidney Health for All Preparing for the Unexpected, Supporting the Vulnerable” [Internet]. 2023 [cited June1, 2023]. Available from: https:// datariskcom-ddc.moph.go.th/download.

Vorrapittayaporn C, Malathum P, Phinitkhajorndech N. Relationships among knowledge, health literacy, and health behavior in older persons with chronic kidney disease. Ramathibodi Nursing Journal 2021;27(1):81-95.

Bunklai K, Kanoksuntonrat, N, Phinitkhonjorndech, N. Relationship between health literacy, self care behaviors, and glomerular filtration rate among patients with chronic kidney disease stage 3-4.

Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal 2020;12(1):225-39.

Liu YB, Liu L, Li YF, Chen YL. Relationship between health literacy, health- related behaviors and health status: a survey of elderly Chinese. International journal of environmental research and public health. 2015;12(8): 9714-25.

Saranrittichai K. Health literacy: concepts, theories and applications. Khon Kaen: Khon Kaen Printing Part; 2021.

Kaeodumkoeng K. Health literacy: access, understand and application. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company; 2018.

Kaeodumkoeng K. Health literacy: processes, practices, evaluation tools. Bangkok: ID ALL Digital Print; 2021.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007;39(2):175-91.

Chouwai S, Phontip K, Suebsoontorn W, Chapradit C, Tongate C. Relationships between health literacy, self-care behaviors and qualityof life among patients with first and second stage of chronic kidney disease. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospitals. 2023;38(1):11-20.