ผลของการใช้สื่อมัลติมีเดียเรื่องการพยาบาลทารกที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ แบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจต่อความรู้ ความมั่นใจในการพยาบาลทารก ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

อลิษา ขุนแก้ว
เสน่ห์ ขุนแก้ว
วรวุฒิ แสงทอง
อนัญญา คูอาริยะกุล

บทคัดย่อ

การฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลกับผู้ป่วยทารกที่อยู่ในภาวะวิกฤติ มีความเสี่ยงอย่างมาก ดังนั้น สื่อการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของสื่อมัลติมีเดียเรื่องการพยาบาลทารกที่ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจต่อความรู้และความมั่นใจในการพยาบาลทารกที่ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม ที่ฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2 จำนวน 48 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 24 ราย ซึ่งได้รับเอกสารอ่านประกอบและคู่มือฝึกภาคปฏิบัติ ก่อนเข้ากิจกรรมเตรียมความพร้อมตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลอง 24 ราย ได้รับเอกสารอ่านประกอบ คู่มือฝึกภาคปฏิบัติ และสื่อมัลติมีเดียเพิ่มเติมก่อนเข้ากิจกรรมเตรียมความพร้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอนุมานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มด้วย paired t-test และระหว่างกลุ่มด้วย independent t-test ผลการศึกษา พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และค่าเฉลี่ยคะแนนความมั่นใจในการพยาบาลทารกที่ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังทดลองมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ค่าเฉลี่ยคะแนนความมั่นใจในการพยาบาล ภายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสื่อมัลติมีเดียมีส่วนช่วยเสริมความรู้และเพิ่มความมั่นใจให้กับนักศึกษาในการพยาบาลทารกที่ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจก่อนฝึกภาคปฏิบัติในหอผู้ป่วย ซึ่งอาจช่วยลดความผิดพลาดจากการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาในสถานการณ์จริงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Sweet DG, Carnielli VP, Greisen G, Hallman M, Klebermass-Schrehof K, Ozek E, Te Pas A, Plavka R, Roehr CC, Saugstad OD, Simeoni U, Speer CP, Vento M, Visser GHA, & Halliday HL. (2023). European Consensus Guidelines on the Management of Respiratory Distress Syndrome: 2022 Update. Neonatology. 2023 Mar 7;120(1):3-23.

Schreiber MD, Marks JD. Noninvasive Ventilation in the Premature Newborn—Is Less Always More?. New England Journal of Medicine. 2017 Jul 27;377(4):386-8.

Boel L, Hixson T, Brown L, Sage J, Kotecha S, Chakraborty M. Non-invasive respiratory support in preterm infants. Pediatric respiratory reviews. 2022 Sep 1;43:53-9.

Guay JM, Carvi D, Raines DA, Luce WA. Care of the Neonate on Nasal Continuous Positive Airway Pressure: A Bedside Guide. Neonatal Network. 2018;37(1):24–32.

Iyer NP, Chatburn R. Evaluation of a nasal cannula in noninvasive ventilation using a lung simulator. Respiratory Care. 2015;60(4):508–12.

Bashir T, Murki S, Kiran S, Reddy VK, Oleti TP. Nasal mask in comparison with nasal prongs or rotation of nasal mask with nasal prongs reduce the incidence of nasal injury in preterm neonates supported on nasal continuous positive airway pressure (nCPAP): A randomized controlled trial. PLoS One. 2019;14(1): e0211476.

Esmaeilnia T, Nayeri F, Taheritafti R, Shariat M, Moghimpour-Bijani F. Comparison of complications and efficacy of NIPPV and nasal CPAP in preterm infants with RDS. Iran Journal Pediatric. 2016;26(2).

Pummanee T, Suwannawat J, Buatchum K, Nukaew O, Suwanchinda P, Worrasirinara P. Effect of Instructional Video for Mental Status Examination Collaborate with Case-Based Learning on Knowledge, Self-efficacy, and Satisfaction in Psychiatric Practice among Undergraduate Nursing Students. J Res Nurs-Midwifery Health Sci. 2023;43(1):67–79. (in Thai)

Siricharoenwong K, Mataputana M, Sawangjid S, Pidjadee C. Development and effectiveness of video media to knowledge, self-confidence and satisfaction of nursing students in preparation for children and adolescence care practicum experience. J Health Nurs Res J Boromarajonani Coll Nurs Bangk. 2021 Apr 9;37(1):218–29. (in Thai)

Raksatham S, Wattanachai P, Noothong J. The development of video lesson on oxygen therapy in children for nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. J Health Nurs Res J Boromarajonani Coll Nurs Bangk. 2019;35(3):185–98. (in Thai)

Boromarajonani College of Nursing Uttaradit. Field experience specification child and adolescent nursing practicum II. Boromarajonani College of Nursing Uttaradit: Facuty of Nursing, Praboromarajchanok Institute; 2021 Jul. (in Thai)

Bloom BS, Engelhart MD, Furst EJ, Hill WH, Krathwohl DR. Taxonomy of educational objectives. New York: Longmans, Green; 1964.