การประเมินผลโครงการพัฒนาทักษะด้านการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานให้ประชาชน 10 ล้านคน “10 ล้านไทยร่วมใจ CPR”

Main Article Content

ไพรินทร์ พัสดุ
สุปราณี พลธนะ
เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร

บทคัดย่อ

การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานนอกโรงพยาบาลมีความสำคัญอย่างมากต่อการช่วยชีวิตผู้ที่ต้องการความช่วยแหลือดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล (evaluation research) ตามรูปแบบ CIPPIEST  มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการพัฒนาทักษะด้านการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานให้ประชาชน 10 ล้านคน “10 ล้านไทยร่วมใจ CPR” ซึ่งจัดโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ได้รับการอบรมจำนวน 200 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2) แบบประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ (4) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพได้รับการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ผลการดำเนินงานโครงการฯ ทั้งภาพรวมและรายด้านมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 (SD=.50) ด้านบริบทโครงการฯ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 (SD=.42) ด้านปัจจัยนำเข้าโครงการฯ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 (SD=.53) และด้านกระบวนการ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.62  (SD=.56) หลังการอบรม ผู้เข้ารับการอบรม ร้อยละ 100 มีความรู้อยู่ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ยของทักษะการกู้ชีพเท่ากับ  93.14 คะแนน (SD=2.41) นอกจากนั้น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพยังสนับสนุนว่าผู้ผ่านการอบรมมีความรู้และทักษะด้านการกู้ชีพขั้นพื้นฐานที่สามารถให้การช่วยเหลือบุคคลอื่นได้จริงเมื่อประสบสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับประชาชนที่สนใจภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ที่จัดโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ  จากผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ สรุปได้ว่าผู้ผ่านการอบรมจากโครงการฯ มีความรู้และความมั่นใจในการปฐมพยาบาลและกู้ชีพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ สามารถเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและลดความพิการแก่ให้ผู้ประสบภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Photipim M, Laohasiriwong W, Thinkhamrop B, Sethasathien A, Hurst C. The effect of response time on survival among non-traumatic out of hospital cardiac arrest patients in Thailand. J Health Res 2016;30(1): 19-24.

World Health Organization. Thailand’s report situation of severe injuries year 2005-2010 data from injury surveillance (IS), Thailand supported [internet]. 2020 [cited 15 October 2020]. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/thailand/roadsafety/thailand-status-against-12-global-road-safety-performance-targets.pdf?sfvrsn=92a24b06_4

National Institute for Emergency Medicine. Emergency first aid and basic life support training course for village health volunteer, prisoner health volunteer and community emergency volunteer 2020. Nonthaburi: NIEM. 2020. (in Thai)

National Institute for Emergency Medicine. Twenty-year national strategic plan for national institute for emergency medicine (2018-2037). Nonthaburi: NIEM. 2018. (in Thai)

Stufflebeam DL, Shinkfield AJ. Evaluation Theory, Models and Applications. San Francisco: Jossey- Bass; 2007.

Chow S, Shao J, Wang H. Sample size calculations in clinical research. 2nd ed. Champman & Hall: CRC;2003.

Skinner CJ. Probability proportional to size (PPS) sampling [internet]. 2014 [cited 15 October 2020]. Available from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/book/10.1002/9781118445112

Ravitch SM, Carl NM. Qualitative research: bridging the conceptual, theoretical, and methodological. 2nd ed. Los Angeles: SAGE; 2021.

Creswell JW, Baez JC. 30 essential skills for the qualitative research. 2nd ed. Los Angeles: Sage; 2021.

Pakkarato B, Sukjamnong S, Siwin A, Srisawang W, Chumnanborirak P. Development of a cardiopulmonary resuscitation model in Nadun hospital, Mahasarakham province. Journal of Emergency Medical Services of Thailand 2021;1(2):134-45. (in Thai)

Seangnhern U, Uppanisakorn S, Chinnawong T. Factors related to nurses’ knowledge and skills in cardiopulmonary resuscitation in Songklanagarind Hospital. JRN-MHS 2012;32(1):1-10. (in Thai)