ประสบการณ์การดูแลสุขภาพตนเองของวัยรุ่นที่มีอาการหลงเหลือ หลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

ปณิตา จันทรา
สุรศักดิ์ ตรีนัย

บทคัดย่อ

อาการหลงเหลือจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้วัยรุ่นมีการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดูแลตนเองเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงเหมือนเดิม การวิจัยเชิงคุณภาพแบบบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การดูแลสุขภาพตนเองของวัยรุ่นที่มีอาการหลงเหลือหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ คือ เป็นวัยรุ่นที่ได้รับทราบจากแพทย์ว่าเป็นผู้มีอาการหลงเหลือจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีอาการหลงเหลือฯ เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ไม่มีโรคประจำตัวอื่นๆ  สนามการวิจัยคือ โรงพยาบาลสองแห่ง ณ จังหวัดอุบลราชธานี เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการจดบันทึกภาคสนาม ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการวิจัยครั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูลแบบแก่นสาระไปพร้อมกับการเก็บข้อมูลจนเกิดความอิ่มตัวของข้อมูล รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 7 ราย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566  ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ผลการศึกษานี้พบข้อสรุปเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองของวัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบจากอาการหลงเหลือหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งนำไปสู่การจัดการกับอาการเรื้อรัง โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ประเด็นแรกคือ “ชีวิตที่ต้องเผชิญกับผลพวงของโควิด-19” ประกอบด้วยประเด็นย่อยคือ การเปลี่ยนแปลงในชีวิต และผลกระทบต่อความรู้สึกทางอารมณ์และจิตใจ ประเด็นที่สองคือ "การค้นหาวิธีจัดการกับอาการเรื้อรัง" ประกอบด้วยประเด็นย่อยคือ การแสวงหาวิธีการดูแลสุขภาพ และการดูแลอาการที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ข้อค้นพบนี้ช่วยให้พยาบาลมีความเข้าใจถึงประสบการณ์การดูแลตนเองของวัยรุ่นที่มีอาการหลงเหลือหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งอาจเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่นำไปใช้ในการสร้างแนวทางการดูแลวัยรุ่นกลุ่มนี้ รวมทั้งการวิจัยในอนาคตต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
จันทรา ป, ตรีนัย ส. ประสบการณ์การดูแลสุขภาพตนเองของวัยรุ่นที่มีอาการหลงเหลือ หลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. NJPH (วารสาร พ.ส.) [อินเทอร์เน็ต]. 25 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 5 เมษายน 2025];34(3):139-51. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/272858
บท
บทความวิจัย

References

Post-infection illness caused by Coronavirus 2019 leads teenagers to change their health behaviors for staying healthy as previously. This descriptive qualitative research aimed to describe the self- care experiences of teenagers with post- coronavirus 2019 conditions. Participants were purposefully selected based on specific criteria: adolescents diagnosed by a physician as having post-coronavirus 2019 condition, experiencing these symptoms for at least four weeks, and having no other chronic illnesses. The research was conducted at two hospitals in Ubon Ratchathani Province. Data were collected through in- depth interviews and field notes, which were the primary tools used in this research. Thematic analysis was conducted concurrently with data collection until data saturation was reached, including a total of 7 participants, from February 2023 to May 2024. The study concluded that the self- care practices of adolescents who had been affected by the post-coronavirus 2019 condition evolved into chronic symptom management. The results were categorized into two main themes. The first theme, " Life facing the consequence of COVID- 19," included subthemes of changes in life and impact on emotional and mental well- being. The second theme, Finding ways to manage chronic symptoms," included subthemes of discovering health care methods and managing and coping with symptoms independently. These findings help pediatric nurses understand the specific self-care experiences of adolescents with post-coronavirus 2019 conditions. his evidence may be utilized to create nursing care guidelines for this group and provide insight for future research.