ความเครียดและการจัดการความเครียดของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วีกุญญา ลือเลื่อง โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

ความเครียด, การจัดการความเครียด, พยาบาลห้องผ่าตัด

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องความเครียดและการจัดการความเครียดของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี เป็นการศึกษาแบบพรรณนา (Descriptive study) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความเครียดและการจัดการความเครียดของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 61 คนระหว่าง เดือนมิถุนายน – สิงหาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นชุดแบบสอบถามเรื่องความเครียดและการจัดการความเครียดของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 20 ข้อ แบบวัดความเครียด โดยใช้แบบวัดความเครียดของสวนปรุง จำนวน 20 ข้อ และแบบวัดพฤติกรรมการจัดการความเครียดโดยใช้แบบวัดพฤติกรรมการจัดการความเครียดของรัตนาภรณ์ ดวงธรรม จำนวน 25 ข้อ ที่ดัดแปลงมาจากแนวคิดของ ลาซารัส และคณะ ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความเครียด เท่ากับ 0.82 และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดพฤติกรรมการจัดการความเครียดเท่ากับ 0.97 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แบบสอบถามกลับคืนมาทั้งสิ้น 58 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 95.08 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปโดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 58 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 82.75 อายุเฉลี่ย 38.24 ปี (SD 9.09) ประสบการณ์การทำงานในห้องผ่าตัดเฉลี่ย 12.18 ปี (SD 8.83) มีความพึงพอใจในงาน ร้อยละ 91.38 ทำงานล่วงเวลาแบบเป็น on call ร้อยละ 70.69 โดยมีความถี่ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 65.52 มีสัมพันธภาพที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน, ผู้บังคับบัญชา ร้อยละ 100 และ 96.55 ตามลำดับ มีเวลาให้ครอบครัว ร้อยละ 74.14และมีสุขภาพแข็งแรง ร้อยละ 71.69 กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 53.45เมื่อพิจารณา รายข้อ พบว่า ข้อที่มีความเครียดระดับรุนแรงมากที่สุดคือ การกลัวทำงานผิดพลาด คิดเป็นร้อยละ 10.36 ข้อที่มีความเครียดระดับสูงมากที่สุดคือ มีอาการปวดหรือตึงกล้ามเนื้อ คิดเป็นร้อยละ 31.03 ข้อที่มีความเครียดระดับ ปานกลางมากที่สุดคือ การกลัวไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ และความกังวลกับเรื่องการเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 37.93 และข้อที่มีความเครียดระดับต่ำมากที่สุดคือ ความรู้สึกสับสน คิดเป็นร้อยละ 81.03 ส่วนการจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาของกลุ่มตัวอย่าง เลือกใช้การจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.11 และการจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้อารมณ์ของกลุ่มตัวอย่าง เลือกใช้การจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้อารมณ์ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.62 จากผลกราวิจัยดังกล่าว ผู้บริหารทางการพยาบาลควรเข้าใจในสถานการณ์ความเครียดที่พยาบาลห้องผ่าตัดต้องเผชิญ เอื้ออำนวยให้พยาบาลห้องผ่าตัดสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานห้องผ่าตัด ส่งเสริมสุขภาพจิตของพยาบาลห้องผ่าตัดให้มากขึ้นเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพยาบาลห้องผ่าตัด คงไว้ซึ่งการให้บริการที่ดี

References

1. สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ. ดัชนีความเครียดของคนไทย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ;2559. เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559 เข้าถึงได้จาก: http://www.ryt9.com/s/abcp/
2505816.
2. วรรณวิไล ชุ่มภิรมย์และคณะ. ความเครียดและวิธีการจัดการกับความเครียดของบุคลากร
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2547.
3. ทะนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข. การประเมินความเครียดจากการทำงานของพนักงานผู้ทำงานในสำนักงานของโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา;2544.
4. ขจิตพรรณ เหลืองวิรุจน์กุล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการทำงานกับความเครียดของพยาบาลห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย[วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา;2545.
5. ระบาดวิทยา. สุขภาพจิต[อินเทอร์เน็ต]. กรมสุภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข;2556. เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559 เข้าถึงได้จาก: http://www.dmh.go.th.
6. ดรุณศรี สิริยศธำรง. คุณภาพชีวิตการทำงานกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลศูนย์[วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2542.
7. American Operating Room Nurses. Standards, Recommended practices & guideline. Denver: Association of Operating Room Nurses;2001.
8. เรณู อาจสาลี และคณะ. การพยาบาลทางห้องผ่าตัด.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล;2540.
9. โรงพยาบาลสวนปรุง. แบบวัดความเครียดของสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559 เข้าถึงได้จาก: http://www.suanprung.go.th/index2559/index.php.
10. รัตนาภรณ์ ดวงธรรม. กระบวนการแก้ไขปัญหาความเครียดของพยาบาลที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์บำบัด รักษายาเสพติดในภาคเหนือ [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2547.
11. Lenox, C.Stress and the operating room nurse.Can Oper Room Nurs J 1988;6(2): 34-36.
12. Astbury, C. Stress on operating days. Nursing Times 1986; 82(33): 55-56.
13. Preston, C.A. Ivancevich, J.M., Matteson, M.T. (1981). Stress and the OR. Nurse. Association of
Operating Room Nurse Journal 1981; 33: 662-671.
14. ลักษณา พลอยเลื่อมแสง.ภาวะความเครียดและพฤติกรรมเผชิญความเครียดของพยาบาลที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่. ว.สวนปรุง 2543;1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27