ผลการรักษาทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม ในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี

ผู้แต่ง

  • โสภิดา ตันธวัฒน์ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

ทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยมาก, อุดรธานี

บทคัดย่อ

บทนำ: ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม เป็นกลุ่มทารกที่มีอัตราตายและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง การทบทวนผลการรักษาจะมีประโยชน์ในการค้นหาปัญหาที่เกี่ยวข้องและเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาทารกกลุ่มนี้ให้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษา อัตราตายและภาวะแทรกซ้อนของทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลังโดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง 2 ปี จากเวชระเบียนผู้ป่วยของทารกเกิดก่อนกำหนด อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ และมีน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม ที่เกิดในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 – ธันวาคม พ.ศ. 2559

ผลการศึกษา: ในระยะเวลา 2 ปี มีทารกเกิดก่อนกำหนดมีชีพ 155 ราย ถูกคัดออกจากการศึกษา 8 ราย เสียชีวิต 28 ราย (ร้อยละ 19) อัตราการรอดชีวิตจะสูงขึ้นสัมพันธ์กับอายุครรภ์และน้ำหนักแรกเกิดที่เพิ่มขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิดจากการขาดสารลดแรงตึงผิว (ร้อยละ 51) และโรคปอดเรื้อรัง (ร้อยละ 27.2) ตามลำดับ สาเหตุการเสียชีวิต ได้แก่ ภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิดจากการขาดสารลดแรงตึงผิว (ร้อยละ 53.6) การติดเชื้อ (ร้อยละ35.7) และภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศชนิดเกิดแรงดัน (ร้อยละ 10.7)

สรุป: ทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้อยกว่า 1,000 กรัม เป็นทารกที่มีอัตราตายและภาวะแทรกซ้อนสูง

References

1. Russell RB, Green NS, Steiner CA, Meikle S, Howse JL, Poschman K, et al. Cost of hospitalization for preterm and low birth weight infants in the United States. Pediatrics.
2007; 120(1): e1-9.
2. Mathews TJ, MacDorman MF. Infant mortality statistics from the 2007 period Linked Birth/Infant Death data set, United States: Natl Vital Stat Rep; 2011. 59:6.
3. Fanaroff AA, Stoll BJ, Wright LL, Carlo WA, Ehrenkranz RA, Stark AR, et al. Trends in neonatal morbidity and mortality for very low birth weight infants. Am J Obstet
Gynecol 2007; 196: 147-8.
4. สรรธีรา วนสุวรรณกุล. ผลการรักษาของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่าและเท่ากับ 1,500 กรัม ในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. Journal of Charoenkrung Pracharak Hospital 2007; l3.
5. ปรียานุช ตรงฤทธิชัยการ. การศึกษาผลการรักษาทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1500 กรัม ในโรงพยาบาลชัยนาท. ว.กุมารเวชศาสตร์ 2552; 48:123-7.
6. Sritipsukho S, Suarod T, Sritipsukho P. Survival and outcome of very low birth weight infants born in a university hospital with level II NICU. J Med Assoc Thai. 2007 Jul; 90(7): 1323-9.
7. Doyle LW, Kitchen WH, Ford GW, Rickards AL, Kelly EA. Antenatal steroid therapy and 5-year outcome of extremely low birth weight infants. Obstet Gynecol 1989; 73: 743-6.
8. The effect of antenatal steroid for fetal maturation on perinatal outcomes. NIH Consens Statement Online 1994; 12(2): 1-24.
9. Throngren-Jerneck K, Herbst A. Low 5-minute APGAR score: a populationbase register study of 1 million term births. Obstet Gynecol 2001; 98(1): 65-70.
10. Stool BJ, Hansen NI, Bell EF, et al. Neonatal outcomes of extremely preterm infants from NICHD neonatal research network. Pediatrics 2010; 126(3): 443-56.
11. Sweet DG, Carnielli V, Greisen G, et al. European consensus guidelines on the management of neonatal respiratory Syndrome in preterm infants. 2010 update. Neonatology 2010; 97(4): 402-17.
12. กนิษฐา กลิ่นราตรี, ฌานิกา โกษารัตน์, วัชรี ตันติประภา. อัตราเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2553 และ
2558. ว.กุมารเวชศาสตร์ 2560; 56: 51-9.
13. ปราโมทย์ ไพรสุวรรณา. Continuous positive airway pressure (CPAP). ใน: สรายุทธ สุภาพรรณชาติ. Update neonatal care and workshop in neonatal care. กรุงเทพฯ: บริษัท
ธนาเพลส จำกัด; 2545: 9-15.
14. Miksch R, Armbrust S, Pahnke J, Fusch C. Outcome of very low birth weight infants in Taiwan. Acta Paediatr Taiwan 2003; 44: 349-55.
15. Rojas-Reyes MX, Morley CJ, Soll R: Prophylactic versus selective use of surfactant in preventing morbidity and mortality in preterm infants. Cochrane Database Syst Rev
2012: CD000510.
16. Dunn L, Hulman S, Weiner J, Kliegman R. Benefcial effects of early hypocaloric enteral feeding on neonatal gastrointestinal function: preliminary report of randomized
trial. J Pediatr 1988; 112(4): 622-9.
17. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. Breast feeding practice in premature infant. ใน: สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์. Neonatology 2007. กรุงเทพฯ: บริษัทธนาเพรส จำกัด; 2550: 12-23.
18. โสภาพรรณ เงินฉ่ำ. Nutritional management in preterm. ใน: สรายุทธ สุภาพรรณชาติ. Update neonatal care and workshop in neonatal care. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2545:210-29.
19. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์สิริ, สุภาภรณ์ สมหล่อ. การบริบาลทารกน้ำหนักตัวน้อยมากที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ในช่วงสี่ปีของการเริ่มสหัสวรรษใหม่. ว.ศูนย์การแพทยศาสตรคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2547; 21: 175-83.
20. สมชาย เลาห์อุทัยวัฒนา. อัตราการเสียชีวิตและปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในทารกน้ำหนักตัวน้อยมากในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่.ว.กุมารเวชศาสตร์ 2549; 45: 44-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-28