การศึกษาประสิทธิภาพการระงับปวดหลังผ่าตัด Surgical Staging ในผู้ป่วยนรีเวชด้วยวิธีการทำา Bilateral TAP Block ในโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา ตันทัดประเสริฐ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

Bilateral TAP Block, ระดับความปวดหลังผ่าตัด, Surgical Staging

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาประสิทธิภาพ การระงับปวดด้วยวิธีฉีดยาชาเฉพาะที่ที่ผนังหน้าท้องระหว่างชั้นกล้ามเนื้อทั้ง 2 มัด ทั้งซ้ายและขวา ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ (Bilateral TAP Block) ในผู้ป่วยนรีเวชที่มาผ่าตัด Surgical Staging, low midline incision
สถานที่ศึกษา: ห้องผ่าตัด 504 ตึกเชี่ยวชาญ โรงพยาบาลอุดรธานี
รูปแบบการศึกษา: Randomized Controlled Trial
วิธีการศึกษา: ศึกษาการระงับปวดด้วยวิธี Bilateral TAP Block under ultrasound guide หลังการผ่าตัดเพื่อแยกระยะของโรคมะเร็งลงแผลผ่าตัดกึ่งกลางด้านล่าง (Surgical Staging, low midline incision) ในผู้ป่วยนรีเวชในระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 – เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 จำนวน 24 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มศึกษา (TAP) ที่ใช้วิธี Bilateral Tap Block และกลุ่มไม่ใช้ (no TAP) เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 12 ราย ติดตามเพื่อประเมินระดับความปวดของผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ชั่วโมงที่ 0, 15 นาทีหลังต่อ iv PCA, 1, 6, 12, 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด พร้อมเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการใช้ยา morphine ทั้งหมด ที่ผู้ป่วยต้องการ เสริมในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา morphine iv PCA และความพึงพอใจของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานด้วยสถิติ Chi-square test และ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ t-test แสดงผลในรูปของค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 95% Confidence interval กำหนดให้ p-value <0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนภาวะแทรกซ้อนแสดงในรูปแบบจำนวนและร้อยละ ใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบมีลักษณะทั่วไป ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับความปวดหลังผ่าตัด ณ เวลาที่ 1, 6, 12, 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด และเมื่อเริ่มเปลี่ยนอิริยาบถ กลุ่มศึกษามีระดับคะแนนความปวดน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับปริมาณการใช้ Morphine iv PCV ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด พบว่า กลุ่มศึกษาใช้ปริมาณมอร์ฟีนทั้งสิ้น เฉลี่ย 14.8 มก. (SD 12.5) หรือ 0.4±0.2 มก./กก. ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ใช้ปริมาณมอร์ฟีนทั้งสิ้น 52.8 มก. (SD 17.1) หรือ 1.0±0.5 มก./กก. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การระงับปวดด้วยวิธี Bilateral TAP Block under ultrasound guide หลังการผ่าตัด Surgical Staging, Low Midline Incision ในผู้ป่วยนรีเวช สามารถลดระดับความปวดได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

1. An Raf. Abdominal Field Block: a New Approach Via The Lumbar Triangle. Anesthesia. 2001 Oct;56(10): 1024-6.
2. JG McDonnell, BD O’Donnell, D Tuite, T Fawell, C Power. The Regional Abdominal Field Infltration Technique Computerized Tomographic and Anatomical Identifcation of a
Novel Approach to the Transversus Abdominis Neuro-Vascular FascialPlane,in proceedingsof the American Society of Anesthesiologist Annual Meeting, 2004, A899.Abstract.
3. J.M.Findlay, S.Q.Ashraf, P.Congahan. TransversusAbdominis Plane Block –A review. The Surgeon, Journal of The Royal Colleges of Surgeons of Edinburgh and Ireland. 2012: 361-7
4. P Hebbard, Y Fujiwara, Y Shibata, C Royse. Ultrasound Guided Transversus Abdominis Plane Block. Anesthesia & Intensive Care. 2007; 35(4): 616-7
5. X. Zhao, Y. Tong, H.Ren, X. Bing ding, X. Wang, J.YingZong. Transversus Abdominis Plane Block for Postoperative Analgesia after Laparoscopic surgery: a Systemetic Review and Meta-analysis. Int J ClinExp Med 2014; 7(9): 2966-75.
6. K Mukhtar. Transversus Abdominis Plane (TAP) Block. The Journal of New York School of Regional Anesthesia 2009; (12): 31-33.
7. JG McDonnell, BD O’Donell, G Curley, A Heffernan, C Power, JG Laffey. The Analgesic efcacy of transversus abdominis plane block after abdominal surgery: a prospective randomized controlled trial. AnesthAnalg 2007 Jan; 104(1): 193-7.
8. Borglum J, Mashmann C, Belhage B, Jensen K. Ultrasound guided bilateral dual transversus abdominis plane block: a new four-point approach. Acta Anaesthesiol Scand
2011 Jul; 55(6): 658-63.
9. Mark J.Young, Andrew W.Gorlin, Vicki E.Modest, Sadeq A. Quraishi. Clinical Implications of the Transversus Abdominis Plane Block in Adult: Review Article. Anesthesiology Research and Practice 2012: 1-11.
10. Trabelsi B, Charf R, Bennasr L, Marzouk SB, Eljebari H, Jebabli N. Pharmarcokinetics of bupivacaine after bilateral ultrasound-guided transversus abdominis plane block following cesarean delivery under spinal anesthesia. Int J ObstetAnesth 2017 Apr;22. Abstract.
11. Aksu R, Patmano G, Bicer C, Emek E, Coruh AE. Efcacy of bupivacaine and association with dexmedetomodine in transversus abdominis plane block ultrasound guided
in postoperative pain of abdominal surgery. Rev Bras Anestesiol 2017 May; 24.Abstract.
12. Huynh TM, Marret E, Bonnet F. Combination of dexamethasone and local anesthetic solution in peripheral nerve blocks: A meta-analysis of randomized controlled trials. Eur J Anaesthesiol 2015 Nov; 32(11): 751-8.
13. Alarasan AK, Agrawal J, Choudhary B, Melhotra A, Uike S, Mukherji A. Effect of dexamethasone in low volume supraclavicular brachial plexus block: A double-blinded randomized clinical study. J Anaesthesiol Clin Pharmacol 2016 Apr-Jun; 32(2): 234-9.
14. Sherif AA, Elsersy HE. Dexamethasone as adjuvant for femoral nerve block following knee arthroplasty: a randomized controlled study. Acta Anaesthesiol Scand 2016 Aug; 60(7): 977-87.
15. Pani N, Routray SS, Mishra D, Pradhan BK, Mohapatra BP, Swain D. A Clinical comparison between 0.5% Levobupivacaine and 0.5% Levobupivacaine with dexamethasone 8 mg combination in brachial plexus block by the supraclavicular approach. Indian J Anaesth 2017 Apr; 61(4): 302-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29