การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อุไรวรรณ พลซา โรงพยาบาลอุดรธานี
  • พรรณวรดา สุวัน โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้สูงอายุ, กระดูกสะโพกหัก, ภาวะแทรกซ้อน, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพัฒนา (Development Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักโรงพยาบาลอุดรธานี 2) ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติมาใช้ในหอผู้ป่วยและ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วย/ ครอบครัวที่ได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น รูปแบบการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ 12 ขั้น ตอนตามกรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขแห่งชาติของประเทศออสเตรเลีย (NHMRC) โดยทีมพัฒนาแนวทางปฏิบัติจากสหสาขาวิชา ดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤศจิกายน 2560 กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) พยาบาลวิชาชีพกลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี ที่ใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น จำนวน 50 คน และ 2) ผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอุดรธานี ครอบครัวที่ได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น จำนวน 25 คน ได้จากการสุ่มตามสะดวก (Convenience sampling) เครื่องมือวิจัยได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละฉบับ ๆ ละ 3 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.8-1 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติและ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้แนวปฏิบัติวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติพรรณนา เขียนรายงานสรุปและประเมินผลการพัฒนาแนวปฏิบัติผลการศึกษา พบว่า

1) แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักโรงพยาบาลอุดรธานีเป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน 3 ประการคือ การป้องกันการเกิดแผลกดทับ การจัดการความปวดและการป้องกันการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน โดยจัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติรายวันให้ครอบคลุมสำหรับป้องกันภาวะแทรกซ้อนทั้ง 3 ประการ

2) แนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักโรงพยาบาลอุดรธานี มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.24 (X= 3.99, SD = 0.24)

3) ความพึงพอใจของผู้ป่วย/ครอบครัวที่ได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักโรงพยาบาลอุดรธานี อยู่ในระดับมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.10 (X= 3.58, SD = 0.10)

แนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลอุดรธานี มีขั้นตอนการพัฒนาตามมาตรฐานสากลและมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในหน่วยงาน แต่การนำไปปฏิบัติจริงยังมีความยุ่งยากในประเด็นการป้องกันภาวะสับสนเฉียบพลันเนื่องจากแบบประเมินหลายฉบับและผู้ใช้แบบประเมินไม่มีความชำนาญ จึงเห็นว่าควรมีการพัฒนาความรู้ให้ผู้ใช้แนวปฏิบัติก่อน จึงจะสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

References

1. นงค์นุช สุขยานุดิษฐ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการรักษาด้วยการส่องไฟซ้ำในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2555; 20(1): 19-30.
2. กรองกาญจน์ ศิริภักดี. ลูกตัวเหลืองเมื่อแรกเกิด. ว.สุโขทัยธรรมาธิราช 2545; 15: 63-71.
3. ขนิษฐา ประสมศักดิ์. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนต่อความวิตกกังวลในบิดา มารดาที่มีบุตรมีภาวะตัวเหลืองและได้รับการส่องไฟในระยะหลังคลอด [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.
4. กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี. สรุปผลงานกลุ่มงานสูตินรีเวชกรรมปี 2557.อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2557.
5. ธัชวรรณ ดลรุ่ง. การพัฒนาแนวปฏิบัติในการคัดกรองทารกแรกเกิดตัวเหลือง โรงพยาบาลเต่างอย จังหวัดสกลนคร. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
6. ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย. คู่มือการดูแลทารกแรกเกิด 1. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.
7. สรายุทธ สุภาพรรณชาติ. Best Practice in Neonatal Care. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2548.
8. พัชรา ประเสริฐวิทย์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทารกตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษาในหอผู้ป่วยหลังคลอดสูติกรรม 1. โรงพยาบาลอุดรธานี; 2558.
9. อุไร พันธุ์เมฆา, วรารัตน์ ทองศิริมา.การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับจัดการความเจ็บปวดในสตรีหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง โรงพยาบาลสมุทรสงคราม. ว.กองการพยาบาล 2553;37: 66-84.
10. กิ่งแก้ว สิทธิ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษาโรงพยาบาลพังโคน จังหวัดสกลนคร. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร
มหาบัณฑิต.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
11. จารุวรรณ อาภรณ์แก้ว. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองโรงพยาบาลหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
12. แขนภา รัตนพิบูลย์, ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล, อัจฉรียา ปทุมวัน. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กป่วยขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. Rama Nurs J 2011; 7: 232-247.
13. จารุพิศ สุภาภรณ์, พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, มาลี เอื้ออำนวย. การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. พยาบาลสาร 2556; 40:115-126.
14. เอื้อมพร ธรรมวิจิตรกุล, ณัทกร พงษ์พีรเดช. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับบุคลากรของกลุ่มการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 200 โรงพยาบาลศีรษะเกษ. ว.กองการพยาบาล 2552; 36:58-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-20