ประสิทธิผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษาหอผู้ป่วยสูติกรรม 2 โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พัชรา ประเสริฐวิทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด, การส่องไฟรักษาโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (Neonatal Hyperbilirubinemia) เป็นปัญหาสำาคัญที่พบได้บ่อยทารกจะได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟเพื่อลดระดับบิลริรูบินในเลือด จากสถิติการรักษาพยาบาลทารกพบว่าจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของทารกตัวเหลือง เฉลี่ย 4.86 วัน/คน ค่าใช้จ่ายในการรักษา เฉลี่ย 6,500 บาท/คน ในขณะที่ทารกปกติมีจำนวนวันนอน 2.5 วัน/คน และค่าใช้จ่ายในการรักษา 1,500 บาท/คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพัฒนา เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทารกตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษาในหอผู้ป่วยสูติกรรม 2 โรงพยาบาลอุดรธานี โดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทารกตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษาในหอผู้ป่วยสูติกรรม 1โรงพยาบาลอุดรธานี ที่พัฒนาโดย พัชรา ประเสริฐวิทย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ (1) ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองทุกรายที่ได้รับการรักษาโดยการส่องไฟในหอผู้ป่วยสูติกรรม 2 โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวนทั้งสิ้น 30 คน (2) มารดาที่ดูแลทารกที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทารกตัวเหลืองจำนวน 30 คน (3) พยาบาลวิชาชีพผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทารกตัวเหลืองทุกคน ในระหว่างเดือนมีนาคม-สิงหาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: ข้อมูลทั่วไปและผลลัพธ์การรักษาทารกตัวเหลือง 30 คนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย น้ำหนักแรกคลอดเฉลี่ย 3237 กรัม อายุที่ตรวจพบว่าตัวเหลืองและได้ส่องไฟรักษาเฉลี่ย 54.67 ชั่วโมง (SD 12.43) จำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 3.83 วัน (SD 0.65) จำนวนวันส่องไฟเฉลี่ย 1.20 วัน (SD 0.40) ค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ย 3,770 บาท (SD 426) ทารกไม่มีการย้ายไป on double photo และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนข้อมูลทั่วไปและความพึงพอใจ มารดาของทารกดังกล่าว 30 คน อายุเฉลี่ย 27.17 ปี คลอดโดยการคลอดปกติทางช่องคลอด ไม่มีโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ มีความพึงพอใจโดยรวมมาก(X=2.91, SD 0.12) พยาบาลวิชาชีพผู้ใช้แนวปฏิบัติการดูแลทารกตัวเหลืองตามโปรแกรม 8 คน มีอายุเฉลี่ย 41.75 ปี มีประสบการณ์ดูแลทารกตัวเหลือง 12.50 ปี (SD 0.56) มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X=4.43, SD 0.48)

สรุป: ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทารกตัวเหลือง พบว่า กิจกรรมการพยาบาลทุกข้อ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงทุกข้อ จำนวนวันนอนโรงพยาบาล จำนวนวันส่องไฟ ค่าใช้จ่ายในการรักษาของทารกน้อยลงทารกไม่มีการย้ายไป on double photo ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้

ข้อเสนอแนะ: ควรบูรณาการแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้เข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลต่อไป

References

1. นงค์นุช สุขยานุดิษฐ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการรักษาด้วยการส่องไฟซ้ำในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2555; 20(1): 19-30.
2. กรองกาญจน์ ศิริภักดี. ลูกตัวเหลืองเมื่อแรกเกิด. ว.สุโขทัยธรรมาธิราช 2545; 15: 63-71.
3. ขนิษฐา ประสมศักดิ์. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนต่อความวิตกกังวลในบิดา มารดาที่มีบุตรมีภาวะตัวเหลืองและได้รับการส่องไฟในระยะหลังคลอด [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.
4. กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี. สรุปผลงานกลุ่มงานสูตินรีเวชกรรมปี 2557. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2557.
5. ธัชวรรณ ดลรุ่ง. การพัฒนาแนวปฏิบัติในการคัดกรองทารกแรกเกิดตัวเหลือง โรงพยาบาลเต่างอย จังหวัดสกลนคร. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
6. ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย. คู่มือการดูแลทารกแรกเกิด 1. กรุงเทพฯ: คณะ
แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.
7. สรายุทธ สุภาพรรณชาติ. Best Practice in Neonatal Care. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2548.
8. พัชรา ประเสริฐวิทย์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทารกตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษาในหอผู้ป่วยหลังคลอดสูติกรรม1. โรงพยาบาลอุดรธานี; 2558.
9. อุไร พันธุ์เมฆา, วรารัตน์ ทองศิริมา.การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับจัดการความเจ็บปวดในสตรีหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง โรงพยาบาลสมุทรสงคราม. ว.กองการพยาบาล 2553; 37: 66-84.
10. กิ่งแก้ว สิทธิ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษาโรงพยาบาลพังโคน จังหวัดสกลนคร. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
11. จารุวรรณ อาภรณ์แก้ว. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองโรงพยาบาลหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
12. แขนภา รัตนพิบูลย์, ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล, อัจฉรียา ปทุมวัน. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กป่วยขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. Rama Nurs J 2011; 7: 232-247.
13. จารุพิศ สุภาภรณ์, พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, มาลี เอื้ออำนวย. การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. พยาบาลสาร 2556; 40:115-126.
14. เอื้อมพร ธรรมวิจิตรกุล, ณัทกร พงษ์พีรเดช. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับบุคลากรของกลุ่มการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 200 โรงพยาบาลศีรษะเกษ. ว.กองการพยาบาล 2552; 36:58-75

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04