การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยรูปแบบการจัดการรายกรณี โรงพยาบาลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วรนารถ เล้าอติมาน โรงพยาบาลสารภี
  • ธิติสุดา สมเวที โรงพยาบาลสารภี
  • ประภาพร มุทุมล โรงพยาบาลสารภี
  • เดชา ทำดี โรงพยาบาลสารภี

คำสำคัญ:

พัฒนาระบบการดูแลโรคเบาหวาน, พยาบาลผู้จัดการรายกรณี, การจัดการรายกรณี

บทคัดย่อ

เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยรูปแบบการจัดการรายกรณี ตั้งแต่ธันวาคม 2559 - พฤษภาคม 2560 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (DM type 2) จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ระยะพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยพยาบาลผู้จัดการรายกรณี ระยะที่ 2 ระยะการนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยพยาบาลผู้จัดการรายกรณีไปใช้ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็นการศึกษาก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูลประจำวัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ สถิติวิเคราะห์ pair t- test

ผลการศึกษา ผู้ป่วย 40 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65 อายุเฉลี่ย 60.05 ปี (SD 12.98) จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 45 ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน ระหว่าง 5,000 - 10,000 บาท ร้อยละ 35 เป็นเบาหวานนาน 6 - 25 ปี ร้อยละ 75 มีโรคร่วม ร้อยละ 85 ผู้ป่วยมีอาการชาที่เท้าและเป็นแผลเรื้อรังที่เท้า เพียงร้อยละ 2.5 เท่ากัน คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมของผู้ป่วยเบาหวานก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการรายกรณี ด้วยสถิติ t - test พบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมทุกด้าน หลังการใช้รูปแบบการจัดการรายกรณี (x=42.90) มากกว่าก่อนการใช้รูปแบบการจัดการรายกรณี (x=34.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Glucose: FBG) หลังการใช้รูปแบบการจัดการรายกรณี <130 mg/dl ร้อยละ 42.5 มากกว่าก่อนการใช้รูปแบบการจัดการรายกรณีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ภาวะแทรกซ้อนจอประสาทตา ภาวะไตเสื่อม และภาวะแทรกซ้อนที่เท้า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการรายกรณี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.005) ประโยชน์การนำไปใช้คือ หน่วยงานระดับปฐมภูมิและหน่วยงานอื่นๆ ในโรงพยาบาลสามารถนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ได้

References

1. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์.กรมการแพทย์.กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน2557.กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์;2557.
2. International Diabetes Federation.About Diabetes[Internet].2016 [cited 2016 Sep 7]. Available from: www.idf.org/about-diabetes
3. American Diabetes Association. Living with Diabetes[Internet]. 2013 [cited 2016 Sep 7]. Available from: www.idf.org/about-diabetes
4. Wild,S., Scree, R., Roglic, G.,King, H., & Green, A. Global Prevalence of Diabetes. Medscape[Internet].2016 [cited 2016 Sep 7]. Available from:http://www.medscape.com/viewarticle/474956
5. กระทรวงสาธารณสุข.สำนักระบาดวิทยา. รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง[อินเทอร์เนต].กรุงเทพฯ:[เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน 2559].เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/report.php?cat=12.
6. กระทรวงสาธารณสุข.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.สถิติสาธารณสุข [อินเทอร์เนต].2558 [เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2559].เข้าถึงได้จาก:http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/health_statistic2558.pdf
7. สาธิต วรรณแสง.สภาพปัญหาของโรคเบาหวานในประเทศไทย. ใน:วรรณนี นิธิยานัน, สาธิต วรรณแสง,ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์, บรรณาธิการ. สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วิวัฒน์การพิมพ์; 2550.
8. ชัชลิต รัตรสาร.การระบาดของโรคเบาหวานและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย[อินเทอร์เนต]. กรุงเทพฯ: [เข้าถึงเมื่อ 8กันยายน 2559].เข้าถึงได้จาก: http://www.dmthai.org/sites/default/files/briefingbook_38.pdf
9. ราม รังสินธุ์ และคนอื่นๆ.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การประเมินผล การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 และโรคความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปี 2558 [อินเทอร์เนต].กรุงเทพฯ;2558 [เข้าถึงเมื่อ 8 พฤษภาคม2560].เข้าถึงได้จาก:https://goo.gl/gNv3gR
10. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่งานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ. รายงานโรคไม่ติดต่อ 2558.เชียงใหม่:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่;2558.
11. โรงพยาบาลสารภี.ฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ.แบบรายงานการนิเทศติดตามงาน ระดับจังหวัดรอบที่ 2 ตามตัวชี้วัดการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559.เชียงใหม่:โรงพยาบาลสารภี;2559.
12. โรงพยาบาลสารภี.ศูนย์พัฒนาคุณภาพ.Hospital Profile โรงพยาบาลสารภี ปี 2558.เชียงใหม่: โรงพยาบาลสารภี;2558.
13. โรงพยาบาลสารภี. NCD Profileโรงพยาบาลสารภีปี 2558. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสารภี; 2558.
14. ทิพมาส ชิณวงศ์. การจัดการรายกรณีผู้ที่เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน Case Management for Clients with Diabetes Mellitus and Hypertension in a Community.ว.พยาบาลสงขลานครินทร์ 2560;37:148-156
15. รังสิมา รัตนศิลา, และคนอื่นๆ. ผลของโปรแกรมการจัดการผู้ป่วยรายกรณีผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้.ว.พยาบาลสาธารณสุข2558;29:67-78.
16. บุญจันทร์ วงศ์สุนพรัตน์, และคนอื่นๆ. การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวาน ภายหลังเข้าโครงการอบรมความรู้การจัดการเบาหวานด้วยตนเองแบบกลุ่ม. Rama Nur J 2008;14:289-296.
17. วิไลวรรณโพธิ์ศรีทอง, และคนอื่นๆ.การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยรูปแบบการจัดการรายกรณี โรงพยาบาลสระบุรี.ว.กองการพยาบาล 2555;39:79-93.
18. ชลิดา อนุกูล.การดูแลผู้ป่วยเบาหวานมีแผลที่เท้าโดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณี: ประสบการณ์ของ Entero–Stomal Therapist Nurse โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า.ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2558;21:78-86.
19. วงเดือนฦาชา, และคนอื่นๆ. พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลชัยภูมิ.ว.กองการพยาบาล2554;38:31-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04