อัตราการกรองไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังใช้การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อไตเรื้อรังด้วยตนเอง โรงพยาบาลประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วิมลพร พูลศิริ โรงพยาบาลประจักษ์ศิลปาคม

คำสำคัญ:

การควบคุมปัจจัยเสี่ยงด้วยตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวาน, โรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของภาวะไตเรื้อรัง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการกรองไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ภายหลังการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อไตเรื้อรังด้วยตนเอง ที่โรงพยาบาลประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยศึกษาข้อมูลปัจจัยเสี่ยงต่อไตเรื้อรัง ได้แก่ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมเสี่ยงต่อไตเรื้อรัง และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ประเมินผลกระบวนการปฏิบัติตนในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศูนย์บริการสาธารณสุข และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ความดันโลหิต (systolic blood presser: SBP) โปรตีนในปัสสาวะ ครีอะตินินในซีรั่ม (SCr: Serum-creatinine) น้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) โคเลสเตอรอล, LDL (Low density lipoprotein cholesterol), HDL (High density lipoprotein cholesterol) และอัตราการกรองไต (Estimated glomerular filtration rate: eGFR) ศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 73 คน อายุระหว่าง 20-60 ปี เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยง แบบประเมินการปฏิบัติตนเองในการควบคุมปัจจัยเสี่ยง และแบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีค่าเชื่อมั่น 0.92, 0.90 และ 0.89 ตามลำดับ

ผลการศึกษาพบว่าหลังดำเนินการ 1 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ควบคุมปัจจัยเสี่ยงไม่ได้ (eGFRน้อยกว่า 60 ml/min) มีจำนวน 59 คน (ร้อยละ 80.8) และที่สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงได้ (eGFRมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ml/min) จำนวน 14 คน (ร้อยละ 19.2) ส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 57.5, อายุเฉลี่ย 54.0 ปี, ระยะเวลาการ ป่วยเฉลี่ย 7.21 ปี, ดัชนีมวลกาย เฉลี่ย 22.67 และความดันโลหิต (SBP) เฉลี่ย 126.0 mmHg, เครียตินินในเซรัม เฉลี่ย 1.25 มก./มล. โดยรวมทั้งสองกลุ่มพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการกรองไตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ (adj.OR=0.09; 95%CI: 0.06-0.24), ระยะเวลาป่วยเบาหวาน (adj.OR=0.20; 95%CI: 0.02-0.47), ดัชนีมวลกาย (adj.OR=4.41; 95%CI: 2.00-5.10), SBP (adj.OR=2.20; 95%CI: 2.00- 3.61), โปรตีนในปัสสาวะ (adj.OR=0.30; 95%CI: 0.03-0.53), เครียตินินในซีรั่ม (adj.OR= 0.07; 95%CI: 0.0-0.60), โคเลสเตอรอล (adj.OR=0.12; 95%CI: 0.02-0.59), LDL (adj.OR=9.11; 95%CI: 10.11-10.91), HDL (adj.OR=0.19; 95%CI:0.02-0.56), HbA1C (adj.OR=0.32; 95%CI:0.08-0.93), พฤติกรรมเสี่ยงโดย รวม 3อ2ส (adj.OR=1.50; 95%CI: 1.11-2.94) ได้แก่ การออกกำลังกาย (adj.OR=0.03), การบริโภคอาหาร (adj.OR=0.56), สุขภาพจิต (adj.OR=2.92) สูบบุหรี่ (adj.OR=2.92) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (adj.OR=7.94) การปฏิบัติตนเองในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงโดยรวม (adj.OR=5.75; 95%CI:4.04-8.66) ได้แก่ การรับประทาน อาหาร (adj.OR=0.06), การออกกำลังกาย (adj.OR=0.87), การส่งเสริมอารมณ์ (adj.OR=8.02) การงดสูบ บุหรี่ (adj.OR=0.06) การงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (adj.OR=0.81) และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยรวม (adj.OR= 0.81; 95%CI: 0.10-0.91) ได้แก่ ความสามารถในการเคลื่อนไหว (adj.OR=0.50), การดูแลร่างกาย (adj.OR=0.56), กิจวัตรประจำวัน (adj.OR=0.61) ความเจ็บปวด/ไม่สบาย (adj.OR=0.24) ความวิตกกังวลและ ภาวะซึมเศร้า (adj.OR=0.09) ส่วน เพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราการกรองไต

สรุป การปฏิบัติตนเองในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ สามารถเพิ่ม อัตราการกรองไตหรือชะลอไตเรื้อรังได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

1. American Diabetes Association.Standards of medical care in diabetes. Diabetes Care 2017; 40: S88-9.
2. พิสิษฐ์ เวชกามา, อติพร อิงค์สาธิต, อัมรินทร์ทักขินเสถียร. การศึกษาทางระบาดวิทยาของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. คณะแพทยศาสตร์,โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. ทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557:2-3.
3. สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ, สมเกียรติ โพธิสัตย์, จักรกริช โง้วศิริ. แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์
สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2555: 9-13.
4. อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล. ความรู้เกี่ยวกับเบาหวาน; 2555. [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2560].จาก:
http://www. oknation.net
5.สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. ข้อมูลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (fact sheet). กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, International Diabetes Federation. Diabetes fact sheet; 2555: 3: [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560]. จาก: http:// www.idf.org.
6. สุมาลี นิมมานิตย์. โรคเบาหวานกับไต. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล; 2555. [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2560].จาก: http://www. si.mahidol.ac.th.
7. เขตสุขภาพที่ 8. คู่มือแนวทางการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) สาขาโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง เขตสุขภาพที่ 8; 2557:2-7.
8. โรงพยาบาลประจักษ์ศิลปาคม. รายงานสถิติผู้ป่วยโรคเบาหวาน จากเวชระเบียน 43 แฟ้มจังหวัดอุดรธานี, 2559.
9. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์; 2557: 85-88.
10. บัญชาสถิระพจน์. บทความวิชาการ เรื่อง Benefits of intensive glycemic control in
diabetic nephropathy. แผนกโรคไต กองอายุรกรรมโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า. Journal of the Nephrology Society of Thailand; 2555: 23-5.
11. นันทวัน สุวรรณรูป และอัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์. การวิเคราะห์ความตรง และความเชื่อมั่นของแบบวัดวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อส่งเสริมสุขภาพ II. ฉบับภาษาไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2547; 19:64-68.
12. วิชช์ เกษมทรัพย์, พรรณทิพาศักดิ์ทอง และ กนกพร ปูผ้า. การประเมินโครงการผ่าตัดหัวใจ 8,000 ดวงถวายเป็นพระราชกุศล 80 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2551: 41-2.
13. Dodhia SS, Vidja K, Bhabhor M,Kathrotia R, Vala N, Joshi V. Factors Affecting Progression of Nephropathy in Type 2 Diabetes Mellitus. Department of Physiology, Shri. M. P. Shah Medical College (Gujarat). India: AIIMS, Rishikesh; 2554: 1-6.
14. Alwakeel JS, Isnani AC, Alsuwaida A, AlHarbi A, Shaikh SA, AlMohaya S, Ghonaim MA. Factors affecting the progression of diabetic nephropathy.Single-center experience. Ann Saudi Med 2011; 31: 236–42. [cited 2017 Feb 2]. Available from URL: http:// www.ncbi.nlm.nih.gov. 15. Wijesuriya MA, De-Abrew WK, Weerathunga A, Perera A, Vasantharajah L. Association of chronic complications of type
2 diabetes with the biochemical and physical estimations in subjects attending single visit screening for complications. Sri Lanka: Journal of Diabetology; 2012: 1-3.
16. เกวลี อุตส่าห์การ, จารุกวี สอนคามี, จีรยุทธ ใจเขียนดี, ภูชิชย์ สุวราพัฒนาภรณ์, รุ่งกานต์ แสงศิริ และ สมบัติ ภูนวกุล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะ microalbuminuriaในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารโรงพยาบาลพิจิตร 2555; 27: 56-9.
17. สุเทพ จันทรเมธีกุล. ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิด ที่ 2.โรงพยาบาลมุกดาหาร. จังหวัดมุกดาหาร; 2554: 1-42. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2560].จาก: http:// www. novapdf.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04