การจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกทางปัญญา

ผู้แต่ง

  • นฤมล จันทร์สุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • จีระภา นะแส วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • สิริมาส วงศ์ใหญ่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • ชวนนท์ จันทร์สุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

คำสำคัญ:

ตกผลึกทางปัญญา

บทคัดย่อ

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบตกผลึกทางปัญญา เป็นการสอนที่อาศัยบริบทการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นฐาน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการสร้างผลงานที่เกิดจากการตกผลึกทางความคิด สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ความรู้ด้วยความคิดการรวบรวม ทำความเข้าใจ สรุป วิเคราะห์ และสังเคราะห์จากการศึกษาของตนเอง จึงเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบหนึ่งซึ่งเหมาะสมกับการนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนในระดับบัณฑิตศึกษาซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกำหนด บทความนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญและองค์ประกอบของการตกผลึกทางปัญญา กระบวนการเรียนการสอนแบบตกผลึกทางปัญญา และบทบาทของผู้สอนและผู้เรียนเพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ

References

1. อมรรัตน์ วัฒนาธร. รายงานการวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบตกผลึกในระดับบัณฑิตศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2551.
2. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
3. คงรัฐ นวลแปง. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมจิตแห่งวิทยาการ จิตแห่งการสังเคราะห์และจิตแห่งการสร้างสรรค์ สำหรับนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2554.
4. ดิเรก วรรณเศียร. รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต; 2557.
5. กิตติพงษ์ ดารักษ์. วิธีการศึกษาในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2550.
6. สุรัสวดี นราพงษ์เกษม, มาโนช ดินลานสกูล และนิดามีสุข. การพัฒนาความสามารถในการเขียน บทความโดยใช้วิธีสอนแบบสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญาสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 27(3) ฉบับพิเศษ 2557: 50-62.
7. วรนุช ธรรมมงคลเดช. ผลของการสอนการออกแบบผ้าพิมพ์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึกที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
8. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. อาจารย์มืออาชีพ :แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04