ผลของการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจและการแปลผลการตรวจวัดมวลสารในร่างกายต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ที่มีภาวะอ้วนและรอบเอวเกิน
คำสำคัญ:
การสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจ, การแปลผลการวัดมวลสารในร่างกาย, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ผู้ที่มีภาวะอ้วนและรอบเอวเกินบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจโดยการให้คำแนะนำแบบสั้น (Brief Advice; BA) และการแปลผลการตรวจวัดมวลสารในร่างกายต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ที่มีภาวะอ้วนและรอบเอวเกิน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีภาวะอ้วนและรอบเอวเกินที่มารับบริการขอคำปรึกษากับศูนย์ NCD กลุ่มการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรม เดือน ธันวาคม 2557 จำนวน 108 คน เลือกแบบเจาะจงได้กลุ่มตัวอย่างที่คุณลักษณะใกล้เคียงกันทั้ง 3 กลุ่ม กลุ่มละ 36 คน กลุ่มควบคุมไม่ได้ทำ BA, กลุ่มทดลอง กลุ่ม A และ B ทำ BA 1 และ 3 ครั้ง ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกพฤติกรรม 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) ไม้บรรทัดวัดแรงจูงใจ และแบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ และผลการตรวจวัดมวลสาร ตรวจความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีอัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.81 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ เครื่องตรวจวัดมวลสารในร่างกาย, แนวปฏิบัติการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจ (Brief Advice; BA), การติดตามกระตุ้นเตือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยครั้งแรกเดือนธันวาคม 2557 และเมื่อครบ 3 เดือนในเดือนเมษายน 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน One Way ANOVA ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05
ผลการวิจัย (1) แรงจูงใจพฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการกินของกลุ่มทดลอง A และกลุ่มทดลอง B มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) พฤติกรรมออกกำลังกาย อาหารอารมณ์ ของกลุ่มทดลอง B มากกว่ากลุ่มทดลอง A และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) น้ำหนักตัวดัชนีมวลกายและรอบเอวกลุ่มทดลอง B ลดลงมากกว่ากลุ่มทดลอง A และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป การสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจ และการแปลผลการตรวจวัดมวลสารในร่างกาย ทำให้กลุ่มตัวอย่างลดน้ำหนักตัว ลดดัชนีมวลกาย และลดรอบเอว โดยพบว่า แม้ทำเพียงครั้งเดียวก็สามารถเพิ่มแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับผู้ที่มีภาวะอ้วนและรอบเอวเกินได้ แต่เมื่อมีการกระตุ้นเตือนซ้ำมีผลให้แรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังคงสูงต่อเนื่อง
References
2. เทอดศักดิ์ เดชคง. เทคนิคการให้คำปรึกษาแบบสร้างแรงจูงใจ Motivational Counseling หลักการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพด้วยการสนทนาสร้างแรงจูงใจ. หมอชาวบ้าน: กรุงเทพฯ; 2555.
3. Armstrong MJ, et al. Motivational Interviewing to improve weight loss in overweight and obese patients: ASystematic reviewand Metaanalysis of randomized controlled trials. Obesity Review 2011; 12 (9): 709-723.
4. วณิชากิจวรพัฒน์. คู่มือพิชิตอ้วน พิชิตพุง.นนทบุรี: สำนักโภชนาการกรมอนามัย; 2555.
5. Bartz, Albert E. Basic Statistical Concept. New Jersey:Prentice-Hall; 1999.
6. เทอดศักดิ์ เดชคง, รัฒดา ดรประสี.การให้คำปรึกษาแบบสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) Reviewing Document Guideline and Evidence Base Practice. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
7. ณัฐวุฒิ ฉิมมา, จินตนา สารายุทธพิทักษ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดน้ำหนักและเปอร์เซ็นต์ไขมันของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน.
วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา2557; 9(1): 133-147.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร