ระบาดวิทยาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ ปัญหาราช โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

ระบาดวิทยา, วัยรุ่น, การตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย ประชากร คือ วัยรุ่นหญิงที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี ที่ตั้งครรภ์และมารับบริการฝากครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู และมีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอเมืองจังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ระหว่างเดือน เมษายน-ตุลาคม 2559 จำนวน 151 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้วิธี Kuder - Richardson (KR-20)มีค่าความเชื่อมั่น 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นด้วยสถิติ Chi-Square และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและความรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์กับการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นด้วยสถิติ t-test

ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นตั้งครรภ์มีอายุตั้งแต่ 15 – 19 ปี ส่วนใหญ่อายุ 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.5มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุ 15 ปีร้อยละ 30.5 บุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยครั้งแรกคือคู่รักหรือแฟนร้อยละ 98.0สาเหตุของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกคือต้องการมีบุตรไว้สืบสกุลร้อยละ 40.4 สถานที่ที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกคือบ้านคู่รักหรือแฟนร้อยละ 53.0 ส่วนภูมิลำเนาพบว่า ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลร้อยละ 62.71

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นพบว่า อายุที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ค่าใช้จ่ายหรือรายได้ที่วัยรุ่นตั้งครรภ์ได้รับ ค่าใช้จ่ายหรือรายได้ที่สามีได้รับ ลำดับที่ของสามี และภูมิลำเนาของวัยรุ่นสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและความรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นไม่พบความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น

แสดงให้เห็นว่าการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นไม่ได้ขึ้นกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและความรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัย อายุที่มีเพศพันพันธ์ครั้งแรก ค่าใช้จ่ายหรือรายได้ที่วัยรุ่นตั้งครรภ์ได้รับ ค่าใช้จ่ายหรือรายได้ที่สามีได้รับ ลำดับที่ของสามี รวมถึงภูมิลำเนาของวัยรุ่น ดังนั้นในการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นนอกจากให้ความรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศแล้วควรให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าวด้วย

References

1. จุฑามาศ สินประจักษ์ผล และ ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. ผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอ็ชไอวี ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2549. วารสารโรคเอดส์. (2551). 20(1), 11-22.
2. สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ . การสำรวจเรื่องความรักและเพศสัมพันธ์: การศึกษาตัวอย่างจากนักเรียนนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย-ปริญญาตรี ในเขต กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2551, จาก http//www.loveed.biz/abac_poll.asp. (2547).
3. พิชิต สุขสบาย และ สายพิณ หัตถีรัตน์. คู่มือชาวบ้าน. วารสารคลินิก. 278 (2). ค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2553, จาก http//www.doctor.or.th/node/6954. (2551).
4. ศิริพร จิรวัฒน์กุล และคณะ. การศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น(แม่วัยใส). วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. (2555). 3(2), 9-11.
5. นพวรรณ มาดารัตน์. ภาวะตั้งครรภ์ไม่พร้อมของมารดาวัยรุ่นในพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากร กาญจนบุรี. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัยประชากรและสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2554).
6. Mchunu, G., Peltzer, K., Tutshana, B. & Seutlwadi, L. Adolescent pregnancy and associated factors in South Africa youth. Africa Health Sciences . (2012). 12(4), 426-434.
7. Mothiba, T.M. & Maputle, M.S. Factor contributing to teenage pregnancy in the Capricorn district of the Limpopo Province. Curationis. (2012). 35(1), 1-5.
8. Aruda, M.M. Predictors of Unprotected Intercourse for Female Adolescent Measured at their Request for a pregnancy Test . Journal of PediatricNursing . (2011). 26, 216-223.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04