เปรียบเทียบประสิทธิผลของยา ดอมเพอริโดนกับยาประสะน้ำนม ในการกระตุ้นการสร้างน้ำนมในมารดาหลังผ่าตัด

ผู้แต่ง

  • ขวัญตา ทุนประเทือง โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

ดอมเพอริโดน, ยาประสะน้ำนม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปริมาณน้ำนม ระหว่างการใช้ยา Domperidone และยาประสะน้ำนม ต่อปริมาณของน้ำนมมารดาหลังผ่าคลอด กลุ่มตัวอย่าง คือมารดาหลังคลอดที่มีปัญหาน้ำนมมาช้า ที่มารับบริการในหอผู้ป่วยหลังคลอดโรงพยาบาลหนองบัวลำภู ช่วงอายุระหว่าง 18-35 ปี ที่ได้รับการผ่าตัดคลอด (Caesarean Section : C/S) ในช่วงเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2558 โดยการเลือกโดยสุ่มตัวอย่างแบบปกปิด (randomized double-blind, controlled trial) จำนวน 54 คน โดยคัดเลือกมารดาหลังคลอดที่น้ำนมมาช้า โดยใช้แบบสัมภาษณ์มารดาหลังจากได้รับยาทั้ง 2 กลุ่มไปแล้ว ติดต่อกัน 3 วัน คือ 0, 24, 48, 72 ชั่วโมง นำเสนอข้อมูลเป็น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบียนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์โดย Mann-Whitney U test, Independent t-test โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ 0.05

ผลการวิจัยพบว่าปริมาณของน้ำนมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากได้รับยา Domperidone และยาประสะน้ำนมไปแล้ว ใน 0, 24, 48, 72 ชั่วโมง หลังคลอด พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่ได้รับยา Domperidone และกลุ่มยาประสะน้ำนมในระยะเวลาหลังคลอด 0 ชั่วโมง พบว่าปริมาณน้ำนมของมารดาในกลุ่มที่ได้รับยาประสะน้ำนม มีปริมาณมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยา Demperidone ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนม ทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p = 0.347) โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำนมที่เก็บได้ ในชั่วโมงหลังคลอด 24, 48, 72 ชั่วโมง หลังผ่าคลอด จากมารดากลุ่มที่ได้รับยา Domperidone เท่ากับ 18.52, 30.76, 45.64 มิลลิลิตรและกลุ่มยาประสะน้ำนมเท่ากับ 27.06, 44.62, 63.60 มิลลิลิตรตามลำดับ ทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.002, < 0.001, < 0.001 ตามลำดับ)

เมื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำนมในมารดาหลังคลอดโดยผ่าตัด (C/S) ที่ได้รับยา พบว่ายาประสะน้ำนมมีประสิทธิผลทำให้มีปริมาณน้ำนมมากกว่ายา Domperidone และช่วยในการกระตุ้นการหลั่งน้ำนม และในด้านเพิ่มปริมาณน้ำนมมากขึ้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และการศึกษาครั้งนี้ไม่มีมารดาคนใดที่มีอาหารข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนจากยาใดเลย

References

1. สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2547). เลี้ยงลูกด้วยนมแม่. พิมพ์ครั้งที่ 1: พิมพ์ที่ บริษัทแปลน พับลิชชิ่ง กำจัด.
2. ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. (2551). เลี้ยงลูกด้วยนมแม่วันนี้กับโอกาสสุขภาพในอนาคต. ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่ กรุงเทพเวชสาร.
3. da Silva OP, Knoppert DC, Angelini MM, Forret PA. Effect of domperidone on milk production in mothers of premature newborns: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. CMAJ. 2001 Jan 9;164(1):17-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04