ความชุกและอุบัติการณ์ของโรคสะเก็ดเงินในโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พัชรสินี ประสันนาการ โรงพยาบาลบ้านผือ

คำสำคัญ:

ความชุก, อุบัติการณ์, โรคสะเก็ดเงิน, โรงพยาบาลอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและอุบัติการณ์ของโรคสะเก็ดเงินในโรงพยาบาลอุดรธานีโดยศึกษาจากผู้ป่วยนอกที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลอุดรธานีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 - 30 กันยายน 2559 จากฐานข้อมูลจากโปรแกรม HOMC (Hospital Operation Management Control) เฉพาะผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการวินิจฉัยและยืนยันโดยแพทย์ผิวหนังเท่านั้นและบันทึกคำวินิจฉัยโรคสะเก็ดเงินด้วยรหัส ICD (International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problem) ตามมาตรฐาน ICD-10th Reversion-Thai Modification และ WHO (World Health Organization) ผลการศึกษาพบว่าความชุกของโรคสะเก็ดเงินในปีงบประมาณ 2556 – 2557 เท่ากับร้อยละ 0.12 และในปีงบประมาณ 2558 – 2559 เท่ากับ 0.11 อัตราส่วนที่พบในเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ1.33: 1 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือช่วงอายุ 51 – 60 ปี โดยพบในกลุ่ม Psoriasis vulgaris มากที่สุดถึงร้อยละ 95.07 อุบัติการณ์ของโรคสะเก็ดเงินพบว่ามีแนวโน้มลดลงจากปีงบประมาณ 2556 ร้อยละ 7.36 ลดลงเหลือ 4.68 ในปีงบประมาณ 2559 และผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินพบโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูงร่วมด้วยร้อยละ 21.75, 5.25 และ 3.41 ตามลำดับ ดังนั้นการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินเกี่ยวกับอาการของโรคภาวะแทรกซ้อนการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นและวิธีปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินจึงมีความสำคัญซึ่งจะช่วยควบคุมอาการของโรคให้สงบและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคสะเก็ดเงินได้

References

1. ชนิษฎาวงษ์ประภารัตน์. โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) [อินเตอร์เนต]. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 29 พฤษภาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก : http://www.dst.or.th/html/index.php?op=article-detail&id=
174&cid=12#.WXhy5RXyjcs
2. ประวิตรอัศวานนท์. ความจริงเกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงิน [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 29 พฤษภาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก https://www.dailynews.co.th/article/191239
3. World Health Organization. Global report on PSORIASIS [ออนไลน์]. 2016. [เข้าถึงเมื่อ 29 พฤษภาคม 2560].เข้าถึงได้จาก http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/204417/1/
9789241565189_eng.pdf
4. Hernández-Vásquez A, Molinari L, Larrea N, Ciapponi A. Psoriasis in Latin America and the Caribbean: a systematic review. J Eur Acad Dermatol Venereol. 2017 Jun 13.
5. RosaParisi, Deborah P.M.Symmons, Christopher E.M.Griffiths, Darren M.Ashcroft. Global Epidemiology of Psoriasis: A Systematic Review of Incidence and Prevalence. Journal of Investigative Dermatology. 2013 Feb; 133: 377-85.
6. สถาบันโรคผิวหนัง. กราฟสถิติโรคผู้ป่วยนอก 10 อันดับและผู้ป่วยใน 5 อันดับเปรียบเทียบ 3 ปี (2557-2559) [อินเตอร์เนต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 29 พฤษภาคม 2560].เข้าถึงได้จาก http://inderm. go.th/inderm/inderm_pan.php
7. สมใจฉันทวรลักษณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินกรณีศึกษาสถาบันโรคผิวหนัง. วารสารกรมการแพทย์.2549; 31: 62.
8. Chen K, Wang G, Jin H, Xu J, Zhu X, Zheng M, Gu H. Clinic characteristics of psoriasis in China: a nationwide survey in over 12000 patients.Oncotarget. 2017.
9. Kim ES, Han K, Kim MK, Park YM, Baek KH, Moon SD, Han JH, Song KH, Kwon HS. Impact of metabolic status on the incidence of psoriasis: a Korean nationwide cohort study. Sci Rep. 2017 May 16; 7(1).
10. Mil i D1,2, Jankovi S3, Vesi S1,2, Milinkovi M1,2, Marinkovi J4, irkovi A4, Jankovi J5. Prevalence of metabolic syndrome in patients with psoriasis: a hospital-based cross-sectional study. An Bras Dermatol. 2017 Jan-Feb; 92(1): 46-51.
11. Singh S1, Young P, Armstrong AW. Relationship between psoriasis and metabolic
syndrome: a systematic review. G Ital Dermatol Venereol. 2016 Dec; 151(6): 663-677.
12. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข. บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับประเทศไทย เล่มที่ 1 ตารางการจัดกลุ่มโรค. นนทบุรี: สำนักนโยบาย
และยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
13. Chang Y-T, Chen T-J, Liu P-C, Chen Y-C, Chen Y-J, Huang Y-L et al. Epidemiological
study of psoriasis in the national health insurance database in Taiwan. Acta DermVenereol. 2009; 89(3): 262–6.
14. Abdel-Hafez K, Abdel-Aty MAHofny ERM. Prevalence of skin diseases in rural areas of Assiut Governorate, Upper Egypt. Int J Dermatol. 2003; 42(11): 887–92.
15. Rachakonda TD, Schupp CW, Armstrong AW. Psoriasis prevalence among adults in the United States. J Am Acad Dermatol. 2014 Mar; 70(3): 512-6.
16. Egeberg A, Skov L, Gislason GH, Thyssen JP, Mallbris L. Incidence and Prevalence of Psoriasis in Denmark.Acta DermVenereol. 2017 Jul 6; 97(7): 808-12.
17. Henseler T, Christophers E. Psoriasis of early and late onset: characterization of two types of psoriasis vulgaris. J Am Acad Dermatol. 1985; 13(3): 450–6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04