ผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของวิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • นุจรินทร์ พันโกฏิ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การบริหารแบบมีส่วนร่วม, วิสัญญีพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้เพื่อศึกษาผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของวิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลอุดรธานีประชากรที่ใช้ในวิจัยคือวิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลอุดรธานีจำนวน 40 คนระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเรื่องผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของวิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลอุดรธานีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตามกรอบแนวคิดของโคเฮ็นและอัฟออฟ (Cohen &Uphoff, 1980) ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและหาความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้เท่ากับ 0.97

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 31-45 ปีร้อยละ 97.5 (เฉลี่ย 42.35 ปี SD 10.84) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 92.5 สถานภาพสมรสร้อยละ 57.3 รายได้ต่อเดือน 25,001 – 40,000 บาทร้อยละ 67.5 (เฉลี่ย 30,615 บาท SD 10,431.75) ประสบการณ์การทำงาน 10 – 20 ปีร้อยละ 40.0 (เฉลี่ย 18.2 ปี SD 10.98) มีประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านการพยาบาลวิสัญญี น้อยกว่า 10 ปีมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 50.0 โดยมีหน้าที่รับผิดชอบเมื่อขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการแบบปฏิบัติการคิดเป็นร้อยละ 65 คะแนนการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการโดยรวม 368 คะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก (SD = 1.48) เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของวิสัญญีพยาบาลกับข้อมูลทั่วไปพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทุกด้านสำหรับความพึงพอใจต่อการจัดอัตรากำลังทีมเวรเสริมในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 52.5 และเมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความพึงพอใจต่อการจัดอัตรากำลังทีมเวรเสริมพบว่าอายุรายได้ต่อเดือนประสบการณ์การทำงานประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านการพยาบาลวิสัญญีและหน้าที่รับผิดชอบเมื่อขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ< .001

ข้อเสนอแนะผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยมาใช้ในการจัดตารางการขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของวิสัญญีพยาบาลให้เหมาะสมกับภาระงานมากยิ่งขึ้นและประกอบการพิจารณาคัดเลือกบุคลากรที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญีต่อไป

References

1. สำนักการพยาบาล. เกณฑ์ภาระงานของสภาการพยาบาล. นนทบุรี: ม.ป.ท.; 2547.
2. ชุติเดชตาบ-องครักษ์. เอกสารประกอบการประชุมเรื่องการขับเคลื่อนองค์กร.ณห้องประชุมชั้น 7 อาคารอำนวยการและผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลอุดรธานี : 2558.
3. Cohen &Uphoff. Paticipation of place in rural development: Seeking clarity through Specificity. World development, 1980; 8(3): 21-235. 4. Hetherington, L.T. Becoming involed: The nurse leader’s role in encouragine teamwork. Nursing AdministratioQuartery, 1998; 23(1): 29-40.
5. David, K andNewstrom, J.W. Human behavior at work: Organization behavior. Singapore nationalprinterl. 1985.
6. Campell. Improving staff nurse participation. Nursing AdministrationQuartery, 1991; 16(1): 56-61.
7. Peterson, M.E. Motivation staff to participation in dicision making. Nursing Administration Quartery, 1983; 7(2): 63-68.
8. เปรมฤดีศรีวิชัยและคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมวัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์กับความพึงพอใจในงานตามการรับรู้ของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา. วารสารสภาการพยาบาล, 2556.
9. Frederick K Herberk. The motivation to work. New York:john Wiley &Sons,In., 1959; 113-119.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04