ผลของการให้ข้อมูลต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมก่อนผ่าตัด
คำสำคัญ:
การให้ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, ความวิตกกังวลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลโดยสื่อวีดีทัศน์ต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมก่อนผ่าตัดกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมและนัดเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเต้านมที่ห้องตรวจศัลยกรรมแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลอุดรธานีระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2560 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 60 รายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 30 รายกลุ่มทดลองได้รับข้อมูลโดยสื่อวีดีทัศน์กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สื่อวีดีทัศน์เรื่องคำแนะนำผู้ป่วยมะเร็งเต้านมก่อนผ่าตัดแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้า (Thai HADS) วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีแจกแจงความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t- test
ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการพยาบาลตามปกติก่อนผ่าตัดในกลุ่มควบคุมก่อนและหลังได้รับการพยาบาลตามปกติมีค่าเฉลี่ยคะแนนวิตกกังวล 10.13 (SD 5.13) และ 9.93 (SD 5.95) ส่วนกลุ่มทดลองที่ได้รับข้อมูลโดยสื่อวิดีทัศน์มีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังได้รับข้อมูล 9.26 (SD 4.44) และ 4.20 (SD 2.78) ก่อนได้รับข้อมูลผู้ป่วยทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองต่างมีความวิตกกังวลไม่แตกต่างกันแต่หลังจากได้รับข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มควบคุมมีความวิตกกังวลก่อนและหลังได้รับข้อมูลไม่แตกต่างกันส่วนกลุ่มทดลองที่ได้รับข้อมูลโดยสื่อวิดีทัศน์มีความวิตกกังวลน้อยกว่าก่อนได้รับข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p = 0.001) และน้อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)
สรุปและข้อเสนอแนะการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมก่อนผ่าตัดโดยสื่อวิดีทัศน์ทำให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลลดลงดังนั้นพยาบาลควรนำสื่อวีดีทัศน์นี้ไปใช้ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกคนเพื่อลดวิตกกังวลก่อนผ่าตัด
References
2. สุวลักษณ์จรรโลงศิลป์. ปรากฏการณ์สูญเสียและเศร้าโศก. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านม
ออก. วารสารพยาบาลรามาธิบดี 2546; 9(2): 124-130.
3. สุนีย์จันทร์มหาเสถียร, และนันทาเล็กสวัสดิ์. ความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่. พยาบาลสาร 2549; 33(2), 184-194.
4. คนึงนิตย์พงศ์ถาวรกมล, สิริรัตน์ฉัตรชัย สุชาและจิราภรณ์มหานนท์. การตอบสนองทางจิตอารมณ์และภาวการณ์ทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัดวารสารพยาบาลศาสตร์ 2549; 24(1): 44-56.
5. ดารัสนี โพธารส. การพยาบาลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. กรุงเทพฯ: พี.เพรส. 2546.
6. ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. ความวิตกกังวล:เทคนิคการลดความวิตกกังวลกระบวนการพยาบาล.
เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.2538.
7. นาตยา พึ่งสว่าง. ผลของการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดโดยการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยผ่านการ์ตูนตัวแบบต่อระดับความวิตกกังวลและการให้ความร่วมมือในการเตรียมผ่าตัดของผู้ป่วยเด็กวัยเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2545.
8. Bailey, L. Strategies for Decreasing Patient Anxiety in the Perioperative Setting.
AORN Journal, 92(4), 445-457. doi:10.1016/j. aorn.2010.04.017.
9. Guo, P., East, L., & Arthur, A. A preoperative education intervention to reduce anxiety and improve recovery among Chinese cardiac patients: A randomized controlled trial. International Journal of Nursing Studies, 49(2), 1-9. doi:10.1016/j.ijnurstu.2011.08.008.
10. สุจินดา ริมศรีทอง,สุดาพรรณ ธัญจิรา,และอรุณศรี เตซัสหงส์.พยาธิสรีรวิทยาทางการพยาบาล. พิมพ์ที่ 2. กรุงเทพฯ. 2550.
11. Stergiopoulou, A., & Vlachos, G. The preoperative education effect on the reduction of patient anxiety. Nosileftiki, 49(1), 26-30. 2010.
12. สุรศักดิ์ พุฒิวณิชย์. การวิเคราะห์เมตาเกี่ยวกับวิธีการพยาบาลเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยศัลยกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.2545.
13. ธนานิล ชัยโกวิทย์, มาโนช หล่อตระกูล, อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช. การพัฒนาแบบสอบถาม Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยโรคมะเร็ง. วารสารสมาคมจิตแพทย์ แห่งประเทศไทย, ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2539, 18-30.
14. ลิกิจ โหราฤทธิ์.ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, วิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2551.
15. วรนุช ฤทธิธรรม. ผลการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. 2554.
16. คงศักดิ์ เตชะวิบูลย์ผล, จิตราภรณ์ ความคานึง, อติคุณธนกิจ, และเกศชาดาเอื้อ ไพโรจน์กิจ. ผลการให้ความรู้ทางวีดีทัศน์ร่วมกับการอธิบายต่อภาวะความวิตกกังวลของหญิงที่รอผ่าตัดคลอดบุตร, การทดลองโดยวิธีสุ่ม. Thai journal of Anesthesiology, 37(2), 71-79. 2554.
17. โสภา กรรณสูต. การผลิตสื่อการเรียนการสอนทางพยาบาล. เชียงใหม่: โชตนาพริ้นท์, 2542.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร