การศึกษาผลของการใช้ยามอร์ฟีนชนิดน้ำเชื่อมเพื่อรักษาอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยระยะท้าย โรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยระยะท้าย, อาการหายใจลำบาก, มอร์ฟีนชนิดน้ำเชื่อม, วิสัญญีแพทย์, โรงพยาบาลอุดรธานีบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์การใช้ยามอร์ฟีนชนิดน้ำเชื่อม (morphine syrup) ในการจัดการอาการหายใจลำบาก ในผู้ป่วยระยะท้ายที่มีอาการโดยการติดตามผลระดับอาการหายใจลำบาก หลังการรักษาเพื่อการบรรเทาอาการในแผนการรักษาของผู้ป่วยระยะท้ายหน่วยเมตตารักษ์ ในโรงพยาบาลอุดรธานีโดยใช้วิธีการประเมินอาการหายใจลำบาก ในผู้ป่วยระยะท้ายก่อนและหลังการจัดการอาการด้วยยามอร์ฟีนชนิดน้ำเชื่อ
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า (Prospective descriptive study) โดยการศึกษาเก็บข้อมูลผลการใช้ยามอร์ฟีนชนิดน้ำเชื่อมในการรักษาบรรเทาอาการหายใจลำบาก ในผู้ป่วยระยะท้ายโดยติดตามผลลัพธ์ ก่อนและหลังการจัดการอาการด้วยยามอร์ฟีนชนิดน้ำเชื่อม
การเก็บข้อมูล: โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยระยะท้ายที่ให้คำยินยอมในงานวิจัยที่ได้รับการพิจารณาผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในโรงพยาบาลอุดรธานีเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง กรกฎาคม 256
เครื่องมือ: โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ดังนี้ 1) แบบเก็บข้อมูลพื้นฐาน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและลักษณะทางประชากรของผู้ป่วยกลุ่มศึกษา (Baseline characteristic) 2) แบบเก็บข้อมูลอาการหายใจลำบาก (dyspnea) ในผู้ป่วยระยะท้ายโดยการประเมินก่อนและหลังให้ยามอร์ฟีนชนิดน้ำเชื่อม 30 นาที ซึ่งเป็นแบบประเมินที่ใช้อยู่ในแนวทางการประเมินผู้ป่วยระยะท้าย โดยผู้ป่วยเป็นผู้ให้คะแนนตามความเป็นจริงและนำมาแบ่งเป็นระดับของอาการหายใจลำบากเป็นลำดับต่อไปตามแนวทางของ Global Therapy for dyspnea
ผลการวิจัย : พบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยระยะท้ายที่มีอาการหายใจลำบาก 125 รายพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 76 ราย ร้อยละ 70.6 มีระดับ PPS (palliative performance scale) 40 -70 จำนวน 67 รายร้อยละ 64.2 และมีพยาธิสภาพดังนี้ (1) ผู้ป่วยมะเร็งจำนวน 106 ราย ร้อยละ 84.8 โดยเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีมะเร็งปอด ร้อยละ 44.3 และ 24.5 ตามลำดับ มีผู้ดูแลเป็นบุตรหลาน และภรรยาร้อยละ 46.4 และ 33.6ตามลำดับ PPS level เฉพาะผู้ป่วยมะเร็ง 106 รายส่วนใหญ่อยู่ที่ level 40 -70 รายร้อยละ 64.2ผลการประเมินภาวะหายใจลำบาก เมื่อแบ่งระดับอาการหายใจลำบาก พบว่าก่อนการรักษาอาการหายใจลำบากระดับปานกลาง (moderate dyspnea: NRS 4 - 7) จำนวน 103 ราย (ร้อยละ 82.4) หลังการรักษาอาการระดับของอาการหายใจลำบากลดลงเหลือแค่ระดับต่ำ (mild dyspnea: NRS 1- 3) 81 ราย(ร้อยละ 74.6) และระดับปานกลาง (moderate dyspnea: NRS 4-7) 43 ราย (ร้อยละ 42.2) ประเมินค่าคะแนนจาก dyspnea NRS ผลการศึกษาพบว่าการประเมินอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยระยะท้ายก่อนการรักษาอาการหายใจลำบาก มีค่าคะแนนระหว่าง 3 - 9 คะแนน เฉลี่ย 6.10 (SD 1.269) หลังการจัดการอาการโดยให้ยามอร์ฟีนชนิดน้ำเชื่อม พบว่าอาการหายใจลำบากลดลงโดยมีคะแนนเฉลี่ย (mean) 3.14+1.259 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =0.000)
สรุปการศึกษา: การใช้ยามอร์ฟีนชนิดน้ำเชื่อมเพื่อรักษาอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาลอุดรธานี พบว่าระดับของอาการหายใจลำบากลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงควรพัฒนารูปแบบและนำไปใช้ในวงกว้างต่อไป
References
2. เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี.การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย: การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย End of life CARE. กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ จำกัด; 2550.
3. ศรีเวียง ไพโรจน์กุล.เกณฑ์การวินิจฉัยผู้ป่วยระยะสุดท้าย. ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
4. สถิติผู้ป่วยระยะท้าย (พ.ศ. 2558 -2559).หน่วยเมตตารักษ์ โรงพยาบาลอุดรธานี; 2559.
5. บุญทิวาสู่วิทย์ และคณะ. บทความวิชาการการประเมินอาการที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง. Songklanagarind Journal of Nursing .2005; 35:
6.กติพล นาควิโรจน์. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย [อินเตอร์เน็ต] ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล [เข้าถึงเมื่อ4 เม.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก:http://www.ra.mahidol.ac.th/dpt/FM/doctorpalliative2th
7. ลดารัตน์ สาภินันท์ .คู่มือการใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง.คณะกรรมการการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. บริษัทกลางเวียงพิมพ์ จำกัดเชียงใหม่; 2556.
8. Bruce K. Hospice Palliative Care Program: Symptom Guidelines. Fraser Health 2009. 13:1-15.
9. Bausewein C, Booth S, Higginson IJ. Measurement of dyspnoea in the clinical rather than the research setting.CurrOpinSupport Palliat Care 2008; 2: 95-9.
10. World health organization. WHO Defnition of Palliative Care.[cited 2007 March 11], Available from: http://www.who.int.Cancerpalliative
11. Jennings AL, Davies AN, Higgins JP, Gibbs JS, Broadley KE.A systematic review of the use of opioids in the management of dyspnea. Thorax 2002 ; 57: 939–44.
12. สังวาล รักษ์เผ่า. ระเบียบวิจัยและสถิติวิจัยทางคลินิก: โครงการตำราแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2539.
13. Wen-Yu Hu,Ching-Yu Chen, Shao-Yi Cheng,Tai-Yuan Chiu. Morphine for dyspnea control in terminal cancer patients: is it appropriate in Taiwan. Journal of Pain and Symptom management .2004; 28: 356-63.
14. Patama G, Steven Z. Management of Moderate-to-Severe Dyspnea in Hospitalized Patients Receiving Palliative Care. Journal of Pain and Symptom management 2013; 45: 885-91.
15. Arif HK, Jennifer MM, Jane LK, David CC, Amy PA. Dyspnea Review for palliative care. Journal of Pallitive Medicine 2012; 15: 106-14.
16. KatriElina C, Eberhard K. Symptomatic Therapy of Dyspnea with Strong Opioids and Its Effect on Ventilation in Palliative Care Patients. Journal of Pain and Symptom management 2007; 33. 473-81.
17. สันต์ หัตถีรัตน์. การดูแลผู้ป่วยให้ตายดี.กรุงเทพฯพิมพ์ดี; 2552.
18. Viola R, Kiteley C, Lloyd NS, Mackay JA, Wilson J, Wong RK. Themanagementof dyspnea in cancer patients: a systematic review. Support Care Cancer 2008; 16: 329-57.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร