ความชุก พฤติกรรมทันตสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ

ผู้แต่ง

  • สิริรัตน์ วีระเศรษฐกุล โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมทันตสุขภาพ, โรคปริทันต์อักเสบ, โรงพยาบาลอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเกี่ยวกับพฤติกรรมทันตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงที่พบในผู้ป่วยโรคปริทันต์ โรงพยาบาลอุดรธานี เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2560 สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มอย่างเป็นระบบ ได้จำนวนผู้ป่วย 287 คน นำเสนอข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอความชุกร่วมกับช่วงเชื่อมั่น 95% ใช้สถิติเชิงวิเคราะห์แบบตัวแปรเชิงเดี่ยวและสมการถดถอยพหุคูณลอจิสติก

ผลการศึกษา พบผู้ป่วยทันตกรรมเป็นโรคปริทันต์อักเสบร้อยละ 15.0 ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เรื่องโรคปริทันต์ อยู่ในเกณฑ์ระดับสูง (10-13 คะแนน) ร้อยละ 28.2 มีคะแนนการดูแลอนามัยช่องปากที่ถูกต้อง (5-6 คะแนน) เพียงร้อยละ 12.5 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสมการถดถอยพหุคูณลอจิสติกพบว่าผู้ป่วยที่มีอายุมาก เป็นโรคปริทันต์อักเสบมากกว่าผู้ป่วยที่มีอายุน้อย 1.084 เท่า (95%CI;1.041 - 1.129), p<0.001 พบผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน 3.937 เท่า (95%CI,1.798-8.620), p=0.001 การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสริมในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 3.391 เท่า (95%CI, 1.269-9.063), p=0.015 และผู้ที่ดูแลอนามัยช่องปากไม่ดีเป็นโรคปริทันต์อักเสบมากกว่าผู้ที่ดูแลอนามัยช่องปากดี 0.642 เท่า (95%CI,0.458-0.899), p=0.010 เมื่อควบคุมการเป็นโรคไต การเคี้ยวหมากและระดับความรู้

จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้ป่วยโรคปริทันต์มีพฤติกรรมทันตสุขภาพในเรื่องความรู้และการดูแลอนามัยช่องปากค่อนข้างต่ำ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคปริทันต์อักเสบคืออายุ โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่และการดูแลอนามัยช่องปาก

References

1. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย, รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. Available from :http://dental.anamai.moph.go.th/survey7.pdf
2. Page RC, Kornman KS. The pathogenesis of human periodontitis: an introduction. Periodontol 2000 [serial on the Internet].14(Jun 1997)[cited 2014 Oct 12];9-11:[about 3 p.]. Available from: https://scholar.google.co.th/scholar?hl=th&q=The+pathogenesis+of+human+periodontitis+%3A+an+introduction.Periodontol&btnG=
3. Torrungruang K, Tamsailom S, Rojanasomsith K, Sutdhibhisal S, Nisapakultorn K, Vanichjakvong O, etal. Risk indicators of periodontal disease in older Thai adults.J Periodontol 2005; 76(4): 558-65.
4. ดิศวรรณ เอื้อเชี่ยวชาญกิจ. อุบัติการณ์ รูปแบบ และปัจจัยพยากรณ์การลุกลามของโรคปริทันต์อักเสบในช่วงเวลา 5 ปี ในกลุ่มตัวอย่างคนไทยสูงอายุกลุ่มหนึ่งวิทยานิพนธ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2553. [อินเตอร์เน็ต] เข้าถึงได้จาก:http://doi.nrct.go.th/?page=resolve_doi&resolve_doi=10.14457/CU.the.2010.604.
5. Deinzer R, Micheelis W, Granrath N, Hoffmann T. More to learn about: periodontitis related knowledge and its relationship with periodontal health behaviour. J Clin Periodontol 2009 Sep;36(9):756-64.
6. Sabounchi S S, Torkzaban P, Ahmadi R. Association of Oral Health Behavior-Related Factors With Periodontal Health and Oral Hygiene. Avicenna J Dent Res 2016 June; 8(2):e29827. [อินเตอร์เน็ต] เข้าถึงได้จาก: doi:10.17795/ajdr-29827.
7. สุวิมล ชุนพงษ์ทอง, กนกรัตน์ เศรษฐสถิตย์, ชื่นฤดี ยี่เขียน. พฤติกรรมทันตสุขภาพของบุคลากร โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหิดล 2551; 28 (3): 293-99.
8. Fadilla YI, Sutan R. Proportionand factors related to Periodontal disease among young adult attended AL-Fatah dental faculty,Libya. Malasian J of public health medicine [serial on the Internet]. 2011[cited 2014 Oct 12]; 11(2): [about 4 p.]. Available from:http://www.mjphm.org.my/mjphm/journals/Volume%2011:2/187PROPORTION%20AND%20FACTORS%20RELATED%20TO%20PERIODONTAL%20DISEASE.pdf
9. Borrell LN and Papapanou PN. Analytical epidermiology of periodontitis. J Clin Periodontol[serial onthe Internet]. 2005 [cited 2014 Oct 12]; 32 suppl6: [about 4 p.]. Available from: http://www.joponline.org/doi/pdf/10.1902/jop.2005.76.8.1406
10. Burt B. Positionpaper: Epidemiology of periodontal diseases. J Periodontol 2005; 16(8): 1406-19.
11. Chrysanthakopoulos NA. Periodontal disease status in an isolated Greek adult population. J of dentistry, Tehran university of medical sciences.[serial on the Internet].2012 [cited 2014 Oct 12]; 9(3): [about 11p.].Available from :http://jdt tums.ac.ir z(760.848.1-PB.pdf)
12. Craig RG, Boylan R, Yip J, Bamgboye P, Koutsoukos J, Mijares D, et al. Prevalence and risk indicators for destructive periodontal diseases in 3 urban American minority populations. J Clin Periodontol2001; 28(6): 524-35.
13. BaelumV, Pisuithanakan S, Teanpaisan R, Pithpronchaiyakul W, Pongpaisai, Papapanou PN, et al. Periodontal conditions among adults in Southern Thailand. J Perio Rest 2003; 38(2): 156-63.
14. Jaroenkul N. Factors associated with oral health behavior of dental service: case study Wiang Sa Crown Prince Hospital. SDU Res J[serial on the Internet]. 2014 Sep Dec [cited 2014 Aug 12];7(3): [about 14p.]. Available from:https://www.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/download/29372/25239
15. Chatrchaiwiwatana S, Ratanasiri A. Periodontitis associated with Tobacco Smoking among Rural Khon Kaen Thai Males: Analysis of Two Data Sets. J Med Assoc Thai.[serial on the Internet].2009 [cited 2015 Jan 25];92(11): [about 6 p.]. Available from:http://www.mat.or.th/journa
16. Baharin B, Palmer RM, Coward P and Wilson RF. Investigation of periodontal destruction patterns in smokers and nonsmokers.JClin Periodontol 2006; 33(7):485-95.
17. Csar Neto JB, Rosa EF, Pannuti CM, Romito GA. Smoking and periodontal tissues: a review. Braz Oral Res [serial on the Internet]. 2012 [cited 2015 Jan 25 ]; 26 Suppl 1: [about 6 p.]. Available from: http://dx.doi.org/10.1590/S1806-83242012000700005
18. Albandar JM. Global risk factorsand risk indicators for periodontal diseases. Periodontol2000. 2002;29(1):177-206.
19. Heitz-Mayfeld LJ. Disease progression: identifcation of high-risk groups and individuals forperiodontitis. J ClinPeriodontol 2005;32Suppl 6:196-209.
20. Fullmer SC, Preshaw PM, Heasman PA, Kumar PS. Smoking cessation alters subgingival microbial recolonization. J Dent Res 2009 Jun; 88(6): 524-8.
21. Erdemir EO, S๖nmez IS, Oba AA, Bergstrom J, Caglayan O. Periodontal health in children exposedto passive smoking. J ClinPeriodontol 2010 Feb;37(2):160-4.
22. Rosa EF, Corraini P, de Carvalho VF, Inoue G, Gomes EF, Lotufo JP, et al. A prospective 12-month study of the effectof smoking cessation on periodontal clinical parameters. J ClinPeriodontol2011 Jun;38(6): 562-71.
23. Khades Y, Khassawnch B. Obeidal B, Hammad M, El-salemK, Bawadi H et al. Periodontal status of patients with metabolic syndrome compared to those without metabolic syndrome. J Periodontol 2008;79(11):2048-53.
24. เศรษฐพล เจริญธัญรักษ์, จิราพร เขียวอยู่, วิลาวัลย์ วีระอาชากุล. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน:กรณีศึกษาในเขตอำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู, วารสารศรีนครินทร์ Available from: http://www.smj.ejnal.com/e- journal/showdetail/? show_detail=T&art_id=1880.vol29no4.
25. Taylor GW, Burt, Becker MP, Genco RJ, Shlossman M, Knowler WC,et al.Non-insulin dependent diabetes mellitus and alveolar bone loss progression over 2 years.J Periodontol 1998;69(1):76-83.
26. สิริรัตน์ วีระเศรษฐกุล, วิลาวัลย์ วีระอาชากุล. ความสัมพันธ์ของภาวะไฮเปอร์ไลปิดดีเมียกับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ว.การแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2550;15(1):24-37.
27. สุภาพร อัศวบวรชัย, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, เสาวนันท์ บำเรอราช, มุขดา ศิริเทพทวี.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบระดับรุนแรงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสระแก้วบทความวิจัยเสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการครั้ง ที่ 4 วันที่ 10 พฤษภาคม 2556(706); 101-110.
28. Yoshihara A, Seida Y, Hanada N and Miyazaki HA. Longitudinal study of the relationship between periodontal disease and bone mineral density in community-dweling older adults. J Clin Periodontol 2004;31(8):680-4.
29. Chaffee BW, Weston SJ. Association between chronic periodontal disease and obesity: A systematic review and meta-analysis. J Periodontol 2010;81(12):1708-24.
30. Saito T, Shimazaki YT, Tsuzuki M and Ohshima A. Relationship between upper body obesity and periodontitis. J Dent Res 2001;80(7):1631-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05