การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อโรคเบาหวานขึ้นจอตาในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • ศศินันท์ พิพัฒบัณฑิตสกุล โรงพยาบาลบึงกาฬ

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, ความชุก, เบาหวานขึ้นจอตา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อโรคเบาหวานขึ้นจอตา และศึกษาอัตราความชุกของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานขึ้นจอตาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ

วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยเบาหวานเขตเทศบาลเมืองบึงกาฬที่มารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขึ้นจอตา ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2559

ผลการศึกษา ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขึ้นจอตา 271 คนได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคเบาหวานขึ้นจอตา 42 คน คิดเป็นร้อยละ15.5 และเมื่อนำปัจจัยด้านต่างๆ มาวิเคราะห์ทีละปัจจัย พบว่าระยะเวลาการเป็นเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) ระยะของโรคไตเรื้อรังและการใช้ยา insulin ร่วมในการรักษามีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวานขึ้นจอตาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อนำปัจจัยเสี่ยงมาวิเคราะห์พร้อมกันโดยใช้สถิติถดถอยแบบพหุลอจิสติก (multivariable logistic regression) พบว่าการใช้ยา insulin ร่วมในการรักษามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขึ้นจอตาเพิ่มขึ้นเป็น 6 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ใช้อินซูลินร่วมในการรักษา

สรุป การคัดกรองผู้ป่วยให้ครอบคลุมและการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อโรคเบาหวานขึ้นจอตาเป็นการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขึ้นจอตาได้

References

1. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารข้อมูล:สถานการณ์โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ;2556.
2. Rawdaree P, Ngarmukos C, Deerochanawong C, Suwanwalaikorn S, Chetthakul T, Krittiyawong S. et al. Thailand diabetes registry(TDR) project: clinical status and long term vascular complications in diabetic patients. J Med Assoc Thai 2006; 89 Suppl 1: S1-9.
3. Ausayakhun S, Jiraratsatit J. Prevalence of diabetic retinopathy in NIDDM patients.Thai J Ophthalmol 1990; 5:2:133-8.
4. Rasmidatta S, Khunsuk-Mengrai K, Warunyuwong C. Risk factor of diabeticretinopathy in NIDDM. J Med-Assoc Thai1998; 18:3: 169-74.
5. Supapruksakul S. Prevalence of diabetic retinopathy in Trang hospital. 12thRegion medical Journal of MOPH 1997; 8:4:39-48.
6. Nitiapinyasakul N, Nitiapinyasakul A. Risk factors of ophthalmic complications in diabetes. Thai J Ophthalmol 1999; 13:1:23-33.
7. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การบริหารจัดการเชิงระบบเพื่อตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตาระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ;2555.
8. พิทยา ภมรเวชวรรณ, อุบลรัตน์ ปทานนท์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาใน รพ. ประจวบคีรีขันธ์. จักษุเวชสาร 2547;18(1):77-84.
9. Yau J, Rogers S , Kawasaki R, Lamoureux E, Kowalski J, Bek T, et al. Global Prevalence and Major Risk Factors of Diabetic Retinopathy. Diabetes Care 2012;35:556–64.
10. Bertelsen G, Peto G, Lindekleiv H, Schirmer H, Solbu M, Toft I,et al. Troms eye study: prevalence and risk factors of diabetic retinopathy. ActaOphthalmol 2013; 91:716–21.
11. Dowse GK, Humphrey ARG, Collins VR, Plehwe W, Gareeboo H, Fareed D, et al. Prevalence and risk factors for diabetic retinopathy in the multiethnic population of Mauritius. Am J Epidemiol 1998;147(5):448-57.
12. The American Academy of Oph-thalmology. 2002. International clinical diabetic retinopathy disease severity scale. Retrieved April 7, 2013, from:http://www.icoph.org/resources/43/International-Clinical-Diabetic-RetinopathyDisease-Severity-Scale-.html
13. ประภัสร์ ศุขศรีไพศาล.การใช้กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาชนิดไม่ขยายม่านตาเพื่อคัดกรอง
ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.ว.จักษุธรรมศาสตร์ 2553;
5:2:31-7.
14. โยธิน จินดาหลวง. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน เขตเทศบาลเมืองตาก. พุทธชินราชเวชสาร 2552; 26:1: 53-61.
15. สืบพงค์ ลีนาราช. การศึกษาผลการคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. ขอนแก่นเวชสาร 2551;2(4),480-8.
16. Mozetic V, Freitas CG, Riera R.Statins and Fibrates for Diabetic Retinopathy: Protocol for a Systematic Review. JMIR Res Protoc2017;6(2):e30.
17. Pradeepa R, Anitha B, Mohan V, Ganesan A, Rema M. Risk factors for diabetic retinopathy in a South Indian Type 2 diabetic population in the Chennai Urban Rural Epidemiology Study (CURES). Diabet Med 2008; 25(5): 536-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05