การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สุปราณี บัวขาว โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, ประเมินคุณภาพ, การเงิน, การบัญชี

บทคัดย่อ

จากการดำเนินงานทางด้านการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู พบปัญหาในการปฏิบัติงาน เช่น การเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลระบบจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล และการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไม่เป็นไปตามกำหนดระยะเวลาการรับรู้เจ้าหนี้การค้าไม่เป็นไปตามนโยบายการรับรู้เจ้าหนี้การค้าการทอนเงินผิดพลาด การกำหนดสิทธิการรักษาไม่ชัดเจน การเรียกเก็บและติดตามทวงถามหนี้ซ้ำ หนังสือติดตามทวงหนี้ไม่ถึงมือผู้รับ เอกสารการเรียกเก็บหนี้ไม่ถูกต้องชัดเจน การจ่ายเงินค่าตอบแทน หรือ P4P ผิดคน การเบิกจ่ายค่าตอบแทนล่าช้า การวิเคราะห์รายงานผิดพลาด การส่งรายงานไม่ทันตามกำหนด การบันทึกบัญชีผิดพลาด เอกสารสำคัญสูญหายและได้รับเอกสารทางการเงินช้า เป็นต้น สาเหตุอาจเกิดจากผู้รับผิดชอบขาดความรู้ความเข้าใจและขาดประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน จำนวนบุคลากรมีไม่เพียงพอหรือเปลี่ยนแปลงบ่อย ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานทางด้านการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพบัญชีเขตสุขภาพที่ 8 ผู้วิจัยจึงได้มีการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีโรงพยาบาลหนองบัวลำภู เพื่อให้ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพบัญชีเขตสุขภาพที่ 8 ต่อไป

วัตถุประสงค์: เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีโรงพยาบาลหนองบัวลำภู

รูปแบบการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังระหว่างปีงบประมาณ 2557-2559 และเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานการเงินและบัญชีทุกประเภท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 นำมาวิเคราะห์หาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารการเงินและบัญชีโรงพยาบาลหนองบัวลำภูเพื่อใช้ในการวางแผน ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาการปฏิบัติงานด้านเงินและบัญชี ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อบรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพบัญชีเขตสุขภาพที่ 8 ระดับ A ในปี 2559

ผลการศึกษา : ฝ่ายการเงินและบัญชี โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ได้ทบทวนขั้นตอนการส่งรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เสมียนในตึกผู้ป่วย ฝ่ายสวัสดิการสังคม คลังพัสดุ เวชระเบียน และศูนย์คอมพิวเตอร์และได้มีการสร้างแบบฟอร์มเพื่อใช้ในการคัดกรองรายงานประเภทต่างๆ เช่น ลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาล รายได้ค่ารักษาพยาบาล เงินสด/เงินฝากธนาคาร รายได้อื่น ค่าใช้จ่าย การจัดเก็บเอกสาร วัสดุคงคลัง ที่ดิน อาคาร ค่าเสื่อมราคา และเจ้าหนี้/ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นต้น เพื่อให้รายงานมีความถูกต้อง ครบถ้วนและสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์การจัดทำบัญชีที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ ในการดำเนินงานที่ผ่านมาคณะกรรมกา�รตรวจประเมินคุณภา�พบัญชี เขตสุขภา�พที่ 8 ได้มีกา�รตรวจสอบคุณภ�าพบัญชีของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู และสรุปรายงานการตรวจสอบคุณภาพบัญชีหน่วยบริการ ปี พ.ศ. 2557 ถึงปี พ.ศ.2559 พบว่า มีหน่วยบริการที่เข้ารับการตรวจประเมินฯ จำนวน 86 แห่งและฝ่ายการเงินและบัญชี โรง พยาบาลหนองบัวลำภู สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู มีผลการประเมินฯ อยู่ในระดับ A ตั้งแต่ปีพ.ศ.2557 ถึงปี พ.ศ.2559 ซึ่งในปัจจุบันโรงพยาบาลหนองบัวลำภู มีผลการประเมินฯ อยู่ในลำดับที่ 8 จากหน่วยบริการทั้งหมด 86 แห่ง คะแนนรวมคิดเป็นร้อยละ 98.48 อยู่ในระดับ A ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู เพื่อให้ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพบัญชี เขตสุขภาพที่ 8 ตามหลักเกณฑ์การจัดทำบัญชีที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้

สรุป: การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู โดยใช้วิธีการทบทวนขั้นตอนในการดำเนินงานต่างๆ และสร้างแบบฟอร์มเพื่อใช้ในการคัดกรองรายงานทางการเงินและบัญชี ประเภทต่างๆ ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ส่งผลให้โรงพยาบาลหนองบัวลำภูผ่านการประเมินคุณภาพบัญชี เขตสุขภาพที่ 8 คะแนนรวมคิดเป็นร้อยละ 98.48 อยู่ในระดับ A ส่วนปัญหาด้านบุคลากร เช่น บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจและขาดประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน จำนวนบุคลากรมีไม่เพียงพอหรือเปลี่ยนแปลงบ่อยนั้น ผู้วิจัยเห็นว่า ควรจัดอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี รวมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากร เช่น การเพิ่มค่าตอบแทนหรือสวัสดิการอื่นๆเพื่อธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพ และลดปัญหาการลาออกของบุคลากรโรงพยาบาลหนองบัวลำภูต่อไป

References

1. จุรี วิชิตธนบดี. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพการบัญชี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์] .เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543.
2. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน .แนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน. [อินเตอร์เน็ต] 2557. เข้าถึงได้จาก: http//kmcenter.rid.go.th/kcaudit/kcaudit/index.php/2/13-2011-07-07-08-04-19.
3. สุนันทา เลาหนันท์. การพัฒนาองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ:ดี.ดี.บุ๊คส์โตร์; 2544.
4. Walton, Richard E. Improving the Quality of working life. Harvard Business Review 1974; 4(7): 12-14.
5. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน. ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ: สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน; 2544.
6. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของส่วนราชการ. [อินเตอร์เน็ต] 2559. เข้าถึงได้จาก: http://hr.moph.go.th.
7. สมิต สัชฌุกร. การต้อนรับและการบริการที่เป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สารธาร; 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05