ผลของการใช้ Surfactant ในทารกแรกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น Respiratory distress syndrome ของโรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิดก่อนกำหนด, ทารกเกิดก่อนกำหนด, สารลดแรงตึงผิวบทคัดย่อ
ความเป็นมา: Respiratory distress syndrome (RDS) เกิดจากการที่ปอดไม่สามารถสร้างหรือหลั่งสาร surfactant ได้เพียงพอ งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของการใช้ surfactant ในการรักษาผู้ป่วยแรกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น RDS
วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของการใช้ surfactant และหาปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของทารกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น RDS และรักษาด้วย surfactant
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาแบบ retrospective study โดยรวบรวมข้อมูลทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการวินิจฉัย RDS และได้รับการรักษาด้วย surfactant ในโรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2560
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทารกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น moderate to severe RDS และได้รับการรักษาด้วย surfactant มีจำนวน 71 ราย อายุครรภ์เฉลี่ย 28 สัปดาห์ (SD 4.3) น้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย 1,127 กรัม (SD 352.8) ทารกรอดชีวิตร้อยละ 52.1 สาเหตุของการเสียชีวิตส่วนใหญ่คือ ทารกติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 61.9 ระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจเฉลี่ย 9.7 วัน และระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 40.7 วัน ปัจจัยที่ลดอัตราการเสียชีวิตของทารกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การได้รับ surfactant หลังคลอดไม่เกิน 2 ชั่วโมง (p-value 0.031)
สรุป: การให้ surfactant ในทารกที่เป็น moderate to severe RDS ภายใน 2 ชั่วโมงหลังคลอด ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
2. Fanaroff AA, stoll B5, Wright II, et al. Trends in neonatal morbidity and mortality for very low birthweight infants. Am J Obstet Gynecol 2007; 196: 147el.
3. ORISIS collaborative Group. Early versus delayed neonatal administration of a synthetic surfactant-the judgment of ORISIS. Lancet 1992; 340: 1363.
4. Soll RF, Morley Cj. Prophylactic versus selective use of surfactant in preventing morbidity and mortality in preterm infant. Cochrane Database Syst Rev 2011; 2: CD000510.
5. Davis JM, Veness-Meehan K, Notter RH, et al. Changes in pulmonary mechanics after the administration of surfactant to infants with respiratory distress syndrome. N Engl J Med 1993; 319: 467-9.
6. Jobe AH. Pulmonary surfactant therapy. N Engl J Med 1993; 328: 816.
7. Wang H, Gao X, Liu C, et al. Morbidity and mortality of neonatal respiratory failure in China: Surfactant treatment in immature infants. Pediatrics. 2012; 129: e731-40.
8. ทิพย์ธารา อ. การศึกษาผลการรักษาทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,000 กรัม และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา. ว.กุมารเวชศาสตร์ 2012 Jul-Sep; 51: 222-232
9. Felicia L Bahadue, Roger S. Early versus delayed selective surfactant treatment for neonatal respiratory distress syndrome. Cochrane database of systematic reviews 2012; 11: CD001456.
10. European Study. Early or selective surfactant for intubated babies at 26 to 29 weeks gestation. Online J Curr Clin Trials 1992 Nov; 10: Doc No 28.
11. Plavka R, Kopecky P, Sebron V, et al. Early versus delayed surfactant administration in extremely premature neonates with respiratory distress syndrome ventilated by high-frequency oscillatory ventilation. Intensive Care Medicine 2002; 28: 1483-90.
12. นพวรรณ พงษ์โสภา. ผลการรักษาภาวะ Respiratory distress syndrome โดยใช้ Surfactant ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. ว.วิชาการแพทย์เขต 11 2558; 29: 505-513.
13. ชนิตา พจน์พิศุทธิพงศ์ และ พรมนัส พันธ์สุจริตไทย. ผลของการใช้ surfactant ในทารกแรกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น Respiratory distress syndrome ของโรงพยาบาลสระบุรี. ว.กุมารเวชศาตร์ 2556; 236-41.
14. Bahadue FL, Soll R. Early versus delayed selective surfactant treatment for neonatal respiratory distress syndrome. Cochrane Database of Syst Rev 2012; 11: CD 001456.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร