ผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อ : โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • สมคิด สุระชัย โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

ข้ออักเสบ, ข้ออักเสบติดเชื้อเมลิออยโดสีส

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครพนมใน พ.ศ. 2557-2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากร ระยะเวลาที่เจ็บป่วย อาการและอาการแสดง ตำแหน่งการติดเชื้อ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ชนิดของเชื้อโรค การรักษา ผลการรักษา ระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาล และศึกษาลักษณะทางคลินิกที่แตกต่างกันระหว่างข้ออักเสบติดเชื้อเมลิออยโดสีสกับข้ออักเสบติดเชื้ออื่นๆ โดยใช้สถิติพรรณา และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ Chi-square test, Fisher’s exact test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษา พบผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อทั้งหมด 69 ราย มีสัดส่วนชายต่อหญิง เท่ากับ 1.28: 1 ช่วงอายุที่พบมากที่สุด คือ อายุ 41 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 81.26) และส่วนใหญ่จะมีโรคร่วม (ร้อยละ 61.46) มีอาชีพเป็นเกษตรกรรม (ร้อยละ 69.79) ระยะเวลาที่เจ็บป่วยก่อนมาโรงพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1-7 วัน (ร้อยละ 76.04).ทุกคนมีอาการปวดข้อและข้อบวมแดง, มีไข้ (ร้อยละ 88.54) ตำแหน่งการติดเชื้อที่พบมากที่สุดคือ ข้อเข่า (ร้อยละ66.67) รองลงมาคือข้อเท้า (ร้อยละ 12.50) และข้อสะโพก (ร้อยละ 9.38) ผลการเพาะเชื้อจากกระแสเลือดให้ผลบวก (ร้อยละ 47.61) การเพาะเชื้อจากน้ำในข้อให้ผลบวก (ร้อยละ 95.50) ชนิดของเชื้อโรคพบมากที่สุดคือ streptococcus (ร้อยละ 41.67) รองลงมา staphylococcus (ร้อยละ 32.30) และburkhoderiapseudomallei (ร้อยละ 18.75) ได้รับการรักษาโดยการระบายหนองจากข้อร่วมกับยาปฏิชีวนะ (ร้อยละ 55.21) จำนวนวันนอนโรงพยาบาลส่วนใหญ่ประมาณ 2 สัปดาห์ (ร้อยละ 52.08) เสียชีวิต 8 ราย (ร้อยละ 8.33) ผู้ป่วยที่เสียชีวิตทุกคน เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Burkholderia pseudomallei

ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของลักษณะทางคลินิกระหว่างผู้ป่วยกลุ่มข้ออักเสบติดเชื้อเมลิออยโดสีสกับกลุ่มข้ออักเสบติดเชื้ออื่นๆ พบว่า กลุ่มข้ออักเสบติดเชื้อเมลิออยโดสีสเป็นโรคเบาหวานสูงกว่าผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้ออื่น ๆอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ผู้ป่วยกลุ่มข้ออักเสบติดเชื้อเมลิออยโดสีสมีอาชีพเป็นเกษตรกรสูงกว่ากลุ่มข้ออักเสบติดเชื้ออื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ตำแหน่งของการติดเชื้อ กลุ่มที่เกิดข้ออักเสบติดเชื้อเมลิออยโดสีสมีการติดเชื้อรยางค์ส่วนบนสูงกว่าผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้ออื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01)

สรุปได้ว่าข้ออักเสบติดเชื้อเป็นภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์ที่ต้องได้รับการวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วเพื่อป้องกันการเกิดทุพลภาพและการเสียชีวิต

References

1. Goldenberg DL. Septic Arthritis.Lancet 1998; 351: 197-202.
2. Kaandorp CJ, Dinant HT, vandeLaar MAFJ, et al. Incidence and sources of native and prosthetic joint infection: a community based prospective survey. Ann Rheum Dis
1997; 56: 470-5.
3. รัตนาวดี ณ นคร. โรคข้ออักเสบติดเชื้อ (septic arthritis) (serial online). 2017 (cited 2017 Jan 5). Available from: URL: http://www.med.md.kku.ac.th.
4. วีระชัย โควสุวรรณ. ข้ออักเสบเป็นหนองในผู้ใหญ่ (septic arthritis in adult). ใน : คณาจารย์ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บรรณาธิการ. ตำราออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551 หน้า 216-219.
5. วรวิทย์ เลาห์เรณู. โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ (infectious arthritis). ใน:สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์, สุรวุฒิ ปรีชานนท์. บรรณาธิการ. ตำราโรคข้อ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:เอส.พี.เอ็น. การพิมพ์ จำกัด, 2548 หน้า 806-828.
6. John L Brusch. Septic Arthritis.(serial online) 2017. [cited 2017 Sep 19] Avaibable from : URL: http://www.emedicine.medscpe.com
7. William C., Shiel Jr. Septic Arthritis(Infectious Arthritis).(serial online) 2018. [cited 2018 Feb 15] Avaibablefrom : URL: http://www.medicinenet.com
8. Morgan DS , Fisher D , Merinose A, Currie BJ. An 18 year clinical review of septic arthritis from tropical Australia. Epidemiology &Infection (serial online)1996; December. [cited 2017 March 10] : 117(3) . Avaibablefrom : URL: http://www.ncbi.nlm.nih.gov>pubmed
9. Goldenbery DL, Cohen AS. Acute infectious Arthritis.A review of patients with nongonococcaljoint infections (with emphasis on therapy and prognosis).Am J med 1976; 60: 369-77.
10. Rosental J, Bole GG., Robinson WD. Acute Nongonococcal infectious Arthritis. Evaluation of Risk Factors, therapy and outcome.Arthritis Rheumatology.1980; 23: 889-97.
11. โชติ ภาวศุทธิกุล. ผลการรักษาโรคข้อเข่าอักเสบติดเชื้อโดยการเจาะดูดจากข้อ เปรียบเทียบกับการผ่าตัดเปิดล้างข้อ: การศึกษาย้อนหลัง 10 ปี. The thai Journal of Ortho paedic surgery 37(2-4) April-October.29-33.
12. Gubta M.N. ,sturrock R.D., Morgan DS .& field M.A Prospective 2- year study of patients with adult-onset septic arthritis. Rheumatology (serial online) 2001; Jan [cited 2017 Nov 30] : 40(1). Avaibable from : URL: http://www.ncbi.nlm.nih.gov>pubmed
13. John J, Charles L., Saltzman, Philip carking & Daniel S. shapiro. Pneumoncoccal septic Arthritis CID 2003; 36(1); 319-27.
14. Kitumnuaypong T, Nilganuwong S, Parivisutt L. Septic arthritis. Thai Rheum Bull 1997; 2-11.
15. Norasetthada A, Louthrenoo W. A Clinical study of Non-gonococcal bacterial arthritis. Intern Med 1994; 10: 43-7.
16. สมคิด สุระชัย. ข้ออักเสบเป็นหนองเมลิออยโดสีส: รายงานผู้ป่วย 14 ราย. สรรพสิทธิวารสาร. 2549; 27(1-2): 49-59.
17. Kosuwan W, Taimglang T, Sirichativapee W, Jeeravipoolaarn P. Melioidotic septic Arthritis. and its risk factors. J Bone Joint Sarg 2003, 85-A; 6: 1058-61.
18. Hogue S.N, Minassian J, Clipstone S, Lloyd-Owen S.J, Sheridan E, Lessing M.P.A, Melioidosis Presenting as septic arthritis in Bengali in Rheumatology 1999; 38: 12029-31.
19. Woods DE, Jones AL, Hill PJ. Interaction of Insulin with Pseudomonas pseudomallei. infect Immune 1993; 61: 4045-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05