พฤติกรรมการรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักและการรับรู้ผลกระทบของการรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • พิมพ์รดา ธรรมีภักดี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
  • จิรา ขอบคุณ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก, การรับรู้ผลกระทบ, พฤติกรรมการรับประทาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักและการรับรู้ผลกระทบของการรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงพรรณนา ประชากร คือ นิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ปีการศึกษา 2560 จำนวน 260 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า
1. ประชากรส่วนใหญ่ไม่เคยรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักจำนวน 144 คนคิดเป็นร้อยละ 55.38 และ เคยรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักจำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 44.62

2. ประชากรส่วนใหญ่เคยรับประทานยาและผลิตภัณฑ์ประเภทสมุนไพร 102 คน ร้อยละ 87.93 รองลงมาคือ ประเภทสารเคมี 14 คน คิดเป็นร้อยละ 12.07

3. ประชากรส่วนใหญ่เคยเลือกซื้อยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักประเภทสมุนไพร 103 คนคิดเป็นร้อยละ 88.79 รองลงมาคือประเภทสารเคมี 13 คน คิดเป็นร้อยละ 11.21

4. ประชากรส่วนใหญ่เลือกรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักเพื่อลดความอ้วน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 88.79 รองลงมาเพื่อเสริมความงาม 13 คน คิดเป็นร้อยละ 11.21

5. ประชากรส่วนใหญ่มีความถี่ในการซื้อหรือรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก นานกว่า 1 เดือน/ครั้ง จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 55.17 รองลงมาคือทุกเดือน จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 21.55

6. ประชากรส่วนใหญ่เลือกซื้อยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักโดยสั่งซื้อทางไปรษณีย์ 74 คนคิดเป็นร้อยละ 63.79 รองลงมาคือร้านขายยา จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 30.17

7. การรับรู้ผลกระทบจากการรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก ประชากรมีการรับรู้ผลกระทบโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.90, SD = 0.41) เมื่อพิจารณารายข้อ ประชากรส่วนใหญ่รับรู้ระดับปานกลาง ได้แก่ การรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักติดต่อกันเป็นเวลานานสามารถทำให้เกิดอาการทางจิตประสาท ( gif.latex?\bar{x}= 3.94, SD = 0.42) อาการโยโย่จากการรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก ( gif.latex?\bar{x}= 3.56, SD=0.48) และการรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักส่งผลกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานมากกว่าปกติ ( gif.latex?\bar{x}= 3.72, SD = 0.34)

สรุปผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักของกลุ่มประชากรสูงถึงร้อยละ 44.62 และประชากรมีการรับรู้ผลกระทบของการรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักโดยรวมและรายข้ออยู่ระดับปานกลางเท่านั้น ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนและพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้ความรู้กับประชาชนถึงอันตรายและผลกระทบจากการรับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักอย่างต่อเนื่องต่อไป

References

1. ฉัตยาพร เสมอใจ. พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2555.
2. นนนิตา ตั้งไพบูรณ์ทรัพย์. อัตลักษณ์ความงามของผู้หญิงภายใต้วาทกรรมความสวยเท่ากับความผอม. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.
3. ณิชาพัฒน์ ชิระพลเศรษฐ์. ความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับโรคอ้วน และพฤติกรรมในการควบคุมและลดน้ำหนัก ของนักศึกษาหญิง ระดับอุดมศึกษา มหา วิทยาลัยขอนแก่น. [รายงานการศึกษาอิสระ]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยของแก่น; 2552.
4. นฤมล ฝีปากเพราะ. พฤติกรรมการเผชิญปัญหาเรื่องโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
5. ศิวรักษ์ กิจชนะไพบูลย์. พฤติกรรมการลดน้ำหนักที่ไม่ถูกต้องของวัยรุ่นและเยาวชนไทย. ว.พยาบาลสาร 2555; 39(4): 179-187.
6. พัชรา เมืองเจริญ. การศึกษาการโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2551.
7. ปิ่นแก้ว โชติอำนวย, อัจฉโรบล แสงประเสริญ, พรวิไล คล้ายจันทร์. รายงานการวิจัย
เรื่องความพึงพอใจในภาพลักษณ์และการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารและยาเพื่อควบคุมน้ำหนัก. นครสวรรค์: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์; 2552.
8. นันทพงศ์ เถื่อนยืนยงค์. พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อควบคุมน้ำหนักของผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. [รายงานการค้นคว้าแบบอิสระ]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.
9. อรลักษณา แพรัตกุล. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร: ประโยชน์ ความเสี่ยง ความเชื่อ. ว.วิจัยระบบสาธารณสุข 2553; 4(3): 332-336.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05