การประเมินผลการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
คำสำคัญ:
การประเมินผล, ผลการให้บริการรักษาพยาบาล, ผู้ป่วยโรคเบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยประเมินผลขณะดำเนินการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทปัจจัยนำเข้ากระบวนการผลการดำเนินการเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลและระยะเวลารับบริการของผู้ป่วยโรคเบาหวานกับความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อการรับบริการรักษาพยาบาลปัญหาอุปสรรคของผู้มารับบริการและเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการที่คลินิกโรคเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้ากลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมดจำนวน 18 คนและผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 400 คนซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือ แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูลการรักษาพยาบาล และระยะเวลาในการรับบริการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์–กรกฎาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Independent t-test/ ANOVA ที่ค่าความเชื่อมั่น 0.05
ผลการศึกษาพบว่าในการประเมินบริบทผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการร้อยละ 57.0 มีความเชื่อมั่นต่อการรักษาพยาบาลในระดับปานกลางรองลงมาคือระดับสูงร้อยละ 34.8 ในเรื่องปัจจัยนำเข้าพบว่าร้อยละ 11.1 ยังไม่มีความพร้อมของเครื่องมือร้อยละ 27.8 บุคลากรยังไม่เพียงพอ (ควรเพิ่มแพทย์พยาบาลและเจ้าหน้าที่ต่างๆ) ร้อยละ 22.2 เจ้าหน้าที่ยังขาดศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยในบางเรื่องส่วนในเรื่อง กระบวนการพบว่าเวลาในการรักษาพยาบาล 4–4.59 ชั่วโมงร้อยละ 41.6 รองลงมาใช้เวลา 3–3.59 ชั่วโมง ร้อยละ 35.1 (ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 4 ชั่วโมง 13 นาที) สำหรับผลการดำเนินการพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.0 มีพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับปานกลาง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพียงร้อยละ 20.2 มีความพึงพอใจต่อการรับบริการรักษาพยาบาลในระดับสูงร้อยละ 64.0 รองลงมามีความพึงพอใจ ในระดับปานกลางร้อยละ 32.5 ส่วนเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจต่อการให้บริการรักษาพยาบาลในระดับปานกลางร้อยละ 55.6 รองลงมาพึงพอใจสูงร้อยละ 38.8 ทั้งนี้เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สิทธิในการรักษาพยาบาลและระยะเวลารับบริการที่แตกต่างกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อความพึงพอใจในการรับบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานมีปัญหาอุปสรรคต่อการรับบริการในเรื่องจำนวนบุคลากรผู้ให้บริการมีน้อยและความสุภาพของการพูดจาร้อยละ 7.0 และ 4.3 ตามลำดับส่วนเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการมีปัญหาอุปสรรคในเรื่องสถานที่คับแคบการทำหน้าที่ของผู้ให้บริการตามจุดต่างๆ ไม่สอดคล้องกันรอคอยเจาะเลือดนานและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยร้อยละ 16.7, 11.1, 11.1 และ 11.1 ตามลำดับ
สรุป ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับปานกลางควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้น้อยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการรับบริการในระดับสูงซึ่งความพึงพอใจดังกล่าวไม่มีความแตกต่างกันตามลักษณะเพศอายุสถานภาพสมรสระดับการศึกษาอาชีพรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสิทธิในการรักษาพยาบาลและระยะเวลารับบริการที่แตกต่างกันส่วนเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจต่อการให้บริการรักษาพยาบาลในระดับปานกลางเป็นส่วนมาก
References
2. ทินกร ศีรษภูมิ. การพัฒนาระบบบริการโรคเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจังหารจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2550; 2(1): 106-114.
3. บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. การบริการพยาบาลในยุคศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
4. โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. สมุทรสงคราม : โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า; 2558.
5. Yamanae, Taro. Statistics : An Introductory Analysis. London: John Weather Hill; 1967.
6. สมจิต หนุเจริญกุล. การดูแลตนเอง: ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.
7. Beckie T. A supportive-educative telephone program: impact on knowledge and anxiety after coronary artery bypass graft surgery. Heart Lung 1989; 18: 46-55.
8. Rice, R. Telecaring in home care: Making a telephone visit. Geriatric Nursing 2000; 21(1): 56-57.
9. ภรณีนนท์ ธนสิน, สมศรี เนติรัฐกร, โสพิน ศรีสมโภชน์. พฤติกรรมการดูแลตนเองและความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าจังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานวิจัย. 2557.
10. Hostutler, J.J, Taft, S.H., &Synder,C. Patient needs i the Emergency Department Nurses and Patients Perceptions. Journal of Nursing Administration 1999; 29(1): 43-50.
11. Srinivasan, A. V. Managing a modern hospital. New Delhi: A Division of Sage India (P); 2000 .
12. Kunders, G. D. Hospital–planning, design and management. New Delhi: Tata Mc Graw-Hill; 1998.
13. Kurata, J., Nogawa, A., Phillips, D., Hoffman, S., &Werblum, M. Patient and provider satisfaction with medical care. Journal of Farmacal Practices 1992; 35: 176-179.
14. ธนินท์ รัฐรัตนพงศ์ภิญโญ, เสาวลักษณ์ เจียวพ่วง. ความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการของแผนกผู้ป่วยนอกกรณีศึกษา: โรงพยาบาลโพธาราม. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2551.
15. สุณีรัตน์ คัคนานตดิลก. การประเมินผลการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเกาะสมุย. รายงานวิจัย. 2559.
16. เขมจิรา พุ่มกาหลง. ความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลปทุมธานี. [การค้นคว้าแบบอิสระ].ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2553.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร