อุบัติเหตุที่มีภาวะคุกคามชีวิตขณะส่งต่อในรถพยาบาลเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา นาที โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ, ภาวะคุกคามชีวิต, ระบบส่งต่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มีภาวะคุกคามชีวิตขณะส่งต่อในรถพยาบาลเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดอุดรธานี วิธีการเก็บข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติให้การพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุขณะส่งต่อในเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดอุดรธานีจำนวนทั้งสิ้น 93 ทีมและผู้ป่วยอุบัติเหตุจำนวน 93 รายทำการศึกษาตั้งแต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ส่วนดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาลและผู้ป่วยอุบัติเหตุ 2) แบบบันทึกแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มีภาวะคุกคามชีวิต 3) แบบประเมินความพึงพอใจในของพยาบาล 4) แบบทดสอบความรู้การจัดการการช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิตผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านและหาค่าความเชื่อมั่น โดยการใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าเครื่องมือส่วนที่ 2, 3, 4 เท่ากับ 0.90, 0.80, 0.92 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Excel 2007 ใช้สถิติการแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา ข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ 93 ทีมจำนวน 162 คนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 88.89 มีประสบการณ์การทำงานในระบบส่งต่อมากกว่า 5 ปีร้อยละ 65.43 ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ที่ตึกอุบัติเหตุฉุกเฉินร้อยละ 38.87 ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยอุบัติเหตุ 93 รายส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 78.49 กลุ่มอายุ 36-50 ปีพบมากที่สุด ร้อยละ 19.35 การวินิจฉัยส่วนใหญ่คือ traumatic brain injury ร้อยละ 54.84 รองลงมา Multiple injury ร้อยละ 23.66 เวลาที่สิ้นสุดการช่วยชีวิตณจุดเกิดเหตุเฉลี่ย 15.02 นาทีระยะเวลาในการช่วยชีวิตเฉลี่ย 47.40 นาทีระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ในห้องฉุกเฉิน 79.75 นาทีถูกส่งต่อมายังโรงพยาบาลอุดรธานี ร้อยละ 100 และไม่มีการเสียชีวิตในระหว่างนำส่งความพร้อมของทีมสามารถปฏิบัติตามแนวการจัดการช่วยชีวิตได้ครบถ้วน 84 ทีมคิดเป็นร้อยละ 90.32 ผลการปฏิบัติตามแนวการจัดการช่วยชีวิต 10 นาทีแรกที่จุดช่วยชีวิตภาพรวมพบว่าทีมระบบส่งต่อยังไม่มีความชัดเจนในการมอบหมายหน้าที่พยาบาลคนที่ 1 ปฏิบัติไม่ครบ คือการประเมินชีพจร, Capillary refill time และการถอดเสื้อผู้ป่วยเพื่อประเมินการบาดเจ็บและการให้ความอบอุ่นหลังประเมินเสร็จส่วนที่ไม่ได้ปฏิบัติมากที่สุดคือการเตรียมอุปกรณ์/ช่วยทำหัตถการทางการบาดเจ็บส่วนพยาบาลคนที่ 2 ปฏิบัติได้แต่ไม่ครบคือการประเมินร่องรอยและการซักประวัติการบาดเจ็บระดับความพึงพอใจเฉลี่ยของพยาบาลวิชาชีพในระบบส่งต่ออยู่ในระดับมากที่สุด ( Χ= 4.20, S.D. 0.60) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีคะแนนสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุดคือการมีแนวปฏิบัติกับผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่อยู่ในภาวะคุกคามชีวิตเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ ( Χ= 4.31, S.D. = 0.71) ความรู้ของพยาบาลวิชาชีพในระบบส่งต่อในภาพรวมคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( Χ= 10.45, S.D. = 1.52)

References

1. World Health Organization.Global report on road . [Internet]. 2015 [cited 2015 Aug 27] Available from: http://www.who.int/violence_injury_prevention/road_safety_status/2013/en/.
2. สมชาย กาญจนสุต. การรักษาพยาบาลณจุดเกิดเหตุ. กรุงเทพฯ:แอลพีเพรส; 2546.
3. ส่งศรี กิติรักษ์ตระกูล. มาตรฐานการพยาบาลในชุมชน.กรุงเทพฯ:กองการพยาบาลสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2536.
5. Edwards, S. Haemodynamic disturbances. Principlesand Practice of Trauma Nursing. United Kingdom; University of Edinburgh: 2005.
6. Kelley, D. M. Hypovolemic shock: An overview. Critical Care Nursing Quarterly 2005;28 (1): 2-19.
7. Jones, L. O. Chest trauma. Anaesthesia and Intensive Care Medicine 2005; 6(9): 310- 312,
8. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล. [อินเตอร์เน็ต].2558 [เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.niems.go.th/th/ Upload/File/255712081158472567_mCQK5PohDF138Ds3.pdf.
9. ศูนย์รับส่งต่อโรงพยาบาลอุดรธานี. ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจังหวัดอุดรธานี.อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2558.
10. กรองได อุณหสูตและเครือข่ายพยาบาลอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย. ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่อยู่ในภาวะคุกคามชีวิตในการจัดการช่วยชีวิตในห้องฉุกเฉิน.กรุงเทพฯ: ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.
11. พนอ เตชะอธิก. ผลการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่หน่วยผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2554; 34(3): 65-74.
12. ไชยยุทธ ธนไพศาล.การดูแลผู้บาดเจ็บที่ห้องฉุกเฉิน.ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05