การเพิ่มประสิทธิภาพในการประเมินผลการปฏิบัติราชการรายบุคคลของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, แบบประเมินผลการปฏิบัติราชการบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรโรงพยาบาลหนองบัวลำภู
รูปแบบการศึกษา: สำรวจความคิดเห็นหัวหน้าหน่วยงานและเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการลูกจ้างประจำพนักงานราชการพนักงานกระทรวงสาธารณสุขลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน/รายวัน 2 ปีย้อนหลัง (ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2559) นำมาวิเคราะห์และออกแบบระบบโดยการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการเพื่ออำนวยความสะดวกและลดระยะเวลาในการจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการ
ผลการศึกษา: หัวหน้าหน่วยงานของโรงพยาบาลหนองบัวลำภูจำนวน 40 หน่วยงานได้ใช้เครื่องมือในการจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรโรงพยาบาลหนองบัวลำภูมีจำนวนทั้งสิ้น 805 ราย แยกตามประเภทบุคลากรออกเป็น 5 ประเภทได้แก่ข้าราชการจำนวน 341 รายลูกจ้างประจำ 30 ราย พนักงานราชการจำนวน 26 ราย พนักงานกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 307 รายและลูกจ้างชั่วคราว (รายเดือน/รายวัน) จำนวน 103 ราย ผลปรากฏว่าหัวหน้าหน่วยงานมีความสะดวกในการจัดทำแบบประเมินและส่งแบบประเมินฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนดคิดเป็นร้อยละ 100 แบบประเมินมีความถูกต้องครบถ้วน ร้อยละ 100 ระยะเวลาในการจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการรายบุคคลลดลงไม่เกิน 10 นาที/ราย ร้อยละ 100
สรุป: การใช้เครื่องมือในการจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู มีความสะดวกรวดเร็วขึ้นและลดระยะเวลาในการจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการแต่การใช้เครื่องมือดังกล่าวเป็นการเริ่มใช้ครั้งแรกในการประเมินรอบที่ 2 (1 เม.ย.59 – 30 ก.ย.59) ดังนั้นหากหัวหน้าหน่วยงานต้องการเพิ่มตัวชี้วัดรายบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในเครื่องมืออาจจะเกิดความยุ่งยากซับซ้อนและเสียเวลาในการแก้ไขได้ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่าการออกแบบเครื่องมือควรมีรายละเอียดข้อมูลตัวชี้วัดรายบุคคลที่ถูกต้องครบถ้วนของทุกหน่วยงานก่อนนำไปใช้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการขอเพิ่มหรือแก้ไขรายละเอียดต่างๆขณะจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการรายบุคคลในรอบต่อไป
References
2. ประสิทธิผล (Effectiveness). [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2559].เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedai.org/wikii/ประสิทธิผล
3. การประเมินผลการปฏิบัติงาน [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2559].เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedai.org/wikii/การประเมินผลการปฏิบัติงาน
4. วิทยา คู่วิรัตน์. การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนคาทอลิกอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร.[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
5. พรเทพ รู้แผน. การพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์].กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2546.
6. สมคิด พรมจุ้ย. การพัฒนาระบบการประเมินตนเองสำหรับศูนย์ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนระดับอำเภอ. [วิทยานิพนธ์].กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2534.
7. อาภรณ์ เจียมไชยศรี. การพัฒนาระบบประสิทธิผลองค์การสำหรับวิทยาลัยครู.[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2538.
8. กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี. รายงานผลการประเมินความพึงพอใจต่อระบบบริหารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี:วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี; 2553
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร