ผลการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ (คปสอ.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โดยใช้เกณฑ์การประเมินผลแบบติดดาว (คปสอ.ติดดาว และรพ.สต.ติดดาว) จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ ฮวดหลี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

การประเมินผล, ระบบสุขภาพระดับอำเภอติดดาว, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบผลการประเมินโดยใช้เกณฑ์การประเมินคปสอ.ติดดาวและรพ.สต.ติดดาวที่ประยุกต์โดยเขตสุขภาพที่ 8 ปี 2557 และ 2558 และ 2) ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นการวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณโดยวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิและวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม

ผลการศึกษาพบว่าจังหวัดอุดรธานีผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ (คปสอ.ติดดาว) 5 ดาวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.0 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 35.5 ในปี 2558 เมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่าปี 2557 และ 2558 เกณฑ์กระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ 5 ประเด็น (UCARE) มีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการให้บริการสุขภาพตามบริบทที่จำเป็น (E : Essential) Χ= 86.0, SD = 8.20 ในปี 2557 และΧ= 91.8, SD = 7.81 ในปี 2558 ผลการประเมินตามเกณฑ์ทุกตัวชี้วัดมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ส่วนการประเมินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต. ติดดาว) พบว่ารพ.สต. ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับ 5 ดาวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.9 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 35.5 ในปี 2558 รายประเด็นพบว่าในปี 2557 และปี 2558 ประเด็นที่มีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการดำเนินงานข้อมูลข่าวสารรพ.สต. 3 ดี, (บรรยากาศดีการบริการดีและระบบบริหารดี), Healthy work place 5 ส, เปรียบเทียบคะแนนผลการประเมินในปี 2557 และ2558 พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) คือ เกณฑ์รพ.สต. 3 ดี Healthy work place 5 ส, Primary care award ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดและงานข้อมูลข่าวสารปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอคือผู้บริหารมีวิสัยทัศน์มีภาวะผู้นำมุ่งเน้นการทำงานที่เชื่อมโยงและสร้างสัมพันธภาพผู้เกี่ยวข้องส่วนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคือการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่เจ้าหน้าที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพโดยทีมพี่เลี้ยงที่เป็นสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลการประเมินผลแบบ Coaching และทำงานเป็นเครือข่าย

References

1. กระทรวงสาธารณสุข, จุดเปลี่ยนระบบสุขภาพไทยหลังปี 2015. การประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2558. วันที่ 14-16 กันยายน พ.ศ. 2558; โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้จอมเทียน.นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สาธารณสุข; 2558.
2. United Nations. Transforming our world: the 2030 Agenda for Sustainable Development: URL; http://www.un.org/ga/search /view_doc.asp.
3. กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณพ.ศ. 2558. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2558.
4. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือการพัฒนาระบบงานศูนย์สุขภาพชุมชนเพื่อให้ได้เกณฑ์มาตรฐาน
กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2550.
5. WHO. Monitoring the Building Blocks of Health System. Handbook of Indicators And Their Measurement Strategies . Geneva Switzerland: Printed by the WHO Document Production Services; 2010.
6. สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8. เกณฑ์การประเมินระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ (คปสอ. ติดดาว) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.ติดดาว).อุดรธานี: โรงพิมพ์ชัชวาลบริการ; 2557.
7. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. แผนยุทธศาสตร์และนโยบายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข; 2557.
8. สำนักบริหารการสาธารณสุขสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ (รสอ.) Distric Health System (DHS) ฉบับประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุข; 2557
9. พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) เขตบริการสุขภาพที่ 8. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558;4: 696-707.
10. สุรีย์ภรณ์ เลิศวัชรสกุล, สุทธิพร ชมภูศรี. กระบวนการบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System: DHS) อย่างเป็นเอกภาพ จังหวัดพะเยา. พะเยา: กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา; 2556.
11. โศรตรีย์ แพน้อยและคณะ.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของหน่วยบริการปฐมภูมิตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนของสาธารณสุขเขต 6. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2555;22: 49-63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05