ประสิทธิผลการใช้ MEWS (SOS Score) ต่อการเกิด Severe Sepsis and Septic Shock ในผู้ป่วย Sepsis กลุ่มงานอายุรกรรมโรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
แนวทางการใช้ MEWS (SOS Score), ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิด Severe Sepsis and Septic Shockในผู้ป่วย Sepsisบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้ Modified Early Warning Score (MEWS) หรือเรียกว่า SOS Score และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด Severe Sepsis and Septic Shock ในผู้ป่วยSepsis กลุ่มงานอายุรกรรมโรงพยาบาลอุดรธานี
วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ไปข้างหน้า (Prospective analytical study) กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่มีแหล่งติดเชื้อและมีการตรวจพบอีกสองข้อในสี่ข้อได้แก่ (1) มีไข้มากกว่า 38 ๐C หรือต่ำกว่า 36 ๐C (2) หายใจมากกว่า 20 ครั้งต่อนาที (3)หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 90 ครั้งต่อนาที (4)ตรวจพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า12,000 เซล/ลบ.มม. หรือน้อยกว่า 4,000 เซล/ลบ.มม.โดยไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Severe Sepsis and Septic Shock ตั้งแต่แรกรับประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในกลุ่มงานอายุรกรรมโรงพยาบาลอุดรธานีระหว่างวันที่ 1 มิถุนายนถึง 31 กรกฎาคม 2558 คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 205 คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่แนวทางปฏิบัติ SOS Score และแบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วนคือข้อมูลภาวะ Sepsis ข้อมูลทั่วไปข้อมูลการปฏิบัติตามแนวทาง SOS Score และข้อมูลภาวะ Severe Sepsis and Septic Shock เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ประเมิน/สังเกตกลุ่มตัวอย่างและตรวจสอบเวชระเบียนผู้ป่วยในวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สถิติวิเคราะห์ Fisher’s Exact Test โดยค่าความเชื่อมั่นที่ 0.05
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 205 รายเป็นเพศชายร้อยละ 51.2 อายุเฉลี่ย 57 ปีมีลักษณะของSIRS อุณหภูมิกายมากกว่า 38 ๐C หรือต่ำกว่า 36 ๐C ชีพจรมากกว่า 90 ครั้ง/นาทีหายใจมากกว่า 20 ครั้ง/นาที เม็ดเลือดขาว 12,000 cell/mm3 หรือน้อยกว่า 4,000 cell/mm3 ร้อยละ 97.6, 83.9, 33.2 และ 42.0 ตามลำดับ แหล่งติดเชื้อเกิดจากการติดเชื้อของปอดและทางเดินปัสสาวะร้อยละ 41 และ 15.1 ตามลำดับมีโรคร่วมเบาหวานและไตวายเรื้อรังร้อยละ 34.1 และ 18.0 ตามลำดับปฏิบัติตามแนวทาง SOS Score ร้อยละ 55.6 และเกิด Severe Sepsis and Septic Shock ร้อยละ 12.2 และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการเกิด Severe Sepsis and Septic Shockในผู้ป่วย Sepsis พบว่าการปฏิบัติตามแนวทาง SOS Score และผู้ป่วยมีโรคร่วมเบาหวานมีความสัมพันธ์กับการเกิด Severe Sepsis and Septic Shock ในผู้ป่วย Sepsis อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000 และ p=0.000 ตามลำดับ) ส่วนตัวแปรอื่นๆไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิด Severe Sepsisand Septic Shock ในผู้ป่วย Sepsis
สรุป: ควรส่งเสริมให้มีการใช้แนวทางการปฏิบัติ MEWS (SOS Score) อย่างต่อเนื่องและขยายการใช้ไปในหน่วยงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีไข้มากกว่า 38 ๐C หรือต่ำกว่า 36 ๐C หัวใจเต้นมากกว่า 90 ครั้งต่อนาทีจะต้องได้รับการประเมิน/เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและให้การดูแลรักษาตามมาตรฐานเพื่อให้สามารถประเมินและช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงทีป้องกันการเกิด Severe Sepsis and Septic Shock
References
2. โลหิตเป็นพิษ (2557). [เข้าถึงเมื่อ 23 เมษายน 2558] เข้าถึงได้จาก http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/sepsis.html
3. R Champunot et al. 2012. Saving 500 Live Campaign:another way to improve the mortality rate of patients with severe sepsis and septic shock. Crit Care. 2012; 25:857 – 867. doi: 10.1186/cc11792.2012.11.005. [PubMed] [Cross Ref].
4. วัชระ ก้อนแก้วและคณะ.การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงโรงพยาบาลโพธาราม; 2552. [เข้าถึงเมื่อ 23 เมษายน 2558] เข้าถึงได้จาก http://www.photharamhosp.go.th
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร