การพัฒนาระบบการบริจาคอวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ศศิพินทุ์ มงคลไชย โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ชื่น อินลา โรงพยาบาลอุดรธานี
  • อำนวยพร นามมัน โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, การบริจาคอวัยวะ, ผู้ป่วยสมองตายการ, ปลูกถ่ายอวัยวะ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยสมองตายในโรงพยาบาลอุดรธานี และศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาระบบการบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยสมองตายโดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R & D) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่การสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการการออกแบบการพัฒนาการวิจัยเชิงทดลองและการประเมินผลกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงได้แก่ผู้บริหารและทีมสหวิชาชีพ 15 คนพยาบาลระดับปฏิบัติการ 30 คนบุคคลสำคัญในครอบครัวผู้ป่วยสมองตาย 30คนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอุดรธานีตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยคู่มือแนวทางปฏิบัติการรับบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยสมองตายและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติตามคู่มือแนวทางปฏิบัติการรับบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยสมองตาย 3) แบบสอบถามความพึงพอใจบุคคลสำคัญในครอบครัวผู้ป่วยสมองตายและ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจผู้ให้บริการซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.90 และ 0.87 ตามลำดับ และ 5) แบบเก็บข้อมูลประสิทธิภาพการรับบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยสมองตายวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ค่าเฉลี่ยร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่าการพัฒนาระบบการบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยสมองตายโรงพยาบาลอุดรธานีที่พัฒนาขึ้นโดยทีมสหวิชาชีพทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการดูแลครอบคลุมองค์รวมผลลัพธ์พบว่าความพึงพอใจของบุคคลสำคัญในครอบครัวผู้ป่วยสมองตายโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( Χ=4.76, SD 0.498), ความพึงพอใจของผู้ให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( Χ=4.77, SD 0.565), พฤติกรรมการปฏิบัติของพยาบาลตามคู่มือแนวทางปฏิบัติโดยรวมร้อยละ 67.94 ผู้ป่วยสมองตายบริจาคอวัยวะร้อยละ 63.33 และสามารถนำอวัยวะสำคัญไปปลูกถ่ายได้ร้อยละ 89.47

สรุป การพัฒนาระบบการบริจาคอวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะโรงพยาบาลอุดรธานีทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้รับบริการดังนั้นควรนำระบบดังกล่าวไปกำหนดเป็นนโยบายในการรับบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยสมองตายเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทยต่อไป

References

1. วิศิษฏ์ ฐิตวัฒน์. คู่มือการดูแลผู้บริจาคอวัยวะที่มีภาวะสมองตายและประสานงานการปลูกถ่ายอวัยวะ. ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย. กรุงเทพมหานคร: สภากาชาดไทย; 2556.
2. ดวงตา อ่อนสุวรรณและคณะ. คู่มือปฏิบัติงานการรับบริจาคอวัยวะ. พิมพ์ครั้งที 1. นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุขสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2556.
3. เกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์. รายงานข้อมูลการปลูกถ่ายอวัยวะประจำปี 2555. สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทยกรุงเทพมหานคร: กรุงเทพเวชสาร; 2556.
4. วิศิษฏ์ ฐิตวัฒน์. รายงานประจำปี 2550. ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย. กรุงเทพมหานคร: สภากาชาดไทย; 2551.
5. ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯโรงพยาบาลอุดรธานี. รายงานการรับบริจาคอวัยวะประจำปี 2552. โรงพยาบาลอุดรธานี: อุดรธานี; 2552.
6. ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯโรงพยาบาลอุดรธานี. รายงานการรับบริจาคอวัยวะประจำปี 2556. โรงพยาบาลอุดรธานี: อุดรธานี; 2556.
7. ไชยยศ เรืองสุวรรณ. ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร; 2553.
8. นงพรรณ พิริยานุพงศ์. คู่มือวิจัยและพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: มายด์พับลิชชิ่ง; 2546.
9. Lai L. Barriers to organ donation in Thailand. Public Service Scholars Program. Stanford: Stanford University; 2012.
10. ดุษฏี ทองศิริและเอื้องฟ้า สิงห์ทิพย์พันธุ์. ผลของการพัฒนานโยบายการรับบริจาคอวัยวะและการปลูกถ่ายไตของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2553-2554. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า; 2555

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05