ผลการรักษาภาวะไส้ติ่งอักเสบโดยการใช้ Alvarado score ใน โรงพยาบาลขอนแก่น
คำสำคัญ:
ผลการรักษา, ไส้ติ่งอักเสบ, Alvarado scoreบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาภาวะไส้ติ่งอักเสบโดยการใช้หรือไม่ใช้ Alvarado score
วิธีการวิจัย: การวิจัยแบบ Retrospective cohort ในโรงพยาบาลขอนแก่นระหว่างเดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม 2560 โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นไส้ติ่งอักเสบอายุมากกว่า 14 ปี กลุ่มผู้ป่วย ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 ผู้ป่วยที่ไม่ใช้ Alvardo score เทียบกับกลุ่ม 2 ผู้ป่วยที่ใช้ Alvarado score ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะไส้ติ่งอักเสบ
ผลการวิจัย: ระหว่างเดือนกันยายน ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ 116 ราย เป็นเพศชาย 62 ราย (ร้อยละ 53.5) เพศหญิง 54 ราย (ร้อยละ 46.5) ผู้ป่วย 44 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.9 มาโรงพยาบาลขอนแก่นเอง อีก 72 ราย (ร้อยละ 62.1) ถูกส่งต่อมาจากต่างโรงพยาบาลอื่น ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวร่วมด้วย 31 ราย (ร้อยละ 26.7) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาโรงพยาบาลหลังมีอาการปวดท้องประมาณ 17 ชั่วโมง (มัธยฐาน 17, พิสัย 2-84 ชั่วโมง) ผู้ป่วย 82 ราย คิดเป็น ร้อยละ 70.7 ไม่ได้รับการประเมินด้วย Alvarado score ก่อนได้รับการผ่าตัด ผู้ป่วย 34 ราย (ร้อยละ 29.3) ได้รับการประเมินโดยแพทย์ที่ห้อง ตรวจแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลขอนแก่น ก่อนมีการปรึกษาศัลยแพทย์ โดยมีค่าคะแนน Alvarado ระหว่าง 3-9 (เฉลี่ย 6) ผู้ป่วย 1 รายเป็น caccal diverticulitis พบในกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ Alvarado score ไม่พบการวินิจฉัยผิดในกลุ่มที่มีการใช้ Alvarado score ระยะเวลาตั้งแต่การตรวจที่ห้องฉุกเฉินถึงเวลาการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบในกลุ่มที่ไม่มีการใช้ Alvarado score เฉลี่ย 8.10 ชั่วโมง (พิสัย 1 - 86.3 ชั่วโมง) ในกลุ่มที่มีการใช้ Alvarado score เฉลี่ย 7.7 ชั่วโมง (1.3 - 22.1 ชั่วโมง) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลโดยเฉลี่ย 3 วัน ทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
สรุปผลการวิจัย: Alvarado score สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยในการวินิจฉัยภาวะไส้ติ่งอักเสบ สามารถลดอัตราการนอนเตียงและระยะเวลาจากการตรวจคัดกรองจนถึงห้องผ่าตัดได้ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
References
2. Fitz RH. Perforating inflammation of the vermiform appendix with special reference to its early diagnosis and treatment. Am J Med Sci 1886; 92:321.
3. Addiss DG, Shaffer N, Fowler BS, Tauxe RV. The epidemiology of appendicitis and appendectomy in the United States. Am J Epidemiol 1990; 132:910.
4. Jaschinski T, Mosch C, Eikermann M, Neugebauer EA. Laparoscopic versus open appendectomy in patients with suspected appendicitis: a systematic review of metaanalyses of randomised controlled trials. BMC Gastroenterol 2015; 15:48.
5. Smink D, Soybel D. Management of acute appendicitis in adult. [Internet] uptodate. [cited on 1 February 2018]
6. Bhangu A, Sreide K, Di Saverio S, et al. Acute appendicitis: modern understanding of pathogenesis, diagnosis, and management. Lancet 2015; 386:1278.
7. Clinical tracer of Appendicitis in Khon Kaen Hospital, surgical PCT, April 2016.
8. Bundy DG, Byerley JS, Liles EA, et al. Does this child have appendicitis? JAMA 2007; 298:438.
9. Samuel M. Pediatric appendicitis score. J Pediatr Surg 2002; 37:877.
10. Kharbanda AB, Taylor GA, Fishman SJ, Bachur RG. A clinical decision rule to identify children at low risk for appendicitis. Pediatrics 2005; 116:709.
11. Alvarado A. A practical score for the early diagnosis of acute appendicitis. Ann Emerg Med 1986; 15:557.
12. Pogoreli Z, Rak S, Mrkli I, Juri I. Prospective validation of Alvarado score and Pediatric Appendicitis Score for the diagnosis of acute appendicitis in children. PediatrEmerg Care 2015; 31:164.
13. Ohle R, O’Reilly F, O’Brien KK, Fahey T, Dimitrov BD. The Alvarado score for predicting acute appendicitis: a systematic review. BMC Med. 2011;9:139. Epub 2011 Dec 28.
14. Yuksel Y, Dinc B, Yuksel D, Dinc SE, Mesei A. How reliable is the Alvarado score in acute appendicitis? Ulus Travma Acil Cerrahi Derg 2014 Jan;20(1):12-8.
15. Limpawattanasiri C, Alvarado score for the acute appendicitis in a provincial hospital. J Med Assoc Thai. 2011 Apr;94(4):441-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร