ความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ของผู้สูงอายุ ในอำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ความรู้, พฤติกรรมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล, ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้และพฤติกรรมการใช้ยา NSAIDs อย่างสมเหตุผลของผู้สูงอายุ 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้และพฤติกรรมการใช้ยา NSAIDs อย่างสมเหตุผลของผู้สูงอายุในอำเภอทุ่งฝนจังหวัดอุดรธานีประชากรคือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอทุ่งฝนจังหวัดอุดรธานีในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2560ที่เคยใช้ยา NSAIDs โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 50 คนใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลซึ่งประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลความรู้และพฤติกรรมการใช้ยา NSAIDs วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและใช้โปรแกรม SPSS version 16 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่อระดับความรู้และพฤติกรรมการใช้ยา NSAIDs โดยใช้สถิติ Chi-Square
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 50 คนส่วนใหญ่มีอายุ 60-69 ปี (ร้อยละ 58) ระดับความรู้โดยรวมในการใช้ยา NSAIDs อยู่ในระดับปานกลาง x(SD)=2.50(2.16) มีความรู้มากที่สุดในหัวข้อเวลาในการรับประทานยาNSAIDs (ร้อยละ 66) พฤติกรรมการใช้ยา NSAIDs ส่วนใหญ่สมเหตุผลระดับปานกลาง x(SD)=3.64(1.22) มีพฤติกรรมการใช้ยา NSAIDs สมเหตุผลมากที่สุดในหัวข้อไม่มีการรับประทานยาในกลุ่ม NSAIDs ซ้ำซ้อน (ร้อยละ 94) พบว่าระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ในการใช้ยา NSAIDs อย่างสมเหตุผลของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ ควรส่งเสริมให้ความรู้และพฤติกรรมในการใช้ยา NSAIDs อย่างสมเหตุผลให้กับผู้สูงอายุเพื่อความปลอดภัยจากการใช้ยาและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ
References
2. ปิลันยา พิมพาวะ.จะแก้ความเจ็บปวดอย่างฉับพลันได้อย่างไร.วิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทอร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558; 9: 64-69.
3. มณีรัตน์ จิรัปปภา. การชะลอไตเสื่อมจากวัยผู้ใหญ่ถึงวัยผู้สูงอายุ. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา 2557; 20: 5-16.
4. Koffeman AR, Van AR, Valkhoff VE, T Jong GW, Bindels PJ, Sturkenboom MC, et al. Adverse Drug Reactions in Primary Care Population Prescribed Non-steroidal anti-inflammatory Drugs. Scandinavian Journal of Primary Health Care 2010; 33: 163-169.
5. ถนอมศักดิ์ บุญสู่. การเปลี่ยนแปลงทาง สังคมกับผลกระทบต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุกรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2554.
6. โรงพยาบาลทุ่งฝน. รายงานตัวชี้วัดการใช้ยาสมเหตุผลโรงพยาบาลทุ่งฝน [อินเทอร์เน็ต].อุดรธานี: โรงพยาบาลทุ่งฝน; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2560]. เข้าถึงได้จาก: old.bmhos.com/rdu/send.php
7. Cohen J. A power primer. Psychological Bulletin, 1992;112:155-159.
8. Best JW. Research in Education. 3rded. New Jersey: Prentice hall Inc; 1997.
9. พิสนธิ์ จงตระกูล. การใช้ยาอย่างสมเหตุผลใน primary care. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: หจก. วนิดาการพิมพ์; 2560.
10. อาทิตยา แก้วคำ. ความรู้เจตคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยาแก้ปวดไดโคลฟีแนคของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น; 2557.
11. Phueanpinit P, Pongwecharak J, KrskaJ, Jarernsiripornkul N. Knowledge and perceptions of the risks of non-steroidal anti-inflammatory drugs among orthopedic patients in Thailand. Int J Chin Pharm 2016; 38: 1269-1276.
12. ชื่นจิตร กองแก้ว, อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, ชไมพร การญจนกิจสกุล. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การใช้ยาในผู้สูงอายุไทยในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2557. เลขที่รายงาน RAC56002.
13. สฐากูร มหาวิจิตร. การดูแลสุขภาพตนเองและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลสตูล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต] สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา; 2557.
14. พวงเพชรจันทร์บุตร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.
15. ประภัสสรผิวหอม. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุจังหวัดสุรินทร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต] อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร