ความรู้และทัศนคติของผู้ปกครองเด็กกลุ่มอาการออทิซึมในโรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, ผู้ปกครอง, กลุ่มอาการออทิซึมบทคัดย่อ
บทนำ: กลุ่มอาการออทิซึม (Autism spectrum disorder) เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติทางการพัฒนาการของระบบประสาท โดยมีความบกพร่องของทักษะทางสังคม ร่วมกับความผิดปกติทางพฤติกรรม การดูแลเด็กของผู้ปกครองนั้นมีความยากลำบากจากอาการของโรค ความรู้และทัศนคติที่ดีจะมีผลต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ดี
วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจความรู้และทัศนคติของผู้ปกครองเด็กกลุ่มอาการออทิซึมที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลอุดรธานี และปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และทัศนคติของผู้ปกครอง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional study) โดยใช้แบบสอบถามความรู้และทัศนคติต่อกลุ่มอาการออทิซึม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของเด็กกลุ่มอาการออทิซึมที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลอุดรธานีระหว่าง ธันวาคม 2560 - มีนาคม 2561 สถิติเชิงพรรณา (descriptive analysis) นำเสนอโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนกับปัจจัยต่างๆใช้สถิติ t-test และ One-way anova
ผลการศึกษา : ผู้ปกครองในการศึกษา 40 ราย ผู้ปกครองได้คะแนนส่วนความรู้เฉลี่ย 21.2 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน (ร้อยละ 53) ซึ่งจัดอยู่ในระดับพอใช้ โดยคะแนน ความรู้ด้านสาเหตุและอาการของโรคได้ร้อยละ 47.25 อยู่ในระดับต้องปรับปรุง และความรู้ด้านการรักษาได้ ร้อยละ 58.75 อยู่ในระดับพอใช้ ด้านทัศนคติของผู้ปกครองพบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย 10.85 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.7) จากคะแนนเต็ม 16 คะแนน (ร้อยละ 67.8) จัดอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านศักยภาพครอบครัว ได้คะแนนเฉลี่ย 5.75 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.7) จากคะแนนเต็ม 8 คะแนน (ร้อยละ 71.9) จัดอยู่ในระดับดี การศึกษานี้พบว่าผู้ปกครองที่เคยผ่านการอบรมมีคะแนนรวมมากกว่ากลุ่มที่ไม่ผ่านการอบรมอย่างมีนัยสำคัญ (p-value=0.0362)
สรุป: ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กกลุ่มอาการออทิซึมนั้น มีระดับความรู้อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ประเด็นที่มีความรู้ต่ำถึงระดับต้องปรับปรุงคือ ด้านสาเหตุและอาการของโรค ส่วนด้านทัศนคติต่อโรคอยู่ในระดับปานกลาง ด้านศักยภาพครอบครัวอยู่ในระดับดี การจัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง เป็นวิธีที่จะเพิ่มความรู้ ปรับทัศนคติให้ผู้ปกครองได้เป็นอย่างดี
References
2. American Psychiatric Association. Autism spectrum disorder. In: Diagnostic and statistical manual of mental disorders. Fifth Edition. Arlington, VA: American Psychiatric
Association; 2013.
3. จริยา จุฑาภิสิทธิ์, จุฑามาส วรโชติกำจร. กลุ่มอาการออทิซึม.ใน: ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, บรรณาธิการ. ตำาราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กสำาหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ:บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2554. 324-48.
4. Poolsuppasit S. Holistic Care for Thai Autism. Journal of Mental Health of Thailand 2005; 13: 10-16.
5. Srisinghasongkram P, Pruksananonda C, Chonchaiya W. Two-step Screening of the Modifed Checklist for Autism in Toddlers in Thai Children with language Delay and Typically Developing children. J Autism Dev Disord 2016; 46: 3317-29.
5. Roger SJ. Empyrically supported comprehensive treatment for young children with autism. J Clin Child Psychol 1998; 27: 167-78.
6. แก้วตา นพมณีจำารัสเลิศ, อินทร์สุดา แก้วกาญจน์. กระบวนทัศน์ใหม่ การดูแลเด็กออทิสติกสำหรับกุมารแพทย์. ว.กุมารเวชศาสตร์ 2560; 56(1): 6-15.
7. Charnsil C, Sriapai P. Attention deficit hyperactivity symptoms in children with autistic disorder: A cross-sectional descriptive study. J Med Assoc Thai 2011; 94: 231-4.
8. Ponde MP, Novaes CM, Losapio MF. Frequency of symptoms of attention deficit and hyperactivity disorders in autistic children. Arq Neuropsiquiatr 2010; 68: 103-6.
9. Pornnoppadol C. Piyasin V, Katumarn P, editors. Child and adolescent psychiatry: Autism and the pervasive developmental disorders. Bangkok: Beyond Enterprise; 2013: p.142.
10. Leyser Y, Kirk R. Evaluating Inclusion: An examination of parent views and factors influencing their perspectives. Int J Disabil Dev Educ 2004; 51: 271-85.
11. สิรินัดดา ปัญญาภาส, กมลวิสาข์ เตชะ พูลผล, จริยา ทะรักษา, พัชรินทร์ เสรี. ความรู้ และทัศนคติของผู้ปกครองเด็กที่มีภาวการณ์เรียนรู้บกพร่อง. ว.สมาคมจิตแพทย์ 2558; 60(3): 157-69.
12. ศรีเรือน แก้วกังวาล. จิตวิทยาเด็กที่มีลักษณะพิเศษ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2548.
13. ทวิมา ศิริรัศมี. โรคออทิสติก. ใน: ทวิมา ศิริรัศมี, บรรณาธิการ. ปัญหาพัฒนาการที่พบบ่อยในเด็ก. นนทบุรี: พีเอส.พริ้นท์; 2552. 79-94.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร