ผลการรักษาภาวะกระดูกหน้าแข้งหักไม่เชื่อมต่อและติดเชื้อด้วย Ilizarov ring fixator ที่โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุรเชษฐ ตันทัดประเสริฐ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

Ilizarov ring fixator, ภาวะกระดูกหน้าแข้งไม่เชื่อมต่อและติดเชื้อ, ยึดกระดูก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : ภาวะกระดูกหน้าแข้งหักไม่เชื่อมต่อและติดเชื้อที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเอากระดูกที่ติดเชื้อและตายออก, ยึดตรึงกระดูกด้วยโลหะภายนอกโดยเทคนิคของIlizarovซึ่งจะกระตุ้นกระดูกที่ไม่ติดด้วยการอัดช่องกระดูกหักผ่าน ring fixator (Monofocal compression) และหากกระดูกที่ถูกตัดออกมีปริมาณมากจะต้องยืดกระดูกด้วยการผ่าตัดเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างกระดูกใหม่ทดแทนพร้อมกับการอัดช่องกระดูกหักไปพร้อมกัน (Bifocal compression-distraction) เนื่องจากการรักษาต้องใช้เวลานานจึงจะปรากฏผลและเป็นการรักษาที่ยังไม่เคยทำการศึกษาในระดับโรงพยาบาลทั่วไปงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการผ่าตัดIlizarov ring fixator ในการรักษาภาวะกระดูกหน้าแข้งหักไม่เชื่อมต่อและติดเชื้อณโรงพยาบาลอุดรธานี

วิธีดำเนินการวิจัย : ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกหน้าแข้งหักไม่เชื่อมต่อและติดเชื้อจำนวน 11 รายเป็น ชาย 10 รายหญิง 1 รายอายุเฉลี่ย 34.81 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 17.58) ที่ได้รักษาด้วยการผ่าตัดเอากระดูกตายออกและใส่ Ilizarov ring fixator ที่โรงพยาบาลอุดรธานีระหว่างกรกฎาคม 2556 ถึงมิถุนายน 2560 ศึกษาผลการรักษาประเมินผลลัพธ์ด้านภาพถ่ายรังสีด้าน bone/radiological result และด้านการใช้งาน functional result โดยใช้ Association for the Study and Application of Methods of Ilizarov (ASAMI) criteria และ Numeric rating score (NRS) สำหรับการประเมินความปวดเมื่อเดินลงน้ำหนักหลังถอด Ilizarov ring fixator วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ t-test ในรูปแบบของค่า mean และ standard deviation และใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงผลในรูปจำนวนและร้อยละ

ผลการศึกษา : ผู้ป่วย 10 จาก 11 ราย มีภาวะกระดูกหน้าแข้งหักบกพร่องที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการยืดกระดูกผ่าน Ilizarov ring fixator โดยมีความยาวของกระดูกที่หายไปและต้องยืดเฉลี่ย 71.10 มม. (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 33.51) ทั้ง 11 รายกระดูกเชื่อมต่อโดยใช้เวลาเฉลี่ย 251.45 วัน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 97.06), ผลลัพธ์ตาม ASAMI criteria ในด้าน bone/radiological result ได้ผล Excellent 8 ราย, Good 3 รายในด้าน Functional result ได้ผล Excellent 4 ราย, Good 6 รายและ Fair 1 รายภายหลังการรักษาผู้ป่วยมีระดับความปวดเมื่อเดินลงน้ำหนักหลังถอดIlizarov ring fixator ตาม NRS เฉลี่ย 1.27+0.97 คะแนน

สรุป : การรักษาภาวะกระดูกหน้าแข้งหักไม่เชื่อมต่อและติดเชื้อด้วยการผ่าตัดเอากระดูกที่ติดเชื้อและตายออก, ยึดตรึงกระดูกด้วยการผ่าตัดเทคนิคIlizarov ring fixator ในโรงพยาบาลทั่วไปนั้นเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถืออีกทั้งผู้ป่วยสามารถกลับมาเดินลงน้ำหนักได้โดยปราศจากไม้ค้ำยันโดยที่มีความปวดเพียงเล็กน้อยถึงแม้ผู้ป่วยในการศึกษานี้จะมีภาวะกระดูกหน้าแข้งบกพร่องที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการยึดกระดูกแต่ผลการรักษา ASAMI criteria ได้ผลใกล้เคียงกับการศึกษาอื่น

References

1. Lavelle DG. Delayed union and nonunion of fractures.:Canale ST, ed. Campbell’s operative orthopedics. 9 thed.St.Louis: Mosby; 1998: 2579-629.
2. Phieffer LS, Goulet JA (2006) Delayed unionof tibia (Instructional course lecture). J Bone Joint Surg Am. 88-A , 205-16.
3. Ilizarov GA, Deviator AA, Trokhova VG. Surgical lengthening of the shortened lower extremities. VestnKhirIm II Grek. 1972; 108(2): 100-3.
4. Ring D, Jupiter JB, Gan BS, Israeli R, Yaremchuk MJ. Infected non-union of tibia. Clin Orthop Relat Res 1999; (369): 302-11.
5. Association for the study and application of the methods of ilizarov group (1991) nonunion of the femur, in operative principles of ilizarov fracture treatment, nonunion, osteomyelitis, lengthening, deformity corrections. Maiocchi AB, Aronson J, Editors. Baltimore: Williams and Wilkins; 245-62.
6. Gustilo RB, Anderson JT. Prevention of infection in the treatment of 1025 open fracture of long bones: retrospective and prospective analyses. J Bone Joint Surg AM 1976; 58(4): 453-458
7. Naveed Bashir Wani, Basit Syed. Ilizarov ring fixator in the management of infected non-unions of tibia. SICOT J 2015; 1:22.
8. S. Patil, MBBS, MRCSEd, Clinical research fellow; and R Montgomery, FRCSEd, Consultant Orthopedic Surgeon. Management of complex tibia and femoral nonunion using the ilizarov technique, and its cost implications. J Bone Joint Surg Br 2006; 88(7): 928-32.
9. Dendrinos GK, Kontos S, Lyritsis E. Use of the Ilizarov technique for treatment of non-union of the tibia associated with infection. J Bone Joint Surg Am 1995; 77(6): 835-46.
10. Mohammad Shahid, Abid Hussian, Phillipa Bridgeman, Deepa Bose. Clinical Outcomes of the Ilizarov Method After an Infected Tibial Non Union. Arch Trauma Res 2003; 2(2): 71-5.
11. Higgins TF, Klatt JB, Beals TC. Lower extremity Assessment Project (LEAP) the best available evidence on limb threatening lower extremity trauma. OrthopClin North Am 2010; 41(2): 233-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05