ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมสำหรับมารดาของทารกแรกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
ทารกเกิดก่อนกำหนด, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, พฤติกรรมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มวัดหลังการทดลอง (The Two Group Posttest–Only Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมสำหรับมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลุ่มตัวอย่างคือมารดาของทารกแรกเกิดที่เกิดก่อนกำหนดซึ่งมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,000 กรัมและไม่มีภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอดที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลอุดรธานีตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559ถึงเดือนมีนาคม 2560 จำนวน 30 รายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 15 รายโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงกลุ่มทดลองคือกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมสำหรับมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลของมารดาและทารกคลอดก่อนกำหนดแบบประเมินพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านและตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือในส่วนของแบบสอบถามพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาได้ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาชเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Independent t-test
ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดากลุ่มทดลองมากกว่ามารดากลุ่มควบคุมซึ่งชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการเตรียมความพร้อมสำหรับมารดาของทารกแรกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยมีผลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ส่งผลให้มารดามีความรู้และความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งถือว่าเป็นบทบาทสำคัญของพยาบาลในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพสรุปผลการศึกษาโปรแกรมการเตรียมความพร้อมสำหรับมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีผลให้มารดามีคะแนนพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
References
2. วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์.การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.
3. ภาวิน พัวพรพงษ์. เวชปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่.นนทบุรี: กรมอนามัย; 2559.
4. รายงานประจำปีของหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลอุดรธานีปี 2557
5. รายงานประจำปีของหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลอุดรธานีปี 2558
6. รายงานประจำปีของหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลอุดรธานีปี 2559
7. Ballard JL, Khoury JC, Wedig K, etal:New Ballard Score, expanded to include extremely premature infants. J Pediatrics 1991; 119:417-423.
8. พัชรพร รัตนสงคราม. พฤติกรรมการบีบเก็บน้ำนมในมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนด. (วิทยานิพนธ์).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
9. ธราธิป โคละทัต.การศึกษาอุบัติการณ์อัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนในทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม. กรุงเทพฯ; ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2560.
10. น้ำทิพย์ ทองสว่าง. Nursing role: prevention oxygen toxicity for preterm infants. Update and Practical points in Preterm Care; 2557.
11. พัชราวลัย เวทศักดิ์. บทบาทของพยาบาลในการช่วยเหลือการให้นมแม่ในทารกระยะวิกฤต.กรุงเทพฯ: ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย;2556. 87-90.
12. เพิ่มศักดิ์ สุเมฆศรี. ความก้าวหน้าเสริมความท้าท้ายในเวชปฏิบัติปริกำเนิด.กรุงเทพฯ: สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย;2558.
13. ประสิน จันทร์วิทัน. ใน: สันติ ปุณณะหิตานนท์, บรรณาธิการ.การสื่อสารกับพ่อแม่ของทารกที่เจ็บป่วยขั้นวิกฤต Critical Conditions in Neonates.กรุงเทพฯ: ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่ง
ประเทศไทย;2559. 317-325.
14. มงคล เลาหเพ็ญแสง. การศึกษาความสัมพันธ์ของพังผืดใต้ลื้นกับการดูดนมมารดา.ใน: เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ, อัครินทร์ นิมมานนิตย์, กุลธร เทพมงคล,บรรณาธิการ.เคล็ดไม่ลับ R2R บริบทคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. กรุงเทพฯ:ยูเนี่ยนครีเอชั่น; 2552.67-82.
15. ศิริลักษณ์ ถาวรวัฒนะ. Breast feeding Sick Babies.เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรระยะสั้นการพยาบาลทารกแรกเกิดครั้งที่ 36 สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 2557; เอกสารชุดที่ 10.
16. สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์. ความรู้สู่การปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ Neonatology 2008. กรุงเทพฯ: ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย; 2551.15–45.
17. อรพรรณ โตสิงห์. การดูแลอย่างต่อเนื่องและบทบาทของพยาบาลในยุคปฏิรูประบบสุขภาพ.ใน:วันเพ็ญ พิชิตพรชัย, อุษาวดี อัศตรวิเศษ, บรรณาธิการ. การวางแผนจำหน่าย: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2546.
18. อัจฉรา วงษ์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาต่อการรับรู้ความสามารถในการดูแลและบทบาทในการเป็นมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด. [วิทยานิพนธ์].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.
19. Mattson, S., & Smith, J.E. Care curriculum for maternal – newborn nursing. 2nd ed. Philadelphia: W.B Saunders; 2000.
20. Moore, M.C., Galloway, K.G. Newborn family and nurse. 2nd ed. Philadelphia:W.B Saunders; 1981.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร