การคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลวังสะพุง
คำสำคัญ:
การคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์, เกณฑ์ของ Carpenter และCoustan, IADPSGบทคัดย่อ
บทนำ: การคัดกรองภาวะเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ (Gestational diabetes mellitus; GDM) มีประโยชน์ในการดูแลทั้งมารดาและทารกการใช้เกณฑ์แบบดั้งเดิมของ Carpenter และCoustan จะช่วยพยากรณ์ภาวะเบาหวานหลังการตั้งครรภ์จะทำ 2 ขั้นตอนเลือกกลุ่มเสี่ยงมาทำการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (Oral glucose tolerance test) 100 g OGTT เจาะเลือดตรวจ 4 ครั้งรอประมาณ 3-4 ชั่วโมงส่วนเกณฑ์ของ The International Association of Diabetes and Pregnancy Study Group (IADPSG) ทำ 75 g OGTT ในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายเหลือ 1 ขั้นตอนเจาะเลือดตรวจ 3 ครั้งรอประมาณ 2-3 ชั่วโมงซึ่งจะพบอุบัติการณ์ของภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์สูงกว่าเดิม 3 เท่าซึ่งมีความสัมพันธ์กับทารกตัวโตและคลอดติดไหล่
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์การคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ตามแนวทาง American Diabetic Association (ADA) 2010
วิธีการ: โรงพยาบาลวังสะพุงคัดกรองตามแนวทางของ ADA 2010 คือทำการคัดกรอง 1 หรือ 2 ขั้นตอนโดยนำกลุ่มความเสี่ยงปานกลางมาตรวจ glucose challenge test (GCT) แต่ปรับเกณฑ์ในการนำหญิงตั้งครรภ์มาตรวจ OGTT จากเดิม 140 มก./ดล. เป็น 130 มก./ดล. และปรับจาก 100 g OGTT เป็น 75 g OGTT (2 ขั้นตอน) ส่วนในกลุ่มความเสี่ยงสูงให้คัดกรองด้วย 75 g OGTT และแปลผลตามเกณฑ์ของ IADPSG (1 ขั้นตอน) เพื่อหวังเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองให้ไวขึ้นและได้ดูแลหญิงที่มีภาวะ GDM ได้มากขึ้นใช้ฐานข้อมูลจาก HosXp ประกอบกับการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์เฉพาะส่วนในคลินิกเบาหวานขณะตั้งครรภ์ พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ.2560 ระยะเวลาเก็บข้อมูล 6 ปี จำนวนประชากร 6622 คน นำมาคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ตามความเสี่ยงและนำมาวิเคราะห์และประเมินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
ผลลัพธ์: หญิงตั้งครรภ์อายุเฉลี่ย 28.5 ปี (SD 5.94) อายุเริ่มฝากครรภ์เฉลี่ย 23.18 สัปดาห์ (SD 6.8) หญิงตั้งครรภ์ 6,622 คนได้ GCT หรือ 75 g OGTT 3,542 คนคิดเป็นร้อยละ 53.49 อุบัติการณ์ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ พ.ศ.2554-2560 พบหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลวังสะพุงมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์710 คนคิดเป็นร้อยละ 10.72
บทสรุป: การปรับเกณฑ์การคัดกรอง GDM ตามแบบ ADA 2010 ในโรงพยาบาลวังสะพุงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสืบค้นและระยะเวลารอคอยในการตรวจ [OGTT แบบเดิม (100 g OGTT, รอผล 3-4 ชม.) หรือถ้าเปรียบเทียบกับ Standard IADPSG ที่ต้องคัดกรองทุกคนลดการทำ 75 g OGTT ได้ร้อยละ 46.51]
References
2. สุชยา ลือวรรณ .โรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์. OB GYN CMU [Internet]. 2015 [cited 2015 Feb 23]. Available from http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=1094:2015-02-23-01-52-19&catid=38&Itemid=480.
3. ACOG Practice Bulletin. Clinical management guidelines for obstetrician-gynecologists. Number 30, September 2001. Gestational diabetes. ObstetGynecol2001 Sep; 98(3): 525-38.
4. Donal R. Coustan. Gestational Diabetes. In Maureen IH, Catherine CC, Michael PS, Edward JB, editors. Diabetes of America. 2nd ed. MSC 6600: Bethesda MD; 1995. p. 703-718.
5. Committee opinion no. 504: screening and diagnosis of gestational diabetes mellitus. ObstetGynecol 2011 Sep; 118(3): 751-3
6. Metzger BE, Gabbe SG, Persson B, Buchanan TA, Catalano PA, Damm P, et al. International association of diabetes and pregnancy study groups recommendations on the diagnosis and classification of hyperglycemia in pregnancy. Diabetes Care 2010 Mar; 33(3): 676-82.
7. Houshmand A, Jensen DM, Mathiesen ER, Damm P. Evolution of diagnostic criteria for gestational diabetes mellitus.Acta ObstetGynecolScnd. 2013; 92(7): 739-745.
8. Horvath k, Koch K, Jeitler K, et al Effects of treatment in woman with gestational diabetes mellitus: systemic review and metaanalysis. BMJ. 2010; 340: c1395.
9. Long H, Cundy T. Establishing consensus in the diagnosis of gestational diabetes following HAPO: where do we stand? CurrDiab Rep. 2013; 13(1): 43-50.
10. Yashdeep Gupta, BhartiKalra, Manash P Baruah. Updated guidelines on screening for gestational diabetes. International Journal of Women’s Health 2015; 7: 539–550.
11. Moses RG, Cheung NW. Point: universal screening for gestational diabetes mellitus. Diabetes Care. 2009; 32(7): 1349-1351.
12. American Diabetic Association. Diagnosis and Classification of Diabetes Mellitus.Diabetes Care. 2010; 33: S62-69.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร