การจัดวางระบบควบคุมภายในกรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยปี 2559
คำสำคัญ:
การควบคุมภายใน แนวทาง COSOบทคัดย่อ
การศึกษาการเปรียบเทียบกับระบบควบคุมภายในตามแนวทาง COSO กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการควบคุมภายในของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยตามแนวคิด COSO และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดวางระบบควบคุมภายในของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย
วิธีการศึกษา ได้ทำการศึกษาโดยใช้แนวคิด COSO มาเป็นแนวทางในการศึกษาข้อเท็จจริงในการควบคุมภายในของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 2 แหล่งข้อมูลคือ 1) แหล่งข้อมูลปฐมภูมิซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและบุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย 2) แหล่งข้อมูลทุติยภูมิซึ่งได้จากการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากนโยบายของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยรายงานประจำปีโครงสร้างองค์กรระเบียบคู่มือการปฏิบัติงานเอกสารที่ใช้ในการปฏิบัติงานรวมถึงได้ทำการศึกษาบทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษา พบว่ากระบวนการจัดวางระบบควบคุมภายในของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้องค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบมีความสอดคล้องและคล้ายคลึงกับแนวทางCOSO อยู่ในระดับที่ดีซึ่งพบเพียงบางปัจจัยที่ต้องปรับปรุงให้เหมาะสมได้แก่ต้องมีการจัดทำคู่มือการจัดวางระบบควบคุมภายในนโยบายการจัดวางระบบควบคุมภายในต้องมีความชัดเจนบุคลากรทุกคนในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจในการจัดวางระบบควบคุมภายในอย่างเพียงพอโดยจะต้องมีการประเมินจากแบบทดสอบหรือกิจกรรมที่เหมาะสมและองค์กรมีแนวทางที่เหมาะสมในการจัดวางระบบควบคุมภายในและควบคุมกำกับให้บุคลากรปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดรวมทั้งมีการติดตามประเมินผลเพื่อนำข้อบกพร่องไปปรับปรุงต่อไปนอกเหนือจากแนวทางการจัดวางระบบควบคุมภายในที่กล่าวมาข้างต้นแล้วการจัดวางระบบควบคุมภายในจะประสบความสำเร็จได้ทั่วทั้งองค์กรต้องพัฒนาความพร้อมของหน่วยงานผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเร่งสร้างระบบและกลไกของระบบควบคุมภายในให้ครอบคลุมทั้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและระดับส่วนงานย่อย
References
2. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน. คำแนะนำการจัดทำรายงานการควบคุมภายในเล่มที่ 2 (ตามระเบียบฯข้อ 6). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน; 2547.
3. กัญญา บุตรล้อมสาย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนากระบวนการคิดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต] สาขาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัย ศิลปากร; 2547.
4. เจริญ เจษฎาวัลย์. การวางมาตรฐานการบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพมหานคร: พอดี; 2549.
5. เจนเนตร มณีนาค. การบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กรจากหลักการสู่ภาคปฏิบัติกรุงเทพมหานคร: ไฟนอลการพิมพ์; 2548.
6. ชญานิษฐ์ อรุณสิทธิ์. ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการควบคุมภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
7. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2552.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร