ผลการจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีภาวะน้ำเกินคลินิกไตวายเรื้อรังโรงพยาบาลกุมภวาปี

ผู้แต่ง

  • โกศล ศรีกงพาน โรงพยาบาลกุมภวาปี
  • พัชลาวัล สาระพันธ์ โรงพยาบาลกุมภวาปี

คำสำคัญ:

การจัดการรายกรณี, ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง, ภาวะน้ำเกิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (Quasi-experimental research one group pre-test post-test design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการรายกรณีของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีภาวะน้ำเกินกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีภาวะน้ำเกินอายุ 20 ปีขึ้นไปที่มีการสูญเสียการทำหน้าที่ของไตอย่างถาวรและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะไตวายเรื้อรังอยู่ในระยะที่ 4-5 ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยมีค่าความผิดปกติของหน้าที่การทำงานของไตในส่วน Glomerular Filtration Rate (GFR) ต่ำกว่า 30 มิลลิลิตรต่อนาทีที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกไตวายเรื้อรังโรงพยาบาลกุมภวาปีระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายนพ.ศ. 2561 จำนวน 30 คนโดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง (Purposive sampling) ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายนพ.ศ. 2561 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แนวคิดการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณี (Case Management) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วยแผนการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง (Care Map) คู่มือการให้ความรู้การปฏิบัติตัวโรคไตวายเรื้อรังแบบประเมินภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการพยาบาลหลังการได้รับการดูแลรายกรณีและแบบสอบถามความคิดเห็นของทีมสหสาขาวิชาชีพต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยรายกรณีวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS Version 16 โดยการแจกแจงความถี่ค่าเฉลี่ยร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างหลังใช้การจัดการรายกรณีมีภาวะน้ำเกินลดลงกว่าก่อนใช้การจัดการรายกรณีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริการการจัดการรายกรณีโดยรวมอยู่ในระดับมากโดยมีคะแนนเฉลี่ย 3.62 ผลการประเมินความคิดเห็นของทีมสหสาขาวิชาชีพต่อการดูแลผู้ป่วยรายกรณีโดยรวมกลุ่มตัวอย่างทุกคนมีระดับความคิดเห็นต่อการดูแลผู้ป่วยรายกรณีเห็นด้วยคิดเป็นร้อยละ 100.00

References

1. Price and Wilson, B. Using PLS to investigate interaction effects between higher order brand constructs. In Esposito Vinzi, V., Chin, W.W., Henseler, j., Wang, H. (Eds). Handbook of Partial Least Squares: concepts, Methods and Applications in Marketing and Related Fields (Springer Handbooks of Computational Statistics Series).Berlin/Heidelberg: Springer. 2007.
2. ทวี ศิริวงศ์.บรรณาธิการ. Update onCKD Prevention: Strategies and Practical Point. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
3. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคไตเรื้อรัง 2560: สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2561 เข้าถึงได้จาก: http://www.hfocus.org.
4. กลุ่มภารกิจด้านข้อมูลข่าวสารงานเวชสถิติโรงพยาบาลกุมภวาปี. สถิติงานคลีนิคไตวายเรื้อรัง.
โรงพยาบาลกุมภวาปี; 2561.
5. พัชลาวัล สาระพันธ์. ผลของการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน
ในโรงพยาบาลชุมชน. [วิทยานิพนธ์].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.
6. วิพร เสนารักษ์. การวินิจฉัยทางการพยาบาล. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์; 2541.
7. ทัศนาบุญทอง. ทิศทางการปฏิรูปรูปแบบการพยาบาลที่สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพไทย. 2543 [อินเตอร์เน็ต].เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2561 เข้าถึงได้จาก: http://www.kmutt.ac.th.
8. ราตรี โกศลจิตร. ประสิทธิผลของการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลปากพลี จังหวัดนครนายก. ว.พยาบาลสาร 2560; 44(1), 26-38.
9. Eriksen, L. Patient satisfaction with nursing care: Concept clarification The Gwen Marram Margaret Em Oliver Bevis 1974. London: C. V. Mosby. (1995).
10. อุษา นักเทศ. ผลของโปรแกรมการจัดการรายกรณีต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับไว้ในโรงพยาบาล. [วิทยานิพนธ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05