การใช้ Six bundle sepsis protocol ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลกุมภวาปี

ผู้แต่ง

  • นิลปัทม์ พลเยี่ยม โรงพยาบาลกุมภวาปี
  • ภูริกา สิงคลีประภา โรงพยาบาลกุมภวาปี
  • มยุรา แสนสุข โรงพยาบาลกุมภวาปี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง, Six bundle sepsis protocol

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพัฒนา (developmental study) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการใช้ Six bundle sepsis protocol ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกุมภวาปี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ I) ทีมพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง โดยใช้ Six bundle sepsis protocol จำนวน 6 ราย II) ทีมผู้ใช้แนวการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง จำนวน 16 รายและ III) ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง ที่รับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกุมภวาปีจำนวน 73 ราย ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์–เมษายน พ.ศ. 2561 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แนวคิดในการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามความเป็นไปได้ของการใช้แนวการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง โดยใช้ Six bundle sepsis protocol จำนวน 6 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของทีมผู้ใช้แนวการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง จำนวน 6 ข้อ 4) แบบวัดความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง จำนวน 20 ข้อ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรงต่อการดูแลที่ได้รับตามแนวการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง โดยใช้ Six bundle sepsis protocol จำนวน 6 ข้อ และ 6) แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง โดยใช้ Six bundle sepsis protocol ซึ่งผ่านการตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน หาดัชนีความตรงของเนื้อหา (Content validity index: CVI) เครื่องมือทุกชุดมีค่า CVI เท่ากับ 1 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ โดยใช้สูตรคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 (Kuder-Richardson20 [KR20]) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 นำเสนอข้อมูลโดยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test และสถิติ t-test

ผลการวิจัย พบว่าความเป็นไปได้ในการใช้แนวการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรงโดยใช้ Six bundle sepsis protocol เกี่ยวกับการประเมินอาการของผู้ป่วย, สิทธิผู้ป่วยและจริยธรรม, การดูแลผู้ป่วย, การให้ความรู้, การดูแลต่อเนื่อง มีความเป็นไปได้ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 100.00, 83.30, 83.30, 83.30, 66.70 ตามลำดับ ทีมผู้ใช้แนวการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตมีความพึงพอใจในการใช้แนวการดูแลผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง โดยใช้ Six bundle sepsis protocol โดยรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 75.00 ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการดูแลที่ได้รับตามแนวการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง โดยใช้ Six bundle sepsis protocol โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 58.90 ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง โดยใช้ Six bundle sepsis protocol หลังการพัฒนา(gif.latex?\bar{x} = 17.68, S.D.=1.57) สูงกว่าก่อนการพัฒนา ( gif.latex?\bar{x}=11.25, S.D.=2.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000) และค่าเฉลี่ยระยะเวลากิจกรรม โดยใช้ Six bundle sepsis protocol หลังการพัฒนาลดลงจาก 99 นาที (S.D.=1.27) เหลือ 71 นาที (S.D.=1.02) ต่ำกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000)

References

1. Husak, L., et al. National Analysis of Sepsis Hospitalizations and Factors Contributing to Sepsis In-Hospital Mortality in Canada. Canada: Healthcare Quarterly; 2010: 35-41.
2. Wang, H.E., Randolph S Devereaux, R.S., Donald M Yealy, D.M., Monika M Safford, M.M., & George Howard, G. National variation in United States sepsis mortality: a descriptive study. United States of America:International Journal of HealthGeographics; 2010:1-9.
3. Mc Pherson, D., et al. Sepsisassociated mortality in England: an analysis of multiple cause of death data from 2001 to 2010. Bmjopen; 2013: 1-9.
4. Angkasekwinai, N., Rattanaumpawan, P. & Thamlikitkul, V. Epidemiology of Sepsis in Siriraj Hospital 2007.Bangkok: J MedAssoc Thai; 2009: 68-78.
5. พรพิศ ตรีบุพชาติสกุล, นาตยาคำสว่าง, และปัญญา เถื่อนด้วง. ผลการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหลังใช้แนวทางเวชปฏิบัติ. พุทธชินราชเวชสาร 2550; 33-47.
6. ชูหงส์ มหรรทัศนพงศ์. ผลลัพธ์ของ Surin sepsis treatment protocol ในการจัดการดูแลรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. ศรีนครินทร์เวชสาร 2555; 332-339.
7. ดวงฤดี ห่อทอง, ทิพวัลย์ บุญยะศานต์, และพัชรินทร์ พอสม. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบมุ่งเป้าใน 6 ชั่วโมงแรก. พุทธชินราชเวชสาร 2556; 302-308.
8. สัณฐิติ โมลากุล. Surviving Sepsis Campaign: Initial Resuscitation. ใน Critical Care: The Model of Holistic Approach 2008-2009, 33-48. เอกรินทร์ภูมิพิเชฐ, และไชยรัตน์เพิ่ม พิกุล, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: บิยอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์จำกัด; 2552.
9. รัฐภูมิ ชามพูนท. ค่าการทำนายของ modifed early warning score ในการระบุตัวผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงในตึกผู้ป่วยสามัญ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
10. เวชระเบียน โรงพยาบาลกุมภวาปี. สถิติงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. อุดรธานี: โรงพยาบาลกุมภวาปี; 2561.
11. National Health and Medical Research Council. A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guideline. 1999. [cited 2018 April 24]. Available form http://www.ausinfo.gov.augeneral/en_hottobuy.html.
12. The Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organization [JCAHO]. Painassessment and management standardhospital. 2001: [cited 2009 May 18]. Available from http://www.texmed.Org/Template.aspx?id=2392.
13. วิธิรงค์ สุทธิกุล. การพัฒนาระบบปฏิบัติการพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อยในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2556.
14. วิไลวรรณ เนื่อง ณ สุวรรณ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง. ว.การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557; 32: 25-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05