ผลของการเสริมแรงในการป้องกันการติดเชื้อในบุคลากรห้องผ่าตัดต่ออุบัติการณ์การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลกุมภวาปี

ผู้แต่ง

  • สุดตา ไชยนาพันธ์ โรงพยาบาลกุมภวาปี
  • วิไล เหมือนทองจีน โรงพยาบาลกุมภวาปี

คำสำคัญ:

การเสริมแรง, การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด, ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (one group pretest-posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมแรงในการป้องกันการติดเชื้อในบุคลากรห้องผ่าตัดต่ออุบัติการณ์การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลกุมภวาปี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือบุคลากรห้องผ่าตัด ประกอบด้วย สูตินรีแพทย์ และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลกุมภวาปี จำนวน 14คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบเฝ้าระวังการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด แผนการเสริมแรงแบบวัดความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ แบบสังเกตพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนเมษายน พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t-test ค่าความต่างของความเสี่ยง (risk difference) และค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (risk ratio)

ผลการวิจัยพบว่า หลังบุคลากรห้องผ่าตัดได้รับการเสริมแรงในการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดอุบัติการณ์การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องของผู้ป่วยมีค่าเท่าๆ กันคือ 0.00 ครั้งต่อ 100 การผ่าตัดโดยมีค่าความต่างของความเสี่ยง (risk difference) ต่อการเกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเท่ากับ 0.00 ครั้งต่อ 100 การผ่าตัดและมีค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (risk ratio) เท่ากับ 0.00 (95% CI: 0.00)หลังได้รับการเสริมแรง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นจาก 12.64 คะแนน เป็น 13.71 คะแนน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันการติดเชื้อระหว่างก่อนและหลังได้รับการเสริมแรง คิดเป็นร้อยละ 100.00 ทำให้พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไม่แตกต่างกัน

ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าก่อนและหลังได้รับการเสริมแรงในการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดบุคลากรห้องผ่าตัด มีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อที่ถูกต้อง ทำให้การเกิดอุบัติการณ์การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องไม่แตกต่างกัน บุคลากรห้องผ่าตัดควรมีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด ถูกต้องตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด จึงควรมีการเสริมแรงในการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

References

1. อุดมรัตน์ แหลมกล้า. ผลของการเสริมแรงในการป้องกันการติดเชื้อในบุคลากรสุขภาพต่ออุบัติการณ์การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.
2. Kasatpibal, N., Jamulitrat, S., & Chongsuvivatwong, V. Standardized incidence rates of surgical site infection: A multicenter study in Thailand. United States of America: American Journal of Infection Control; 2005: 33: 587-594.
3. Coello, R., Charlett, A., Wilson, J., Ward, V., Pearson, A., &Borriello, P. Adverse impact of surgical site infections in English hospital. England: Journal of Hospital Infection; 2005: 60: 93-103.
4. สัณห์ อภัยสวัสดิ์. ยาขับออกทางน้ำนม. สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย). กรุงเทพฯ; 2011. [เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2561]. จาก: http://www.healthtoday.net/thailand/pharmacy/pharmacy/pharmacy_111.html.
5. ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย. แพทย์กับความรับผิดและการชดใช้ทางแพ่ง. วารสารการแพทย์; 2555:309. [เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2561]. จาก: http://www.MEDICTHAI.com.
6. Edward, J. R., Peterson, K. D., Mu, Y., Banerjee, S., Bridson, K. A., Morrell, G., et al. National Healthcare Safety Network (NHSN) report: Data summary for 2006 through 2008. United States of America: American Journal of Infection Control; 2009: 37: 783-805.
7. Dellinger, E. P., Hausmann, S. M., Bratzler, D. W., Johnson, R. M., Daniel, D. M., Bunt, K. M., et al. Hospitals collaborate to decrease surgical site infections. United States of America: The American Journal of Surgery; 2005: 190: 9-15.
8. คนึงนิจ สมัครเขตการณ์. ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการควบคุมการติดเชื้อต่อความรู้และการปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดของบุคลากรพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
9. Skinner, B. F. Science and human behavior. New York: The Macmillan; 1964.
10. สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย; 2541.
11. Pittet, D. Improving adherence to hand hygiene practice: A multidisciplinary approach. Emerging Infectious Disease; 2001:7: 234-240.
12. งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลโรงพยาบาลกุมภวาปี. รายงานผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลประจำปี 2561. อุดรธานี: โรงพยาบาลกุมภวาปี; 2561.
13. Rauk, P. N. Educational intervention, revised instrument sterilization methods, and comprehensive preoperative skin preparation protocol reduce cesarean section surgical site infections. United States of America: American Journal of Infection Control; 2010: 38: 319-323.
14. Fauerbach, L. L., Williams, M. L., & Archibald, L. K. A neurosurgical multidisciplinary infection prevention team: Adverse event review and assessment to reduce class I surgical site infections (SSI). United States of America: American Journal of Infection Control; 2009: 16: 144.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05