แนวทางพัฒนากระบวนการบอกข่าวร้าย (ผลการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง) แก่ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องตรวจ เฉพาะโรคมะเร็งโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วาสนา ฉายาวุฒิพงศ์ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

ข่าวร้าย, วินิจฉัย, มะเร็ง, วิจัยเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประชากรโลกและในประเทศไทยสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งย่อมเป็นข่าวร้ายที่ทำให้เกิดความเครียดสูงจึงเป็นที่มาของการวิจัยเชิงคุณภาพนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ (1) ศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแจ้งข่าวร้าย (ผลการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง) (2) นำผลการศึกษาไปจัดทำแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานเพื่อลดความเครียดของผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ที่มารับบริการที่ห้องตรวจเฉพาะโรคมะเร็ง

วิธีดำเนินการวิจัย: เก็บข้อมูลโดยการทบทวนเอกสาร/การสังเกต/การสัมภาษณ์เชิงลึก/การสนทนากลุ่ม/บันทึกภาคสนาม คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 15 คน ญาติ 15 คน แพทย์ 2 คน พยาบาลวิชาชีพ 5 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ (ทำหน้าที่ช่วยแพทย์) 5 คน ระยะเวลาเก็บข้อมูล ตั้งแต่ 1พฤษภาคม 2560- 30 กรกฎาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

ผลการศึกษา:พบว่าบริบทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแจ้งข่าวร้าย (ผลการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง) คือ (1) การจัดระบบบริการและสถานที่ในการแจ้งข่าวร้าย (2) ทักษะการใช้กระบวนการบอกข่าวร้ายแก่ผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่ (3) ความต้องการของผู้ป่วยและญาติที่จะรับฟังข่าวร้ายความเห็นของผู้ป่วยและญาติต่อวิธีแจ้งข่าวร้าย(ผลการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง) มี 5 แบบ (1) ก่อนตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจแพทย์ควรแจ้งเหตุผลว่าตรวจหาเซลล์มะเร็งเพื่อเตรียมใจล่วงหน้า (2) ควรบอกตรงๆว่าเป็นมะเร็ง (3) การบอกโดยใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงทำให้เกิดความไม่แน่ใจและสับสน (4) แพทย์ไม่แนะนำรายละเอียดเรื่องโรคหลังแจ้งผลการวินิจฉัยครั้งแรก (5) ไม่ให้เวลาในการตัดสินใจเลือกการรักษา ความต้องการของผู้ป่วยและญาติจากทีมสุขภาพมี 3 แบบ (1) วันที่มาฟังผลชิ้นเนื้อ (pathology) ต้องการพบแพทย์เร็วเพราะมีความเครียดและกังวล (2) อยากรู้รายละเอียดของโรค/ระยะของโรค/วิธีรักษา/โอกาสรอดชีวิต (3) ต้องการสัมพันธภาพที่ดีจากทีมสุขภาพ

สรุป: กระบวนการแจ้งข่าวร้าย (ผลการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง) ของโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานียังไม่มีรูปแบบเฉพาะและแพทย์ผู้แจ้งผลการวินิจฉัยไม่ได้ใช้กระบวนการแจ้งข่าวร้าย (six-step-protocol) ครบทุกขั้นตอนเพราะสถานที่ไม่เอื้อให้พูดคุยนานและมีผู้ป่วยจำนวนมากรอตรวจ ผู้ป่วยเครียดเพราะไม่ได้รับข้อมูลที่ต้องการทราบหลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งครั้งแรก

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติโรคมะเร็งของคนไทย. บทความสุขภาพ.[อินเตอร์เน็ต]กรุงเทพฯ: 2559 (เข้าถึงเมื่อ 1พฤษภาคม 2560) เข้าถึงได้จาก https://www.healthyhitech.net

2. กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. 2555. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาลตะวันออกการพิมพ์: กรุงเทพฯ

3. กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี.งานทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล. 2557-2560.

4. จุฬาวรรณ สุรกุล. ประสบการณ์ของผู้ป่วยมะเร็งในการได้รับการบอกความจริงเกี่ยวกับความเจ็บป่วยจากทีมสุขภาพ. สงขลานครินทร์เวชสาร 2545; 20(4): 1-9

5. วิโรจน์ วรรณะภิระ และปานจิต วรรณะภิระ. แจ้งข่าวร้าย:หนามยอกเอาหนามบ่ง.พุทธชินราช เวชสาร 2550; 24:358–68

6. อานุภาพ เลขะกุล. การแจ้งข่าวร้าย (Breaking bad news). สงขลานครินทร์เวชสาร 2556; 31(3): 1-10

7. กฤตชญา ฤทธิ์ฤชัย. ความเครียดกับมะเร็ง. วารสารโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 2555; 4-6

8. สายพิณ หัตถีรัตน์. การแจ้งข่าวร้ายไม่ให้ร้าย. คู่มือหมอฉบับสมบูรณ์ 2549; 316-23

9. พงศกร เล็งดี และคณะ. มุมมองของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อการได้รับการแจ้งผลวินิจฉัยโรค. วารสารโรคมะเร็ง 2552; 29 (4). 143-51

10. จิตชญา บุญนันท์และปรางทิพย์ ฉายพุทธ. บทบาทพยาบาลในการสื่อสารเรื่องไม่พึงประสงค์หรือแจ้งข่าวร้ายในผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารสภาการพยาบาล 2552; 24(3) 7-18

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-23