ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
ปัญหาและแนวทางการพัฒนา, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใน 5 ด้านคือ ด้านส่วนตัวของนักศึกษา ด้านการเรียนการสอนในคลินิก ด้านอาจารย์นิเทศ ด้านแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และด้านสวัสดิการของสถาบัน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นิสิตนักศึกษาพยาบาล และอาจารย์นิเทศ จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.50-1.00 และหาความเที่ยงโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’ s Coefcient of Alpha) เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการตีความสร้างข้อสรุป ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS Version 19 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Inter Quartile Range) ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean : ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล ด้านส่วนตัวของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก (=3.51, S.D.=0.90) ด้านการเรียนการสอนในคลินิกอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.64, S.D.=0.86) ด้านอาจารย์นิเทศอยู่ในระดับน้อย (=2.42, S.D.=0.85) ด้านแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.95, S.D.=0.96) ด้านสวัสดิการของสถาบันอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.03, S.D.=0.96) และภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.91, S.D.=0.90) และแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล ด้านส่วนตัวของนักศึกษาได้แก่ ต้องปลูกฝังความรักต่อวิชาชีพพยาบาลให้กับนักศึกษาเมื่อเริ่มเข้าเป็นนักศึกษาพยาบาลและควรต้องมีการคัดเลือกนักศึกษาที่ชอบวิชาการพยาบาล พร้อมกับจัดให้นักศึกษาได้มีเวลาพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกันในการเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพพยาบาล ด้านการเรียนการสอนในคลินิกได้แก่ ต้องจัดให้มีการปฐมนิเทศและกำหนดวัตถุประสงค์ พร้อมกับวางแผนในการเรียนการสอน การมอบหมายงานในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักศึกษาตามความรู้ความสามารถและควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้วยด้านอาจารย์นิเทศได้แก่ แจ้งวัตถุประสงค์และแผนการสอนต่ออาจารย์นิเทศและให้อาจารย์นิเทศศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอนก่อนออกปฏิบัติงานกับนักศึกษา พร้อมกับจัดปฐมนิเทศอาจารย์ก่อนที่จะร่วมออกปฏิบัติงานกับนักศึกษา ด้านแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้แก่ จัดแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้เหมาะสมกับนักศึกษาและตรงตามวิชาที่จะต้องฝึกปฏิบัติ ให้ความสำคัญและความเชื่อมั่นต่อนักศึกษาในการให้การพยาบาลที่แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพพร้อมทั้งให้มีค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมกับการฝึกปฏิบัติงาน รวมทั้งแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพและด้านสวัสดิการของสถาบันได้แก่ ขอให้มีการจัดรถรับ-ส่งให้กับนักศึกษาอย่างเพียงพอหรือประสานงานในการจัดที่พักให้เหมาะสมและพอดีกับจำนวนนักศึกษา พร้อมกับให้มีบริการอาหารแก่นักศึกษาในช่วงเวลาที่ฝึกปฏิบัตินอกเวลา
References
2. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.การประชุมหารือคณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานการอุดมศึกษาเรื่อง “กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ”. ความเป็นมาและขั้นตอนการดำเนินการโครงการกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. วันเสาร์ที่ 18 เมษายน 2552 เวลา 09.00-16.00 น. ณ. โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ: 2552.
3. สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อผลิตนิสิตเป็นผู้นำในการสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารสภาการพยาบาล. ปีที่ 26 ฉบับพิเศษ. นนทบุรี : 2554.
4. บุญส่ง ไกรสังข์. การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์. มหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยบูรพา: 2540.
5. กุลยา ตันติผลาชีวะ. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ. วารสารการศึกษาพยาบาล. (1) 35-45: กันยายน: 2541
6. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานผลการศึกษาเรื่อง การติดตามผลการดำเนินการตามมติและข้อเสนอแนะของการสัมมนาพยาบาลศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: 2546.
7. Krejcie. Robert V. and Daryle W. Morgan. “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement 1970 ; 30 (3): 607-610
8. บุญใจ ศรีสถิตน์รากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ :ยูแอนด์ ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด: 2553.
9. วัลลา ตันตโยทัย. บ่มเพาะนักศึกษาพยาบาลสู่การเป็นนักสร้างเสริมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. ห้างหุ้นส่วนจำกัดอุดมรัตน์การพิมพ์และดีไซน์ : 2555.
10. จิราภรณ์ มั่นศุข. แนวโน้มและพัฒนาการของวิชาชีพการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. ลำปาง. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง :2552.
11. มณฑา ลิ้มทองกุล, สุภาพ อารีเอื้อ. แหล่งความเครียดวิธีการเผชิญความเครียดและผลลัพธ์การเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2552; 15: 192-205.
12. สมศรี ทาทาน, อัมพร ยานะ. รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อทักษะปฏิบัติการพยาบาลและทัศนคติต่อวิชาชีพตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลที่ขึ้นฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก. พะเยา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี; 2551
13. อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา, ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์, ศรีนวล วิวัฒน์คุณูปการ. ความพร้อมของนักศึกษาพยาบาลในการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก. พยาบาลสาร 2551;35: 1-9.
14. สมทรง มณีรอด. สภาพความเป็นอยู่ของนักศึกษาพยาบาลโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดน. ชัยนาท.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท: 2551.
15. Donald, Ogston G. and Raren M. Ogston. “Counselling Students in Hospital School of Nursing,” The Canadian Nurse. 53; April: 1970.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร