พฤติกรรมความเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติตามการรับรู้ของอาจารย์และนิสิตพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

ผู้แต่ง

  • ณรงค์กร ชัยวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ปัณณทัต บนขุนทด มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • พิมพ์รดา ธรรมีภักดี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ชมภู่ บุญไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ศรันย์ ปองนิมิตรพร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมความเอื้ออาทร, การสอนภาคปฏิบัติ

บทคัดย่อ

บทนำ: การดูแลอย่างเอื้ออาทรเป็นหัวใจสำคัญของการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ พยาบาลจะมีพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการขัดเกลาในระบบการศึกษาพยาบาล การเป็นแบบอย่างในเรื่องของพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติตามการรับรู้ของอาจารย์พยาบาลและนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

รูปแบบ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) กลุ่มตัวอย่าง เป็นอาจารย์พยาบาลที่สอนภาคปฏิบัติจำนวน 36 คน และนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จำนวน 173 คน ที่ได้ผ่านการฝึกภาคปฏิบัติมาแล้วอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา ในปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามพฤติกรรมความเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติตามการรับรู้ของอาจารย์พยาบาลและนิสิตพยาบาล โดยพัฒนาจากกรอบแนวคิดทฤษฎีของวัตสัน (Watson) จำนวน 51 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test

ผลการศึกษา: พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติตามการรับรู้ของอาจารย์พยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean 4.52, S.D 0.21) และการรับรู้ของนิสิตพยาบาล ถึงพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean 4.51, S.D 0.36) ส่วนค่าเฉลี่ยรวมของพฤติกรรมความเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลในการสอนภาคปฏิบัติตามการรับรู้ของอาจารย์พยาบาลและนิสิตพยาบาลไม่แตกต่างกัน (t86.540.25, p 0.79)

สรุป: พฤติกรรมความเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติตามการรับรู้ของอาจารย์พยาบาลและนิสิตพยาบาลที่ไม่มีความแตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนความสามารถในการเรียนรู้ของนิสิต นิสิตพยาบาลได้มีโอกาสในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลด้วยความมั่นใจกล้าแสดงความคิดเห็น กล้าที่จะซักถามปัญหา ส่งเสริมศักยภาพในการเรียนรู้ เพิ่มทักษะในการคิดวิเคราะห์ ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการคิดแก้ไขปัญหารวมถึงช่วยพัฒนาให้นิสิตมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพพยาบาล

References

1. Boykin A. &Schoenhofer S. Nursing as caring. New York, USA: National League for Nursing; 1993.

2. Gillespie M. &McFetridge B. Nursing education–the role of the nurse teacher. J ClinNurs 2006; 15(5): 639-44.

3. Bishop A.H. Nursing education as authentic nursing care. In Leininger M& Watson, J (editor). The caring imperative in education. New York, USA: National League for Nursing; 1990.

4. Watson J. Transformative thinking and a caring curriculum. In Bevis O & Watson J (editor). Toward caring curriculum: A new pedagogy for nursing. New York, USA: National League for Nursing; 1989.

5. ศศิกาญจน์ สกุลปัญญวัฒน์. การนิเทศด้วยความเอื้ออาทร. วารสารพยาบาลตำรวจ 2557; 6(2): 200-08.

6. ศศิกาญจน์ สกุลปัญญวัฒน์.พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลที่สอนรายวิชาภาคปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานตามการรับรู้ของอาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษาสถาบันการศึกษาเอกชน 2557. วารสารเกื้อการุณย์; 21 (ฉบับพิเศษ):108-23.

7. Davis, James R. Interdisciplinary Course and Team Teaching. Phoenix American Council Education and the Orys Press 1995; 40(7): 127-40.

8. Astin, Alexander W. What Matters in College? Four Critical Years Revisited. San Francisco: JosseyBass Publishers; 2006.

9. Hesieh, J. L., Kuo, C. L & Tsai, Y. H. An action research on the development of a caring curriculum in Taiwan. Journal of Nursing Education 2004; 43(9): 391-400.

10. Wade, G. H. & Kasper, N. Nursing students’s perceptions of instructor caring: an instrument based on Watson’s theory of transpersonal caring. Journal of Nursing Education 2006;45(5): 162-68.

11. Watson, J. Nursing: human science and human care a theory of nursing. New York: Jones & Bartlett Publishers; 1999.

12. ปัณณธร ชัชวรัตน์. ความเอื้ออาทรของอาจารย์ที่มีต่อนักศึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. อัดสำเนา; 2546.

13. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2545.

14. Leininger M. The caring imperative in education. New York: National league for nursing; 1990.

15. Tanner C.A. Caring as a value in nursing education. Nursing Outlook 1990; 38(2): 70-2.

16. นภาทิพย์ ตั้งตรีจักร และปาริชาติเมืองขวา. พฤติกรรมความเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2555; 31(3): 60-74.

17. วาสนา นัยพัฒน์. “ความเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาล: เสียงสะท้อน” จากนักเรียน
พยาบาล.วารสารการศึกษาพยาบาล 2545; 13(2):1-7.

18. Halldorsdottir S. The essential of a caring and uncaring encounter with a teacher: The perspective nursing student. New York: National league for nursing; 1990.

19. สุพจน์ แก้วบุดดี. พฤติกรรมเอื้ออาทรของอาจารย์พยาบาลในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติตามการรับรู้ของอาจารย์พยาบาลและนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2550; 1(1) : 93-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-24