การศึกษาแนวปฏิบัติการคัดกรองมารดาที่มีความเสี่ยงเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรก โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • อุบล ศรีนากรุง โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

การคัดกรอง, ความเสี่ยงมารดา, ภาวะตกเลือดหลังคลอด

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะตกเลือดหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรก เป็นภาวะแทรกซ้อนสำคัญที่ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมารดา การคัดกรองมารดาที่มีความเสี่ยงสามารถช่วยป้องกันไม่ให้มารดาตกเลือดหลังคลอดได้

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการคัดกรองมารดาที่มีความเสี่ยงเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรก โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

รูปแบบการศึกษา: แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การจัดทำแนวปฏิบัติ ระยะที่ 2 นำแนวปฏิบัติไปใช้และระยะ ที่ 3 การประเมินผล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย (1) พยาบาลวิชาชีพประจำห้องคลอด จำนวน 9 คน (2) มารดาที่ได้รับการวางแผนคลอดทางช่องคลอดที่ห้องคลอด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ระหว่างเดือน ตุลาคม 2560 ถึง เดือน มกราคม 2561 จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย (1) แนวปฏิบัติการคัดกรองมารดาที่มีความเสี่ยงเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรก โดยใช้หลัก 4T (Tone, Thrombin, tear, tissue) ในระยะแรกรับ ระยะรอคลอดและ 2 ชั่วโมงหลังคลอด (2) แบบประเมินความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพประจำห้องคลอด

ผลการศึกษา: พบว่าระยะแรกรับ มารดามีความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดจากสาเหตุ (1) มดลูกหดรัดตัวไม่ดี (Uterine atomy) ก่อนพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 16.67 หลังพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 27.67 (2) เกร็ดเลือดเม็ดเลือดผิดปกติก่อนพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 1 หลังพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 10.33 ระยะรอคลอดพบว่ามารดามีความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดจากสาเหตุ (1) มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ก่อนพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 12 หลังพัฒนาแนวปฏิบัติฯร้อยละ 20.33 ระยะคลอดพบว่ามารดามีความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดจากสาเหตุ 1) มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ก่อนพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 1.67 หลังพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 7 (2) เสียเลือด ≥ 300 มิลลิลิตร ก่อนพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 0 หลังพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 1.33 และ (3) รกค้าง ก่อนพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 1.33 หลังพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 0.67 ระยะหลังคลอดพบว่ามารดามีความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดจากสาเหตุ (1) มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ก่อนพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 0.67 หลังพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 7.33 (2) มีเลือดคั่งในแผลและปากมดลูกมีแผลฉีกขาด ก่อนพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 0.33 หลังพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 0.67 (3) เสียเลือด ≥ 300 มิลลิลิตร ก่อนพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 4.67 หลังพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 0.33 (4) รกค้าง ก่อนพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 1.33 หลังพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 0.67 มารดาตกเลือดหลังคลอด ก่อนพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 1.12 หลังพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 0.67 จำนวน 2 คน จากสาเหตุ รกค้างและมีเลือดคั่งในแผลฝีเย็บ ความคิดเห็นของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติฯ ที่เห็นด้วยมากคือ แนวปฏิบัติฯเป็นสื่อให้ทีมเข้าใจตรงกันและใช้ภาษาที่เหมาะสมและเข้าใจง่าย (ร้อยละ 88.89 และร้อยละ 77.78)

สรุป: แนวปฏิบัติการคัดกรองมารดาที่มีความเสี่ยงเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรก ช่วยคัดกรองความเสี่ยงของมารดาในทุกระยะการคลอดได้เพิ่มมากขึ้น โดยพบความเสี่ยงมารดาต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดจากสาเหตุมดลูกหดรัดตัวไม่ดีพบมากที่สุด แนวปฏิบัตินี้ จะช่วยให้พยาบาลห้องคลอดใช้ความเสี่ยงในทุกระยะการคลอดเป็น Warning signs ในการเฝ้าระวังไม่ให้มารดาตกเลือดหลังคลอดหรือเป็นแนวทางการมอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ ในแต่ละระดับ เช่น พยาบาลใหม่ นักศึกษาฝึกงานและเมื่อพบมารดาที่มีความเสี่ยงสูง จะได้มีการจัดมีทีมที่มีประสบการณ์และให้การดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

References

1. ยุทธพงศ์ วีระวัฒนตระกูล, ประนอม บุพศิริ, ศรีนารี แก้วฤดี, โฉมพิลาศ จงสมชัย, และเจน โสธรวิทย์. สูตินรีเวชในเวชปฏิบัติทั่วไป. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์; 2559

2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2558. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2561 จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/fles/health_statistic2558.pdf

3. งานเวชระเบียนห้องคลอด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. สรุปรายงานการคลอดประจำปี 2558-2560

4. ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์, สุชาตา วิภวกานต์, และ อารี กิ่งเล็ก. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอดโรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559; 3 (3): 127-41.

5. ปทุมมา กังวานตระกูล และ อ้อยอิ่น อินยาศรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดในห้องคลอด โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลกรุงเทพ. 2560; 33(2): 121–34.

6. ประสพชัย พสุนนท์. การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ. ศิลปะศาสตร์ประยุกต์. 2557;7(2): 112-120.

7. สุธาสินี โพธิจันทร์. PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง. บทความสำหรับบุคคลทั่วไป ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561 จาก http://www.ftpi.or.th/2015/2125

8. ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 2560; 6(2): 145–57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-25