ผลของการใช้แบบการบันทึกทางการพยาบาลขณะส่งต่อผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นต่อคุณภาพการส่งต่อและความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายจังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • พรพิไล นิยมถิ่น โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย

คำสำคัญ:

แบบบันทึกทางการพยาบาล, คุณภาพการส่งต่อ, โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบการบันทึกทางการพยาบาลขณะส่งต่อผู้ป่วยโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย 2) ศึกษาผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลขณะส่งต่อด้านคุณภาพการส่งต่อและ 3) ศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลก่อนและหลังการพัฒนากลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานด้านการส่งต่อผู้ป่วยโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายจำนวน 50 คน ได้จากการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมวิจัย คือ ต้องปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย เป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลที่มีหน้าที่ส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสบการณ์ในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นเวลา 1 ปีขึ้นไป และยินดีและเต็มใจให้ความร่วมมือในการทำวิจัย 2) แบบบันทึกทางการพยาบาลขณะส่งต่อผู้ป่วย ได้จากการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือก จำนวน 44 ฉบับทั้งก่อนและหลังการพัฒนา เป็นแบบบันทึกการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีพยาบาลนำส่งได้มีการบันทึกการดูแลตั้งแต่ขั้นเตรียมการ ขั้นการดูแลขณะนำส่งและขั้นสิ้นสุดการส่งต่อและ เป็นแบบบันทึกในการดูแลขณะส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายกับโรงพยาบาลเลยเท่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกการพยาบาลขณะส่งต่อแบบเดิมและแบบที่พัฒนาขึ้น 2) โครงการอบรมพยาบาลวิชาชีพ 3) แบบประเมินคุณภาพการส่งต่อจากโรงพยาบาลปลายทางและ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลขณะส่งต่อ เครื่องมือวิจัยได้ผ่านการหาความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ได้แบบบันทึกการพยาบาลขณะส่งต่อผู้ป่วย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายที่พัฒนาขึ้นตามขั้นตอนการส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพตามสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนดทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามมาตรฐานทางการพยาบาลด้านการดูแลต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพ 2) ร้อยละคุณภาพการส่งต่อหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาทุกด้านและ 3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจของพยาบาลที่มีต่อแบบบันทึกการพยาบาลขณะส่งต่อผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนการพัฒนาในด้านประโยชน์ต่อการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p< 0.05)

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ. 2555-2559. นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข; 2555.

2. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) นนทบุรี:บริษัทอัลทิ เมทพริ้นติ้งจำกัด; 2557.

3. สำนักการพยาบาล มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.

4. สุรีย์ ธรรมมิกบวร.การบันทึกทางการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: นิวเวฟพัฒนาจำกัด; 2540.

5. ศากุล ปวีนรัตน์. “การสื่อสารในหน่วยฉุกเฉิน” ใน สุดาพรรณ ธัญจิรา วนิดา ออประเสริฐศักดิ์ บรรณาธิการ การพยาบาลฉุกเฉินและอุบัติภัยหมู่.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:สามเจริญพาณิชย์; 2546.

6. สรุปผลงานประจำปีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย; 2560.

7. วัชชรีภรณ์ รัตนสาร. ประสิทธิผลของการบันทึกโดยใช้แบบบันทึกการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินในโรงพยาบาลสุรินทร์ วิทยานิพนธ์การบริหารการพยาบาลขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2543.

8. ณภัทร ธนะพุฒินาท. ผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นต่อคุณภาพการบันทึกและความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยใน วารสาร มฉก.วิชาการ 2554; 14(28): 5-21.

9. Cheevakasemsook, Aree.Facilitating Change: The development of An Effective Nursing Documentation System In a MedicalSurgical Ward In Thailand.(Doctoral dissertation). Charles Sturt University. NSW Australia.; 2005.

10. มัลลิกา ลุนจักร์, มาริสา ไกรฤกษ์. การพัฒนาแบบฟอร์มบันทึกปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาล โรงพยาบาลหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557; 32(4): 164-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-25