ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐาน พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดที่หน่วยงานเคมีบำบัดผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ภัทรริกา ภู่ทวี โรงพยาบาลอุดรธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐาน พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดที่หน่วยงานเคมีบำบัดผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ที่ได้รับเคมีบำบัดที่หน่วยงานเคมีบำบัดผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอุดรธานี จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้รับการตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 0.86 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยใช้สถิติ Fisher’s Exact Test และสถิติ Eta และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยการใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation)

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) (P<0.01) ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และการมีโรคประจำตัวไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

References

1. Nation Cancer Institute Department of Health Ministry of Public Health. Hospital based Cancer Registry Annual report 2012. Bangkok: Eastern Printing Public Company; 2014.

2. ภรณี เหล่าอิทธิ และนภา ปริญญานิติกูล. มะเร็งเต้านม: ระบาดวิทยา การป้องกันและแนวทางการตรวจคัดกรอง. Chula Med J. 2016; 60(5): 497-507.

3. American Cancer Society. 2014. Cancer facts and fgures 2014. Retrieved from http://www.cancer.org

4. Pongpradit P, Arpanantikul M, Sirapo-ngam Y. Selected Factors Related to Health-Promoting Behaviors in Women with Brest Cancer Undergoing Adjuvant Chemotherapy. Rama Nurs J 2012; 18(1): 70-83.

5. Dong, S. T., Butow, P. N., Costa, D.S., Lovell, M. R., and Ager, m., 2014. Symptom cluster in patients with advanced cancer a systematic review of observational studies. Journal of Pain and Symptom Management. 48(3): 411-450.

6. Wongjunlongsin S. Sumdaengrit B. Symptom Cluster in Breast Cancer Patients Receiving Chemotherapy A Longitudinal study Approach. Journal of Nurses’ Association of Thailand North-Eastern Division. 2015; 33 (2): 122-131.

7. Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health Promotion in nursing practice. 5thed. Newjersey: Pearson Education; 2006

8. Toljamo,M., Hentinen, M. (2001). Adherence to self care and social support. Journal of Clinical Nursing. 10. 618-627.

9. Functional Assessment of Chronic Illness Therapy (FACIT). FACT-B: For patient with Breast cancer [database on the internet]. 2014 [cited 2014 August 27]: Available from http://www.facit .org/FACITOrg/Questionnaires.

10. โสรัจญา สุริยันต์ วรรณี เดียวอิศเรศ และนุจรี ไชยมงคล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด: แบบจำลองเชิงสาเหตุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2558; 33(4): 131-140.

11. พรพิมล เลิศพานิช อำภาพร นามวงศ์พรหม และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์. ประสบการณ์อาการและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับเคมีบำบัด. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมป์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2560; 6(1): 45-55.

12. ทับทิม เปาอินทร์ เยาวรัตน์ รุ่งว่างและเรวัต เตียสกุล. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบ MRM และได้รับเคมีบำบัด. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2553; 4(1) : 28-37.

13. ทรงเดช ประเสริฐศรี และนิธิตา ธารีเพียร.พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2558; 3(22): 6-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-25