ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • ศิรดา ทวีวัน โรงพยาบาลบึงกาฬ

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, แบบบันทึกสัญญาณเตือน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลบึงกาฬ

กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ป่วยรับใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงโรงพยาบาลบึงกาฬ จำนวน 60 คน ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่เข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 1-31 มีนาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 30 คน และ ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนที่เข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 30 คนและ 2) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงโรงพยาบาลบึงกาฬ จำนวน 12 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่แบบบันทึกสัญญาณเตือนผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Modified Early Warning Scores: MEWS) และแนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด 2) เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ข้อมูลส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพแบบเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของกลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และแบบสอบถามความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 6 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลจำนวน 4 ข้อได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความเที่ยงของแนวปฏิบัติการพยาบาล แบบสอบถามความเป็นไปได้ และแบบสอบถามความพึงพอใจ เท่ากับ 0.92, 0.90, 0.85 ตามลำดับ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มีนาคม–พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์คิดเป็น ร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi-square test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนมีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 10.00 โดยภาวะช็อกเนื่องจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดลดลงเป็นร้อยละ 6.70 จากเดิม ร้อยละ 16.90 ส่วนภาวะไตวายเฉียบพลันลดลงเป็นร้อยละ 3.30 จากเดิมร้อยละ 26.40 และไม่มีอัตราการเสียชีวิต 2) ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนมีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่มีความคิดเห็นความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับมาก และมีระดับความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง

References

1. ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก: Clinical Practice Guidelines Development. วารสารการพยาบาล 2548; 20: 63-76.
2. National Health and Medical Research Council: NHMRC. A guideline to the development, implementation and evaluation of clinical practice guideline. 1998. [cited 2018 April 9]. Available from URL: http://www.ausinfo.gov.au.
3. สมาพันธ์ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโลก. ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด; 2556: [เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2561]. จาก: http://www.world-sepsisday.org.
4. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561; 2561: [เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2561]. จาก: http://www.inspection.dms.moph.go.th.
5. กลุ่มภารกิจด้านข้อมูลข่าวสารงานเวชสถิติโรงพยาบาลบึงกาฬ. สถิติผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ปี 2561. บึงกาฬ: โรงพยาบาลบึงกาฬ; 2561.
6. สุดฤทัย พสกภักดี และคณะ. ลักษณะเสี่ยงของการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยเนื้อเยื่ออักเสบ; 2553: [เข้าถึงเมื่อ 9 เมษายน 2561]. จาก: http://www.Vichakarn.tsm.go.th/Index_htm_fles/R2R010.pdf.
7. พรพิศตรี บูพชาติสกุล, นาตยา คำสว่างและปัญญา เถื่อนด้วง. ผลการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหลังใช้แนวทางเวชปฏิบัติ. พุทธชินราชเวชสาร 2550; 24: 33-47.
8. สุภาภรณ์ บุณโยทยาน, ฉวีวรรณ ธงชัย และ มยุรี สำราญญาติ. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤตหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม. วารสารสภาการพยาบาล 2554; 26: 82-95.
9. ศิริรัตน์ วีรกิตติและคณะ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการสวนคาสายสวนปัสสาวะ. วารสารกองการพยาบาล 2553; 37: 51-65.
10. Titler, MG. and others. The lowa Model of Evidence-based Practice to Promote Quality Care. Critical Care Nursing Clinics of North America.2001; 13: 479-509.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-25